หนีตามกาลิเลโอ / ผู้มาก่อนกาล / ที่เมืองไทยไม่ต้องการ


หาก คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย ในสังคม คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ ไม่ไหว
ทางหนึ่งคือ หนีตามกาลิเลโอ ไปเป็น ยิปซี ร่อนเร่ เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ พิสูจน์ความเชื่อของตัว … แต่ทุกอย่างไหม ที่ทำแบบนั้นได้ มีอะไรบ้างไหม ที่จำเป็นต้องสู้ที่นี่ สู้จากข้างใน

ข่าวเมืองไทยต้อนรับแสดงความยินดีกับ เภสัชกร กฤษณา ไกรสินธุ์ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทนี้:

พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน
พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี
พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี
แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ

คุณจะทำดีทำเด่น ทำอะไรก้าวหน้าก็เถอะ ถ้ามันเข้ากับระบบเก่า ระบบที่มีอยู่เดิมไม่ได้ คุณก็จะไม่ได้รับการยอมรับ – โชคยังดี ที่ในโลกสมัยนี้ โอกาสในการออกนอกประเทศหนึ่งไปทำงานที่อื่น มันเปิดกว่าเดิม โดยเฉพาะถ้าเป็นงานที่ไม่ได้ติดกับพื้นที่ ทำให้คนที่ทำงานจริงจัง สามารถได้รับการยอมรับในที่อื่น แม้บ้านเกิดที่เขาอยากทำงานให้ จะไม่เหลียวแล (แต่ขอเฮด้วยตอนดังแล้ว)

ใน Another week of trying to comprehend fuzzy politics บทความโดย Tulsathit Taptim ในหนังสือพิมพ์ The Nation, September 2, 2009 (via @BangkokPundit) พูดไว้ได้น่าสนใจ ว่า ความผิด ของ จักรภพ เพ็ญแข และ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นั้นก็คือการที่พวกเขาใช้ชีวิตพ้นคนอื่น ๆ ไปล่วงหน้าไกลเกินไป guilty of living too far ahead in time

ผมนึกถึง จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนักปฏิวัติ ผู้ท้าทายความคิดจารีตทั้งในการศึกษาวรรณคดี ประวัติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา และทฤษฎีการเมือง แต่ด้วยความเป็น ผู้มาก่อนกาล ของเขา สุดท้ายถูกรัฐเผด็จการรุกไล่ ต้องเข้าป่า และถูกยิงเสียชีวิตในวัยเพียง 36 ปี

ทุกวันนี้ งานของจิตรถือได้ว่าเป็นงานชุดสำคัญชุดหนึ่งที่บุกเบิกแผ้วทางให้กับวงวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไทย

ผมนึกถึง กาลิเลโอ กาลิเลอี นักคิดคนสำคัญในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อว่าโลกนั้นไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ และดวงอาทิตย์ไม่ได้หมุนรอบโลก อย่างที่ศาสนจักรบอกให้เชื่อตามตัวอักษรของไบเบิ้ล สุดท้ายเขาถูกขับออกจากศาสนา และถูกกักบริเวณในบ้านจนกระทั่งเสียชีวิต

ทุกวันนี้ เราทุกคนทราบกันดีว่า ที่กาลิเลโอว่าไว้นั้น ไม่ผิด

ความผิดของคนเหล่านี้ ดูจะมีเพียงอย่างเดียวคือ พวกเขามากันเร็วเกินไป

พวกเขาอาจจะพูดสิ่งที่ถูก แต่เมื่อในเวลาที่เขาพูด คนในสังคมยังไม่อยากฟัง ถูกก็กลายเป็นผิดได้

หนีตามกาลิเลโอ อาจจะเป็นหนังที่ร่วมสมัยกว่าที่เราเห็นผาด ๆ

 

หนังสือไกด์บุ๊กเขาบอกไว้ เราไม่ควรทำให้ใครรู้ว่าเรากำลังหลงทาง …

ฉันเกิดอยู่แดนอีสาน ถิ่นกันดารที่เขาดูหมิ่นดูแคลน จากไกลไปหากินต่างแดน ก็อาลัยแสนเมื่อจำต้องพรากบ้านมา ร่อนเร่พเนจรไป เหมือนนกไพรไร้พงพนา …

เหี้ย ผมร้องไห้

We have come a very long way, but obviously the likes of Jakrapob and Da Torpedo remain unsatisfied. Yet if they are guilty of living too far ahead in time, what can be said about the 18-year sentence when murderers, rapists or big-time fraudsters are given less?

เรามากันไกลมากแล้ว แต่ก็เห็นกันอยู่ว่า คนอย่าง จักรภพ และ ดา ตอร์ปิโด นั้นยังไม่เป็นที่พอใจ. แต่ถ้าพวกเขามีความผิดเพราะใช้ชีวิตพ้นคนอื่น ๆ ไปล่วงหน้าเกินไป, แล้วจะพูดอะไรดีกับโทษ 18 ปี เมื่อฆาตกร นักโทษข่มขืน หรือพวกฉ้อโกงต้มตุ๋นรายใหญ่ กลับได้รับโทษน้อยกว่า?

technorati tags: 


6 responses to “หนีตามกาลิเลโอ / ผู้มาก่อนกาล / ที่เมืองไทยไม่ต้องการ”

