[review] Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache.


ช่วงนี้ไม่ค่อยได้อัปบล็อก เอาของเก่ามาหากินละกัน :p นี่เป็นการบ้านของวิชาหนึ่งในเทอมที่ผ่านมา คือ วิชามานุษยวิทยาภาษา (linguistic anthropology). งานในวิชานี้มีวิจารณ์หนังสือ 2 เล่ม กับรายงานจบเทอมชิ้นหนึ่ง. ด้านล่างนี้เป็นบทวิจารณ์หนังสือเล่มที่สอง คือหนังสือ Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso. ส่วนเล่มแรกที่วิจารณ์คือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์.

เทอมที่แล้ว เคยวิจารณ์หนังสือที่ Keith Basso เขียน ไปแล้วเล่มหนึ่ง คือ Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache. ทั้งสองเล่มเกี่ยวกับชาวเวสต์เทิร์นอาปาเช่ใน Cibecue เหมือนกัน.


บทวิจารณ์หนังสือ Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith H. Basso, ภาพประกอบโดย Vincent Craig, บทนำโดย Dell Hymes. เกี่ยวกับการเลียนล้อ (joking imitation) โดยชาวเวสต์เทิร์นอาปาเช่ และมุมมองทางมานุษยวิทยาภาษา.

“นั่งคนเดียวแล้วมองกระจก ที่สะท้อนแสงจันทร์วันเพ็ญ
โดดเดี่ยวกับความเหงา อยู่กับเงาที่พูดไม่เป็น
ฟังเพลงเดิมๆ ที่เรารู้จัก แต่ไม่รู้ความหมายของมัน”

“ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ” เพลงดังโดยวงอพาร์ตเมนต์คุณป้า ถูกนำมาร้องในลีลาใหม่เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ “สายลับจับบ้านเล็ก” (และดังกว่าต้นฉบับ).

ด้วยภาพคนขาวในเรื่องตลกของชาวเวสต์เทิร์นอาปาเช่ ที่ถูกนำมาเล่าในภาษาของคนขาว, หนังสือเล่มนี้ปล่อยให้ (อย่างไม่ตลกเท่าต้นฉบับ) ภาพของคนขาวในความคิดของชาวเวสต์เทิร์นอาปาเช่ พาเราไป “รู้จักเธอ เพื่อจะรู้จักฉัน” – ผ่านการมองเข้าไปใน การมองคนขาวของชาวอาปาเช่.

บาสโซกล่าวว่าการตีความการล้อเล่น/เลียนล้อ (joking imitation) ของเขาในหนังสือเล่มนี้นั้น ตั้งอยู่บนสมมติฐานสองอย่างคู่กัน นั่นคือ การล้อเล่นเป็นการเล่นละครรูปแบบหนึ่ง และ การเล่นละครนั้นมีลักษณะที่จะต้องเป็นสิ่งที่มันอยากเป็นโดยที่มันจะต้องไม่เป็น. การเล่นละครนั้นถูกกำหนดโดยตัวแบบของการ ‘ไม่เล่นละคร’ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่า สิ่งที่มันจะสื่อสารนั้น จะไม่สามารถสื่อสารได้เลย หากถูกสื่อสารออกมาในแบบที่ไม่มีลูกเล่น (น. 37). การล้อเล่นในฐานะรูปแบบหนึ่งของการเล่นละคร จึงเป็นการสื่อสารแบบหนึ่ง ที่เพื่อจะส่งสารที่ต้องการ มันจะ ‘ล้อ’ เพียงอย่างเดียวไม่ได้ หากต้อง ‘เล่น’ ด้วย. ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่สามารถที่จะอ่านหรือเข้าใจการล้อเล่นจากเพียงที่เห็นตรงหน้าได้.

เรื่องล้อเล่น (banagozdi’ / jokes) นี้ในวัฒนธรรมเวสต์เทิร์นอาปาเช่ถูกจัดเป็นอีกประเภทหนึ่งของเรื่องตลก (dabagodlohé yalti’ / humorous speech) เลย โดยต่างจากเรื่องขำขัน (dabagodlohé nagoldig’ / funny stories) และคำพูดล้อจิกกัดถากถาง (‘enit ‘ii / teasings, barbs). บาสโซเสนอว่าลักษณะของเรื่องล้อเล่นที่ต่างจากเรื่องตลกอื่นๆ ก็คือ มันมีลักษณะของการใช้อุปลักษณ์ (metaphor) อยู่ โดยจัดเรื่องล้อเล่นเป็น “เรื่องตลกเชิงอุปลักษณ์” (metaphorical humorous speech) (น. 100-101).

[Review] Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache. โดย Keith H. Basso ภาพประกอบโดย Vincent Craig. (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) – ดาวน์โหลด PDF

technorati tags: , , , , , ,


4 responses to “[review] Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache.”

  1. อะโห เดี๋ยวนี้ดังใหญ่แล้วนะ !! แอบไปลง a day ตั้งแต่เมื่อไรล่ะเนี่ย 😛

  2. มีข้อมูลวิจารณ์เรื่องthe whitemanแบบเต็มๆเลยไหมอ่าคะ

    • แบบเต็ม ๆ นี่คือไรอ่ะครับ หมายถึงบทวิจารณ์ที่ผมเขียนป่ะ ?

      ถ้าใช่ ก็อยู่ในลิงก์ที่เขียนว่า [PDF] ด้านท้ายน่ะครับ

Leave a Reply to anpanpon 😛Cancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.