Tag: sociolinguistics

  • “รวมมิตร” บาร์แคมป์เวียงจันทน์ #barcampvte

    “รวมมิตร” บาร์แคมป์เวียงจันทน์ #barcampvte

    เอียน ชายอเมริกัน บอกผมถึงข้อสังเกตหนึ่ง เกี่ยวกับคนในภูมิภาคนี้ เขาพบว่าคนลาว เขมร เวียดนาม พยายามจะสื่อสารกับพวกเขาด้วยภาษาอังกฤษ ในขณะที่คนไทยพูดน้อยกว่ามาก … เอียนบอกว่า บางทีนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่คนไทยรู้สึกประหม่า ไม่กล้าคุยกับฝรั่ง เพราะกลัวออกเสียงผิด … ผมรู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้เดินทางเยอะ ตาได้เห็นความไม่ปกติอันเป็นปกติ และหูได้ฟังภาษาและสำเนียงอันหลากหลาย … การได้เห็นอะไรที่ผิดความคาดหมายบ่อย ๆ มันก็สอนให้เราเผื่อใจ และไม่ตัดสินคนจากความแผก หรือไปมองว่ามันเป็นสาระสำคัญ จนมองข้ามเรื่องอื่น … ผมคิดว่าปัญหาอะไรหลาย ๆ อย่าง มันก็มาจากทัศนคติแค่นี้แหละ

  • “ลายเซ็น” ทวิตเตอร์คนดัง

    “ลายเซ็น” ทวิตเตอร์คนดัง

    ถ้าเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ @PM_Abhisit* มักลงท้ายด้วย (ทีมงาน) ถ้าเป็น กรณ์ จาติกวณิช @KornDemocrat จะลงท้ายเป็นระยะ ๆ ด้วย (กรุณา RT) หรือ (pls RT) ส่วน ทักษิณ ชินวัตร @ThaksinLive ไม่ได้มีอะไรเป็นแพตเทิร์นขนาดนั้น มักพิมพ์อะไรยาว ๆ ต่อเนื่อง 3-4 ทวีตติด ๆ ต้องดูแล้วไปต่อเอาเอง ไม่ได้บอกว่าจะต่อจะจบตอนไหน เทียบกับ (ทีมงาน) @PM_Abhisit จะมีบอกว่า (ต่อ) นะ ทาง หนูหริ่ง สมบัติ บุญงามอนงค์ @nuling นี่ก็ไปเรื่อย ส่วนใหญ่แซวสถานการณ์บ้านเมือง คุยกับคนนั้นคนนี้ อัปเดตกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง มีปล่อยมุขเป็นระยะ ๆ * ทวิตเตอร์ของอภิสิทธิ์ เพิ่งเปลี่ยนเป็น @Abhisit_DP จากของเดิม @PM_Abhisit หลังยุบสภา…

  • Fuck เย็ด

    ชื่อบทความวิชาการนิติศาสตร์: เย็ด บทคัดย่อ: บทความนี้เรียบง่ายและยั่วยุอารมณ์ดังที่ชื่อมันบอกเป็นนัย: มันสำรวจความหมายโดยนัยในทางกฎหมายของคำว่า เย็ด (fuck). จุดที่คำว่าเย็ดและกฎหมายนั้นบรรจบกันได้ถูกพิจารณาในสี่อาณาบริเวณหลัก: บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาฉบับที่หนึ่ง (ว่าด้วยสิทธิในความเชื่อและการแสดงออก), กฎข้อบังคับการกระจายเสียง, การละเมิดทางเพศ, และการศึกษา. ความเกี่ยวพันทางกฎหมายจากการใช้คำว่าเย็ดนั้นหลากหลายอย่างมากตามบริบท. แหล่งอำนาจของคำว่าเย็ดที่นอกเหนือจากทางกฎหมายได้ถูกพิจารณา เพื่อจะเข้าใจอำนาจทางกฎหมายของคำว่าเย็ดได้อย่างเต็มที่. บนฐานของการวิจัยโดยนักศัพทมูลวิทยา (etymologist) นักภาษาศาสตร์ นักพจนวิทยา (lexicographer) นักจิตวิเคราะห์ และนักสังคมศาสตร์อื่น ๆ ปฏิกริยาตอบสนองโดยสัญชาตญาณต่อคำว่าเย็ด สามารถอธิบายได้ด้วยสิ่งต้องห้ามทางวัฒนธรรม (cultural taboo). เย็ด เป็นคำต้องห้าม. ต้องห้ามเสียจนบังคับให้คนจำนวนมากต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง. กระบวนการทำให้เงียบนี้ ได้อนุญาตให้คนส่วนเล็ก ๆ ของประชากรทั้งหมด จัดการยักย้ายสิทธิของพวกเราโดยอ้างว่าสะท้อนเสียงส่วนใหญ่. จากนั้นสิ่งต้องห้ามจึงได้ถูกทำให้เป็นสถาบันผ่านกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันก็ตึงเครียดกับสิทธิทางกฎหมายอื่น ๆ. ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและสิ่งต้องห้ามนี้ ในที่สุดได้ทำให้เกิดหลักวิชา เย็ดนิติศาสตร์ (fuck jurisprudence) คำสำคัญ: Cohen, Pacifica, First Amendment, psycholinguistics อ่านฉบับเต็มที่: Fairman, Christopher M., Fuck…

  • นักข่าว 0.8: กรณีการจับผู้อำนวยการนสพ.ประชาไท และข่าวที่กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงาน #freejiew