  1. อกาลิโก หรือสัจธรรมที่เหนือกาลเวลาคงเป็นเรื่องที่ชวนสงสัย เราเริ่มเข้าใจกันมากขึ้นว่า ความจริง และความถูกต้อง เป็นเรื่องที่ถูกสร้างขึ้น โดยผู้มีอำนาจ(ในการกำหนดความหมาย)ที่ยังหวั่นๆใจอยู่ก็คือ เราจะยังมีสิ่งที่เป็นสัจธรรมที่ปลอดจากการถูกสร้างขึ้นหรือไม่

  2. ปลอมลายเซ็นอาจารย์ผืดเห็น ๆทีแรกนึกว่าหนังวัยรุ่นธรรมดา ไม่ธรรมดาซะแล้ว

  3. เคารพความเห็นแม้จะแตกต่างนะ (as usual) ผมกลับคิดว่า พวกเขาคิดแบบ without strategic thinking กับไม่เห็นด้วยที่ว่า ความผิด A, B แรงกว่า Lese Majeste' ทำไมได้รับโทษน้อยกว่า แสดงว่าความผิดที่ผิดมากๆ ก็ต้องลงโทษรุนแรงมากๆ — maximum ประหารชีวิต? สมมติความผิด A โทษจำคุกตลอดชีวิต ดังนั้นถ้า ทำความผิด A 2 ครั้งประหารชีวิต ทำความผิด A 3 ครั้งประหารชีวิต 2 ครั้ง?ผมกลับสนใจระบบยุติธรรมที่ มองว่าคนสามารถแก้ไขความผิดพลาดได้นะ (ส่วนเรื่องความรู้สึกว่าสังคมนี้มีอาชญากรรมร้ายแรงมากเกินไป ผมไม่แน่ใจว่ามันจะมาจากกฎหมายไม่รุนแรงพอ เท่ากับที่ว่าโครงสร้างสังคมยังด้อยพัฒนา)ทำไมเราไม่เริ่มจาก argument ที่ว่า เราควรปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย xxx เพราะกฎหมายนั้นขัดกับหลักการสากล (เช่นหลักสิทธิมนุษยชน) ที่ได้รับการยอมรับทั่วไป อะไรทำนองนั้นไปเลยปล. แต่ก็เข้าใจคนโพสต์อ่ะนะ 😛

  4. ผมเห็นต่างจากคุณ Vi veri. นิดนึงว่าargument นี้ ผมว่ามันเกิดจากว่า ใช้ชุดความคิดเดียวกับตัวระบบ ไม่ว่าจะเป็นด้วยกับมันหรือเปล่า แต่ในเมื่อตัวระบบตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า คดีที่รุนแรงย่อมมีโทษที่รุนแรง เราก็สามารถตั้งคำถามได้ว่า แล้วมันเป็นอย่างนี้น่ะเหรอส่วน argument ที่คุณว่า ผมว่ามันก้าวไปแล้วอีกขั้น คือ ระบบแบบนี้มันเฮงซวยตั้งแต่ต้น ทำไมไม่เปลี่ยนไปเลยล่ะ ซึ่งผมว่ามันอาจจะยังไกลไป (ส่วนหนึ่งคือ ผมเชื่อว่า ระบบยุติธรรม ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการป้องกัน -prevent- ด้วย incentive มากกว่า)

  5. อืม ผมว่าผมก็ประมาณ chayanin (ถ้าไม่ใช่ก็บอกนะ)คือ แน่นอน ผมและหลายคนก็ตั้งคำถามว่า กฎหมายนี้ในแบบที่มันเป็นอยู่นี้ มันโอเคตั้งแต่แรกรึเปล่าถ้าไม่ ก็เออ ยกเลิกดีไหมถ้ามันโอเค แต่ก็ยอมรับว่า มีปัญหาถูก abuse โอเค จะปรับยังไงแต่ถึงมันจะโอเคทุกอย่างเลย ไม่มีปัญหาอะไรเลยกระนั้นก็เหอะ ถ้าเทียบโทษมันกับการกระทำผิดอื่น ๆ ในระบบกฎหมายประเทศเดียวกันมันยังดูสมเหตุสมผลอยู่รึเปล่าซึ่งความเห็นผมก็คือ ไล่มาตั้งแต่ตัวกฎหมายยันโทษ ไม่มีอะไรสมเหตุสมผลซักอย่าง สำหรับผม

  6. กฏหมายล้าหลังแบบนี้มีจุดมุ่งหมายอยู่แค่อย่างเดียวเท่านั้นแหละครับ คือ กดคนลงให้เป็นไพร่ทาส ไม่ว่าจะมีการบังคับจริงจังในทางปฏิบัติหรือไม่อย่างไร แค่มีบัญญัติไว้เป็นกฏหมายของรัฐมันก็ขัดกับหลักเสรีภาพ เสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วยิ่งกรณีที่เกิดขึ้นกับ ดา, สุวิชา, จักรภพ, แฮรี่ และคนอื่นๆ ก็เป็นการตอกย้ำความโหดเหี้ยมอำมหิตของระบบซากเดนแห่งศักดินาได้อย่างไม่มีข้อสงสัยการกระทำที่(พวกเขา)คิดว่าจะขู่ให้คนหมอบคลานด้วยความกลัว มันกำลังให้ผลตรงกันข้าม ยิ่งกดดันเท่าไร เพลิงไฟแห่งการปฏิวัติประชาชนก็ยิ่งโหมแรงขึ้นเท่านั้น

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.