Tag: arts

  • คำ “ออกตัว” — มาราธอน เล่มแรก

    คำ “ออกตัว” — มาราธอน เล่มแรก

    ด้านล่างนี้น่าจะเป็น “คำนำ” หนังสือเล่มครั้งแรกของผม วันนี้เพิ่งจะได้จับ ผมเลือกใช้คำว่า “มาราธอน” กับกิจกรรมของเครือข่ายพลเมืองเน็ตนี้ เพราะเห็นด้วยว่าการศึกษาและรณรงค์ประเด็นใดก็ตาม ไม่สามารถสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน มาราธอนคือการวิ่งระยะไกล ข้ามเขตแดนและส่งข่าวสาร หนังสือเล่มวางตำแหน่งตัวเองเป็นจุดสตาร์ท ดังคำออกตัว

  • [17 ธ.ค.] งานแสดงศิลปะกลางแจ้ง “แท่งอัปลักษณ์” @ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

    [17 ธ.ค.] งานแสดงศิลปะกลางแจ้ง “แท่งอัปลักษณ์” @ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

    ถ้าศิลปะคือความงดงาม ถ้าศิลปะคือความซาบซึ้ง นี่ไม่ใช่ศิลปะ ถ้าศิลปะเปลือยให้เห็นความอัปลักษณ์ นี่(อาจจะ)เป็นศิลปะ ขอเชิญร่วมงานแสดงศิลปะกลางแจ้ง “แท่งอัปลักษณ์” เพื่อบอกให้โลกรู้ว่า ที่ใดไม่รัก ที่นั่นติดคุก เสาร์ 17 ธ.ค. 2554 @ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ร่วมสร้างงาน เที่ยงตรง เปิดงาน 5 โมงเย็น

  • Francis Ford Coppola: "Who Says Artists Have to Make Money?"

    ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา ผู้กำกับ Godfather ให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ 99%, ถาม ใครบอกว่าศิลปินต้องทำงานเพื่อเงิน? (สัมภาษณ์โดย @Aristonian) คุณต้องจำไว้ว่ามันแค่ไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง, ถ้ามันมากขนาดนั้น, ที่ศิลปินทำงานด้วยเงิน. ศิลปินไม่เคยได้เงิน. ศิลปินมีผู้อุปถัมภ์, ไม่เจ้าเมือง ก็ดยุคแห่งไวมาร์ หรือที่ไหนสักแห่ง, หรือศาสนจักร, หรือโป๊ป. หรือไม่เขาก็มีงานอีกงานหนึ่ง. ผมมีงานอีกงาน. ผมทำหนัง. ไม่มีใครบอกผมให้ทำอะไร. แต่ผมทำเงินจากอุตสาหกรรมไวน์. คุณทำงานอีกงาน แล้วตื่นตีห้าเพื่อเขียนบทของคุณ. ความคิดที่ว่าเมทัลลิกาหรือนักร้องวงร็อคแอนด์โรลอะไรก็ตามจะรวย, มันไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว. เพราะ, ในขณะที่เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่, ศิลปะอาจจะเป็นของฟรี. นักเรียนพวกนั้นอาจจะถูกต้องก็ได้. พวกเขาควรจะโหลดเพลงและหนังได้. ผมจะถูกยิงที่พูดแบบนี้. แต่ใครบอกว่าเราต้องจ่ายเงินเพื่อศิลปะ? และดังนั้น, ใครบอกว่าศิลปินต้องหาเงิน? ในสมัยก่อน, 200 ปีที่แล้ว, ถ้าคุณเป็นนักแต่งเพลง, ทางเดียวที่คุณจะทำเงินได้คือเดินทางกับคณะออเคสตรา และเป็นผู้ควบคุมวง, เพราะนั่นจะทำให้คุณได้รับเงินในฐานะนักดนตรี. มันไม่มีการบันทึกเสียง. มันไม่มีค่าลิขสิทธิ์. ดังนั้นผมจะพูดว่า พยายามแยกความคิดเรื่องภาพยนตร์ออกจากความคิดเรื่องการหาเงินและหาเลี้ยงชีพ. เพราะมันมีทางอื่นอยู่. จาก 99% Francis Ford…

  • เข้านอก ออกใน วัฒนธรรมศึกษา หลังนวยุค งานหนังสือ

    วันนี้ไปงานหนังสือ ตอนไปตั้งใจว่าจะซื้อแค่เล่มเดียว คือ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 (ประชา สุวีรานนท์; สำนักพิมพ์อ่าน; 2552) (อ่านบทวิจารณ์เล่มแรก โดย สุภาพ พิมพ์ชน, @Duangruethai, @birdwithnolegs, ฯลฯ) สุดท้ายตัดสินใจ ยังไม่ซื้อ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 ด้วยเหตุอยากจำกัดงบไม่ให้บาน และคิดว่าไว้ซื้อวันหลังได้ วันนี้เลยขอเฉพาะหนังสือที่คิดว่า คงหาซื้อตามร้านที่ปกติจะไป-ไม่ได้ พวกหนังสือเก่า หนังสือจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ (ซึ่งผมคิดว่า นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่ง[หรือหนึ่งอย่าง?]ของงานหนังสือ ผมได้รู้จัก สถาบันสถาปนา ก็จากงานหนังสือสมัยคุรุสภานี่แหละ เขาเอามาเลหลังลดราคา) ได้สามเล่มนี้มา: ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ บรรณาธิการ; ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร; 2552) เล่มที่ 3 ในชุด ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มนี้มีบทความของ ธีระ นุชเปี่ยม, ชาตรี ประกิตนนทการ, วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล, นิติ ภวัครพันธุ์…