    [เพิ่มเติม 2010.09.27 14:21: ผมเขียนบล็อกโพสต์นี้ เพราะตระหนักว่า เนื้อหาในการฟ้องนั้นก็เรื่องหนึ่ง ส่วนภาพที่ถูกสร้างให้ปรากฏต่อสาธารณะ-ทางสื่อ-นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง การนำเสนอภาพกระบวนการการจับกุมซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงอย่างมีนัยยะนี้ ส่งผลต่อภาพประทับในหัวของคน และให้โทษกับผู้ถูกกล่าวหา นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย] [เพิ่มเติม 2010.09.27 14:54: เพื่อความสะดวกในการ(ไม่)อ่าน ขอแจ้งว่าโพสต์นี้ไม่มีข้อมูลใหม่หรือการวิเคราะห์อะไรเกี่ยวกับคดีของจีรนุชเลย. เนื้อหาแบ่งเป็น 3 ตอน: 1) วารสารศาสตร์ (อันเป็นที่มาของชื่อ นักข่าว 0.8 ที่เทียบกับ เว็บ 2.0); 2) ข้อเสนอในเรื่องความรับผิดของตัวกลางและการดำเนินคดี; 3) ข้อสังเกตต่อสมาคมวิชาชีพสื่อ] เมื่อเย็นวันศุกร์ (24 กันยา) ผมมีเหตุให้ต้องไปขอนแก่นเป็นครั้งแรก กลับมาก็ได้อ่านข่าวเกี่ยวกะเหตุการณ์นั้นตามสื่อต่าง ๆ ก็ตรงบ้าง คลาดเคลื่อนบ้าง นิด ๆ หน่อย ๆ เป็นอันเข้าใจได้ เพราะจำนวนหนึ่งรายงานในระหว่างที่เรื่องยังไม่ชัดเจนหรือยังไม่จบดี แต่วันนี้ได้อ่านข่าวฉบับของกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พบว่ามันคลาดเคลื่อนจนน่าตลก ขำเสียจนไม่รู้จะพอเพียงอย่างไรไหว เนื้อความหรือก็ราวกับนิยายเพื่อความปรองดอง คือไม่รู้จะพูดอย่างไรดี นอกจากนึกภาพ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองกอดคอกะนักข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ แล้วร้องว่า ร่วมกัน เราทำได้!…

  • (เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.

    เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…

  • [สรุป] High and Low Thai: Views from Within (A.V.N. Diller 1985)

    Diller เสนอว่า ความแตกต่างของระดับภาษามีเรื่องความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอยู่ด้วย ซึ่งสะท้อนออกมาในความขัดแย้งทางระบบการศึกษา การศึกษาและสอนภาษาตามแนว prescriptive (มีภาษาแบบแผนในอุดมคติที่ถูกต้อง) และ descriptive (ภาษาอย่างที่มันเป็น)

  • [review] Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache.

    ช่วงนี้ไม่ค่อยได้อัปบล็อก เอาของเก่ามาหากินละกัน :p นี่เป็นการบ้านของวิชาหนึ่งในเทอมที่ผ่านมา คือ วิชามานุษยวิทยาภาษา (linguistic anthropology). งานในวิชานี้มีวิจารณ์หนังสือ 2 เล่ม กับรายงานจบเทอมชิ้นหนึ่ง. ด้านล่างนี้เป็นบทวิจารณ์หนังสือเล่มที่สอง คือหนังสือ Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso. ส่วนเล่มแรกที่วิจารณ์คือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์. เทอมที่แล้ว เคยวิจารณ์หนังสือที่ Keith Basso เขียน ไปแล้วเล่มหนึ่ง คือ Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the…

  • [review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)

    การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…

  • discourse/information/communication people

    จดกันลืม บุคคลน่าสนใจ สาวิตรี คทวณิช คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ discourse analysis; critical discourse analysis; language and politics นคร เสรีรักษ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) Freedom of Information and Privacy Protection in Thailand วราภรณ์ วนาพิทักษ์ มาตรการการจัดการการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ cultural studies technorati tags: people, freedom of information, discourse analysis

  • Noam Chomsky: Collateral Language

    เราเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ว่า เราสามารถควบคุมความคิดของสาธารณชนได้ เราสามารถควบคุมทัศนคติและความคิดเห็น ตรงนี้แหละที่ลิปป์มันน์บอกว่า “เราสามารถปั้นแต่งมติมหาชนได้ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ” ส่วนเบอร์เนย์ส์บอกว่า “สมาชิกในสังคมที่มีสติปัญญามากกว่าสามารถต้อนประชาชนไปในทิศทางไหนก็ได้ตามต้องการ” ด้วยสิ่งที่เขาเรียกว่า “วิศวกรรมมติมหาชน” เขาบอกว่า นี่แหละคือ “หัวใจของประชาธิปไตย” บทสัมภาษณ์นอม ชอมสกี : ภาษาชวนเชื่อ “เกี่ยวกับสื่อ การโฆษณาชวนเชื่อ และการจูงใจให้ทำสงคราม เทคนิคที่สหรัฐอเมริกันเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญสูง” เหมือนกับเหตุการณ์ช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมารึเปล่า ? … จริง ๆ แล้วก็ตลอดช่วงอายุการเมืองไทย , และที่อื่น ๆ ล่ะ “หาเสียง” นอม ชอมสกี นี่เป็นคนที่น่าทึ่ง ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรก็ทำได้ดีไปหมด และไม่ใช่ดีธรรมดา แต่ดีถึงขั้นมีอิทธิพลต่อสาขานั้น ๆ เลยทีเดียว เรียกว่าเป็น จอห์น ฟอน นอยมันน์ ของวงการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รึเปล่า ? แนว ๆ นั้น