Democracy is in the Eye of the Beholder (?)


เริ่มจาก อ่าน
ขอสนับสนุนฟ้าเดียวกัน และบทบาทของศิลปะในสังคมประชาธิปไตย โดย เคโกะ เซ
anpanpon ก็บล็อกเรื่องนี้

Process Art: ความหมายโดย Tate Online | ความหมายโดย Guggenheim Museum (NY) — ที่หลังนี่ เริ่มต้นให้ความหมายว่า:

“ศิลปะกระบวนการ เน้น “กระบวนการ” การสร้างงานศิลปะ (แทนที่จะเป็นการจัดวางหรือผังที่วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว) และความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงและสภาพที่ไม่ถาวร”

แล้วก็พูดถึงศิลปินคนสำคัญในแนวนี้ ยกตัวอย่างวิธีการสร้างสรรค์ของแต่ละคน … แต่เหมือนมันจะเกี่ยวกับ(คุณสมบัติของ)วัสดุซะมากกว่า … อืม ถ้าจะโยงไปหาบทความข้างบนสุดนั่น ซึ่งอ้างถึง Process Art ตอนที่ว่า:

ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐสภาเยอรมันทำให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับงานศิลปะอย่างดุเดือด เมื่อปีค.ศ. 1994 ตอนที่สภากรุงบอนน์มีการอภิปรายว่า จะอนุญาตให้ศิลปินคริสโตห่อหุ้มรัฐสภาเป็นงานศิลปะได้หรือไม่ งานนี้เป็นโครงการที่ศิลปินเลื่องชื่อท่านนี้ได้วางแผนไว้ตั้งแต่ปี 1975 ผลงานของคริสโตเรียกกันว่าเป็นโพรเซส อาร์ต (Process Art – ศิลปะกระบวนการ) ซึ่งหมายถึงประสบการณ์ในศิลปะของคนดูไม่ใช่เพียงแค่ชื่นชมผลลัพธ์ แต่รวมถึงมีส่วนสำรวจกระบวนการสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นความรู้สึกนึกคิดในใจของตน ดังนั้นขอหยิบยกคำปราศรัยในการประชุมสภาของ ส.ส. คอนราด ไวส์ จากพรรคกรีน ซึ่งท่านยอมรับว่าการอภิปรายในสภาก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการสรุปข้อเท็จจริงที่สำคัญและเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับบทบาทของศิลปะในสังคม

ถ้าจะโยงกันเนี่ย หมายถึงเราจะมอง พลเมือง สังคม อะไรพวกนี้เป็นวัสดุได้ด้วย ?

มัน ก็ น่าจะได้นะ … in the making … ถ้าเราคิดว่าสังคมที่เราอยู่กันทุกวันนี้ มันไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ที่เสร็จสิ้นแล้ว แต่มันกำลังถูกสร้างและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เอ .. คิดแบบนี้มันเข้าแก๊บ โพสต์โมเดิร์น รึเปล่า ? 😛

พูดแล้วก็นึกถึง (ซึ่งก็ไม่รู้ทำไม ไม่เห็นมันเกี่ยวกันเลย) ความคิดเรื่อง “sympathy” หรือ “ความเข้าอกเข้าใจ”1 คือ การพยายามทำความเข้าใจคนอื่น ว่าทำไมเขาถึงคิดแบบนั้น ทำแบบนี้ รวมทั้งความพยายามมองตัวเอง ผ่านมุมมองของคนอื่น ว่าเขาจะคิดว่าเราเป็นคนแบบไหน จากข้อมูลที่เขามีไม่ครบถ้วน (ซึ่ง Roger E. Backhouse บอกไว้ใน The Penguin History of Economics ว่า ความคิดเรื่องความเข้าอกเข้าใจนี้เป็นพื้นฐานของ The Theory of Moral Sentiments งานชิ้นสำคัญของ อดัม สมิธ (อดัม สมิธ เป็นที่รู้จักในยุคสมัยของเขาก็ด้วยงานชิ้นนี้ ไม่ใช่จาก The Wealth of Nations ซึ่งเป็นงานที่ดังขึ้นในยุคหลัง2))

สังคมที่ถึงแม้จะไม่สงบ/วุ่นวาย แต่ก็สามารถอยู่กันได้อย่างมีสันติ/สุข น่าจะต้องมีไอ้เจ้า ความเข้าอกเข้าใจ ที่ว่านี่เยอะ ๆ ก่อนรึเปล่า ซึ่งน่าจะนำไปสู่ ภูมิต้านทาน ความยืดหยุ่น “ฉันรับได้” (social tolerance?) … ศิลปะแบบที่ว่ามาข้างบน (หรือที่ว่าไว้ข้างล่าง) จะช่วยให้ ความเห็นอกเห็นใจ มันเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น มากขึ้น เยอะขึ้นมั๊ย?

