-
รวมกรณีหมายเลขโทรศัพท์หลุดรั่ว 2561-2564 (บางส่วน)
กรณีการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างปี 2561-2564 (บางส่วน) เน้นเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
-
[AI Incident Report] Wallet app failed to recognize faces, bars Thai citizens from claiming government cash handout
Lots of Thais cannot register for the government cash handout scheme, aimed to boost local economy, as the app managing government wallet failed to recognize their faces during the authentication process. People entitled to the handout have to wait for a very long queue at their local ATMs instead to get authenticated.
-
รวมเอกสารข้อเสนอการกำกับกิจการ AI ของไทย (ต.ค. 2565)
รวมเอกสารข้อเสนอแนวปฏิบัติและการกำกับกิจการที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ของไทย ทั้งที่ “ประกาศใช้แล้ว” และที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและรับฟังความคิดเห็น
-
กรณีข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลเพชรบูรณ์หลุดรั่ว
ข้อมูลคนไข้ที่หลุดรั่วออกมา มีชื่อ-สกุลของคนไข้ วันเดือนปีเกิด เพศ ชื่อหมอ ค่าใช้จ่าย สถานะการจ่าย ประเภทสิทธิการรักษา ชื่อวอร์ด — แม้จนถึงตอนนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะถูก “เลื่อน” หรือยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับอยู่เกือบทุกมาตราที่เกี่ยวกับการคุ้มครอง (เลื่อนมา 2 รอบละ) แต่มาตรา 4 วรรค 3 ยังไงก็ยังใช้บังคับอยู่นะ
-
คิดเงิน “ตามตัวอักษร” แฟร์ไหม?
เห็นวิธีคิดเงิน API ของกูเกิล ทำให้คิดถึงการออกแบบ Unicode และ “ความเท่าเทียม” ในระบบคอมพิวเตอร์
-
ค้าปลีกดิจิทัล – การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย
มองหาผู้มีส่วนได้ที่เกี่ยวของกับการค้าปลีกในยุคดิจิทัล เรื่องนี้ไปเกี่ยวกับเรื่องซอยเปลี่ยวได้ไหม
-
ข่าวปลอมคือข่าวที่ทำให้คล้ายข่าวจริง
แบงก์เกมเศรษฐีไม่ใช่แบงก์ปลอม ปลอมคือมันไม่เคยจริง *และ* มีความพยายามทำให้เข้าใจผิดว่ามันจริง ไปรู้จักกับ mis-information, dis-information, และ mal-information ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความปั่นป่วนของข่าวสาร (information disorder)
-
ว่าด้วยการ “อยู่เฉยๆ”
อำนาจมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อมีระเบียบ อำนาจจึงมักเรียกร้องระเบียบ (ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะใช้ประสิทธิภาพที่ได้มานั้นกับเรื่องอะไร) การจัดตั้งของคนอำนาจน้อยก็เป็นระเบียบแบบหนึ่ง และการจัดตั้งเพื่อนำไปสู่การทำให้เสียระเบียบในความสัมพันธ์กับอำนาจใหญ่ ก็เป็นแบบแผนแบบหนึ่งเพื่อต่อต้านอำนาจใหญ่ที่ตั้งอยู่ได้ด้วยระเบียบการทำให้เสียระเบียบ ด้วยการ “อยู่เฉยๆ” เป็นเครื่องมือพื้นฐานของคนที่มีอำนาจน้อย ในฐานะผู้บริโภค ก็หยุดบริโภค (สินค้าที่เราว่าไม่โอ)ในฐานะคนทำงาน ก็หยุดงานในฐานะพลเมือง ก็หยุดทำตามกฎหมาย (ข้อที่เราว่าไม่โอ – คำเรียกสวยๆ คือ civil disobedience)ในฐานะผู้เสียภาษี ก็หยุดเสียภาษีในฐานะเจ้าของข้อมูล ก็หยุดให้ข้อมูล(ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ “ใส่เกียร์ว่าง” lol) การหยุดต่างๆ มันไม่ใช่เพียงการหยุดกิจกรรมเท่านั้น ความสำคัญของการหยุดต่างๆ ข้างต้นนั้นไม่ใช่การหยุดกิจกรรม แต่คือการระงับความสัมพันธ์ชั่วคราว คือเราเป็นผู้บริโภคก็เพราะเราบริโภค เราเป็นพลเมือง ก็เพราะเรากับรัฐมีสัญญาประชาคมระหว่างกัน การหยุดนี้คือ หยุดความสัมพันธ์ และพอไม่มีความระหว่างกัน สถานะเราก็จะถูกรีเซต กลับมาตั้งคำถามว่า เออ ตกลงกูคือใคร และกูเป็นอะไรกับมึง เราเป็นอะไรกัน แล้วที่ทำๆ อยู่ทุกวันนี่ มันสร้างคุณค่าอะไร หรือมึงเห็นกูเป็นของตาย เอาจริงๆ ก็น่าหัวเราะอยู่ คือมีปัญญาทำเท่านี้แหละ ในฐานะปัจเจกหนึ่งหน่วย อาวุธห่าอะไรอื่นก็ไม่เหลือแล้ว (การใช้อำนาจผ่านผู้แทนในระบบ ถ้ามี ก็สิ้นหวังแล้ว) ซึ่งระบบจะไม่รู้สึกอะไรหรอก […]
-
สนับสนุนกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นธรรม สนับสนุนร่างแก้ไขฉบับ iLaw
ผมสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อเปิดทางให้กับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามที่ไอลอว์เสนอไว้ เพราะมันเน้น “กระบวนการ” และปล่อยให้เรื่อง “เนื้อหา” กลับไปอยู่ที่ประชาชนมากที่สุด 1) เป็นร่างฉบับที่คืนอำนาจให้ประชาชน สมาชิกสภาร่างทั้งหมดมาจากการสรรหาตัวแทนจากประชาชน ไม่มีโควตาแต่งตั้งจากสายอำนาจนำในปัจจุบัน 2) เปิดโอกาสให้สังคมคิดฝันจินตนาการถึงอนาคตที่เป็นไปได้ร่วมกันได้โดยไม่มีข้อจำกัดปลอมๆ ที่คนกลุ่มเล็ก (ที่ยึดอำนาจประชาชนมา-หรือที่เป็นอำนาจนำในขณะนี้) สร้างขึ้น ว่าหมวดนั้นหมวดนี้ห้ามแก้ไข 3) สร้างกติกาที่เป็นธรรมในระหว่างการทำประชามติ ปลดล็อกเงื่อนไขที่คณะรัฐประหารสร้างไว้ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องการสร้างกติกาที่สังคมจะทำงานร่วมกันได้ โดยไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบเสียเปรียบจากตัวกติกา ส่วนเนื้อหาจะเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่สังคมจะไปพูดคุยรณรงค์กันอย่างเสรีภายใต้การรับรองสนับสนุนของ (3) ผ่านตัวแทนใน (1) โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ ตามที่ (2) ได้เปิดโอกาสไว้ ดูคำอธิบายข้อเสนอ #5ยกเลิก5แก้ไข ของ iLaw