Tag: review

  • [1-pager] What’s so new about new social movements? โดย David Plotke (1990)

    [อัปเดต 2009.12.03: เพิ่มลิงก์ บ่อนอก-หินกรูด] จากสรุปอ่านเอกสารเทอมที่แล้ว คาบที่เกี่ยวกับ ขบวนการทางสังคมใหม่ (new social movements) Plotke, David. 1990. What’s so new about new social movements? Socialist Review. 20:91-102. บทความนี้ลองสำรวจข้ออ้าง ความใหม่ ต่าง ๆ ของ ขบวนการทางสังคมใหม่ ว่ามันมีอะไรใหม่จริงหรือ, และถ้าใหม่จริง แล้วมันยังใหม่อยู่ไหมสำหรับตอนนี้ และในบริบทไหน ที่มันจะไม่ใหม่อีกต่อไป. สิ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจสำหรับบทความชิ้นนี้ คือการพูดถึง กระบวนการแปะป้ายหรือตราหน้า (stigmatize) แนวคิดที่ผู้แปะป้ายไม่เห็นด้วย และ การสร้างคู่ตรงข้ามแบบสุดขั้ว (polarization และ radicalization) เพื่อบังคับให้สังคม[ต้อง]เลือก[อย่างเต็มใจ]ในทางที่ผู้กำหนดขั้วได้ออกแบบเอาไว้. —- บทความชิ้นนี้ David Plotke ผู้เขียน สำรวจข้อถกเถียงหลักในวาทกรรมขบวนการทางสังคมใหม่ ในบริบทสังคมการเมืองสหรัฐอเมริกาช่วง 1960s-1980s และเสนอว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับขบวนการทางสังคมใหม่นั้นให้ราคา…

  • [review] Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache.

    ช่วงนี้ไม่ค่อยได้อัปบล็อก เอาของเก่ามาหากินละกัน :p นี่เป็นการบ้านของวิชาหนึ่งในเทอมที่ผ่านมา คือ วิชามานุษยวิทยาภาษา (linguistic anthropology). งานในวิชานี้มีวิจารณ์หนังสือ 2 เล่ม กับรายงานจบเทอมชิ้นหนึ่ง. ด้านล่างนี้เป็นบทวิจารณ์หนังสือเล่มที่สอง คือหนังสือ Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso. ส่วนเล่มแรกที่วิจารณ์คือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์. เทอมที่แล้ว เคยวิจารณ์หนังสือที่ Keith Basso เขียน ไปแล้วเล่มหนึ่ง คือ Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the…

  • [review] Doing Ethnographies. (assignment)

    ส่งการบ้านวิจารณ์หนังสืออีกแล้ว Doing Ethnographies. โดย Mike Crang และ Ian Cook (Sage Publications, 2007) ด้วยรูปร่างหน้าตาเผิน ๆ เหมือนหนังสือ “ฮาวทู” แต่เมื่ออ่านช่วงต้นก็รู้สึกแว่บว่า “ต่อต้านฮาวทู” จนอ่านต่อก็รู้สึกว่า “อาจจะฮาวทู”, Doing Ethnographies เป็นหนังสือที่ควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ในวาระ วิธี ลำดับ และทิศทางต่าง ๆ กัน. ด้วยการสะกิดผู้อ่านให้นึกถึงทางเลือกยุ่บยั่บย้อนแย้งอยู่ทุกระยะ แครงก์และคุกสองผู้เขียนไม่เพียงแต่เล่าเรื่องราวยุ่งเหยิงในการ(จะไป)ทำชาติพันธุ์วรรณนาที่ไม่ค่อยจะมีใครเล่านัก แต่ยังทำให้เรารู้สึกสับสน อย่างที่เราควรจะรู้ว่ามันจะสับสนอย่างไรในสนาม. ผู้เขียนเสนอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นก็คือตัว ความสัมพันธ์ของมนุษย์ นั้นเอง. ไม่เพียงผู้ไขประตูสู่สนามเท่านั้นที่เป็นมนุษย์ แต่รวมถึงผู้ที่ถูกศึกษาและผู้ศึกษาด้วย, เหล่านี้นำไปสู่ประเด็นจริยธรรมและความเป็นภววิสัยของการศึกษา และสิ่งที่ผู้เขียนย้ำคือ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูลดิบ” ทุกอย่างล้วนถูกประกอบสร้าง-โดยตัวผู้สังเกตก็มีส่วนกำหนด ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีอิทธิพลในการประกอบสร้างข้อมูลดังกล่าวเสมอ และความคิดต่าง ๆ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความคิดก่อนหน้าอื่น ๆ. จงเป็นมนุษย์ที่ปรับตัวและรู้ตัวในทุกขณะ อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวของหนังสือ “อาจจะฮาวทู” เล่มนี้. บทวิจารณ์ (PDF, 5+1…

  • Re/ad

    ศูนย์วิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ วารสาร “อ่าน” ขอเชิญร่วมเสวนาว่าด้วย ภารกิจของการวิจารณ์วรรณกรรมและภาพยนตร์ พบกับ “เขาวงกตของการอ่าน และกิจที่ไม่เสร็จของการวิจารณ์” โดย อิสระ ชูศรี “ทางตันของงานวิจารณ์ภาพยนตร์: ขาเชียร์พีอาร์ + คุรุแก่กล้า VS คนเศร้าเพราะรัก (หนังเล็ก)” โดย อาดาดล อิงคะวณิช ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดย ไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการวารสาร “อ่าน” ดำเนินการเสวนาโดย วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์ วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2551 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องกระจก คอมม่อนรูมริมน้ำ ชั้น 1 ตึกคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ [ ผ่าน ฟ้าเดียวกัน ] anyone feel…

  • [review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)

    การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…