อย่าง “เลือกxxx ไม่ได้แปลว่า โง่” อะไรอย่างนี้เป็นต้น จะใช้ศิลปะช่วยยังไงดี? 😛


Notes:

  1. (ปรับปรุง 15 เม.ย. 10:43 น.) เปลี่ยนจากคำว่า “ความเห็นอกเห็นใจ” ซึ่งเสนอโดย jittat (ความเห็นด้านล่าง):
    “ ความหมายมันเหมือนจะมีความรู้สึกของความเหนือกว่าอยู่หรือเปล่า? [..] คือลองนึกถึงคำอื่น ๆ ดู เช่น “ความเข้าอกเข้าใจ” … ” อืม เห็นด้วยครับ น่าจะใช้คำว่า เข้าใจ มากกว่า เห็นใจ จริง ๆ (ตามความรู้สึก แต่ไม่ตรงกับพจนานุกรมแฮะ 😛 .. ไม่เป็นไร)
  2. ดูเพิ่มที่ Adam Smith บิดาแห่งทุนนิยมเสรี ที่อยู่ชายขอบกว่าคุณคิด โดย คนชายขอบ

3 responses to “Democracy is in the Eye of the Beholder (?)”

  1. เห็นด้วยครับ ขอแก้ซะเลย ขอบคุณมากครับจารย์ 🙂

  2. งั้นลองพิจารณาว่า "ตั๋ง ไชยันต์" ฉีกบัตรเลือกตั้งในวันเลือกตั้งที่ผ่านมา… ถือเป็น "งานศิลปะ" หรือไม่? (ถ้าใช่อาจจัดว่าเป็น "แฮปเพนนิ่ง อาร์ต")และมีแนวโน้มว่า การเลือกตั้งรอบใหม่ที่ปักษ์ใต้กำลังจะมีคนฉีกบัตรเช่นเดียวกับเขาอีก บางเขตประเมินว่าอาจเป็นพันคนเราจะเรียก "กระบวนการต่อเนื่อง" นี่ว่ากระไรดี (ถ้าเกิดขึ้นจริง)…จำเหตุจลาจลแอลเอเมื่อสิบกว่าปีก่อนได้ไหม (สมัยเรแกน?) เกิดจากมีใครคนหนึ่งแอบบันทึกวิดีโอขณะี่ตำรวจกำลังรุมทำร้ายชายผิวดำ "นายร็อดนี่ย์ คิง"เมื่อภาพวิดีโอนั้น เป็นตัวจุดชนวนให้เกิดความรุนแรงครั้งประวัติศาสตร์ อย่างที่เจ้าตัวคงไม่เคยนึกฝันมาก่อนกาลต่อมา ภาพวิดีโอชุดนี้ได้รับเกียรติให้ฉายในงานศิลปกรรมวิดีโออาร์ตครั้งหนึ่ง… แสดงว่ามันต้องเป็นศิลปะซิ ก็เพราะมันถูกฉายในงานศิลปะไงย้อนกลับมาเทียบเคียงกับ "ฉีกบัตร" จะไปด้วยกันได้ไหม?รัฐบาลน่าจัดส่งไปร่วมด็อคคิวเม็นต้าเสียเลย… ไม่รู้ว่าสำนักศิลปกรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จะว่าอย่างไร หรือต้องรอนโยบายทักษิณก่อน 🙂

  3. เคยเขียนไว้ในเรื่องสั้นของตัวเองสักเรื่องว่า เราไม่ควร สงสาร ใคร เพราะความสงสารให้ความรู้สึกว่าเราอยู่เหนือกว่า เราตควรจะ ให้เกียรติผู้คนมากกว่า อาจจะคล้ายที่อ.ว่าก็ได้ ผมเชื่อว่าสรรพสิ่งล้วยเป็นศิลปะได้ถ้าจะเอามุมมองของศิลปะเข้าไปจับเพราะศิลปินอาจดึงเอา -วัตถุดิบ-นั้น ไปศร้างงานศิลปะได้ทั้งสิ้น ขึ้นกับการตีความตามแต่ละบุคคลเพราะจุดมุ่งหมายหลักภายในวัตถุดิบ อาจมองในแง่มุมมอื่นๆได้ด้วย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.