  • "Nothing To Say" "ไม่มีอะไรจะพูด" silent films screening – 31 Oct at Pridi Institute

    ไม่มีอะไรจะพูด โครงการพิเศษเกิดขึ้นโดยกลุ่มศิลปินแขนงต่าง ๆ มากกว่าห้าสิบคน อาทิ ผู้กำกับหนัง (ทั้งในระบบและอิสระ), นักวาดภาพประกอบ, ศิลปินภาพถ่าย, นักเรียนหนัง, ครูหนัง, นักวิชาการ, นักเขียน, นักวิจารณ์หนัง, บล็อกเกอร์, นักแสดง, นักดนตรี, ผู้กำกับละครเวที, ศิลปินทัศนศิลป์และสื่อผสม จัดฉายวิดีโอเงียบบนกำแพงตึก เกี่ยวข้องกับสังคม และการเมือง เพื่อสะท้อนภาพความคิดของศิลปินในฐานะประชาชนชาวไทย ที่มีต่อสภาพบ้านเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยได้รับความร่วมมือจาก สถาบันปรีดี พนมยงค์ และมูลนิธิหนังไทย โดยในครั้งที่ 1 นี้ จะแสดงบนกำแพงภายในตึกสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์: ศิลปกับสังคม ครบรอบ 35 ปี 14 ตุลาคม 2516 (เทศกาลนี้มีวันที่ 18 ต.ค. – 2 พ.ย. 2551) โดยโครงการ ไม่มีอะไรจะพูดนี้ จะจัดแสดงครั้งแรก ในวันที่ 31 ต.ค.…

  • ReadCamp started (some how), call for SELF-organization 😉

    คอนเซปต์ของ ReadCamp หรือ “กางมุ้งอ่าน” ก็ยังตามที่ทวีตคุย ๆ กัน และที่โพสต์ถามลงใน Culture Lab คือจะเป็นงานลักษณะ unconference ทำนอง BarCamp ที่ชวนผู้ร่วมงานมาเสนอเรื่องการ “อ่าน” แล้วก็แลกเปลี่ยนกัน อ่าน หนังสือ. อ่าน หนัง. อ่าน เพลง. อ่าน โปสเตอร์. อ่าน โฆษณา. อ่าน เสื้อยืด. อ่าน พฤติกรรม. อ่าน trend. อ่าน วัฒนธรรม. อ่าน ปุ่มบนไมโครเวฟ user interface. อ่าน ตึก สถาปัตยกรรม. อ่าน การ์ตูน. อ่าน ภาพวาด งานศิลปะ. … … นั่นคือ เป็น “อ่าน” ในความหมายที่กว้างที่สุดนั่นเอง. ทั้งการอ่านตามตัวบท ตีความ…

  • Bangkok Freeze – 20 April

    Street people will gathering together in downtown Bangkok to froze themselves for 5 mins. You are invited as well! 20 April, 15:00. BTS National Stadium (MBK/Siam Discovery exit). — more details. ชวนไปเล่น freeze อยู่นิ่ง ๆ กัน. ตัวแข็ง 5 นาที กึ๊ก. วันอาทิตย์ที่ 20 เมษานี้ บ่ายสาม BTS สนามกีฬา ทางเชื่อมมาบุญครอง/สยามดิสฯ ไปกันได้ทุกคน — รายละเอียด. it will looks something like…

  • Horror in Pink

    ภาพชุด “Horror in Pink” (ปีศาจสีชมพู) ในซีรี่ส์ “Pink Man” โดย มานิต ศรีวานิชภูมิ (ขวัญใจ anpanpon) 1 ใน 100 ช่างภาพร่วมสมัยที่ “น่าตื่นเต้น” ที่สุดในโลก จากการคัดเลือกของ 10 ภัณฑารักษ์ชั้นนำ (หนังสือ Blink. โดยสำนักพิมพ์ Phaidon) เข้ากับกระแสเสื้อชมพูตอนนี้ดี Q: What did they die for? A: So we can go shopping. เมื่อปี 48 มานิตเคยจัดนิทรรศการ “นีโอ-ชาตินิยม” วสันต์ สิทธิเขตต์ หนึ่งในศิลปินผู้ร่วมแสดง (ต่อมาได้รับรางวัลศิลปาธร ประจำปี พ.ศ. 2550) ได้กล่าวไว้ว่า: “เพราะฉะนั้นการที่เรามาตั้งสติคิดว่า ฉันไม่ขอเป็นชาตินิยมกับคุณ ถ้าชาตินิยมนั้นหมายถึงการที่จะต้องคับแคบ อคติ…

  • See All Scene 2007

    See All Scene 2007 creative exhibits from KMITL Communication Arts students September 14-16, 2007 @ Esplanade, Ratchada (MRT station Thailand Cultural Center) 100%cotton wrote: 14 ถึง 16 กย. มีงาน see all scene ของนิเทศศิลป์ลาดกระบังน่อ.. เป็นงานรวมผลงานของเด็กนิเทศศิลป์ลาดกระบังมาจัดแสดง..ดนตรี หนังสั้น แฟชั่น… (ก็เอาเป็นว่าเป็นผลงานของพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ เฮาเอง-*- …) จัดที่เอสพานาด รัชดาน่อ… ว่างๆ ก็มาน๊า…!!!! รายละเอียดบางส่วนไปอ่านได้ที่บลอคของ เพื่อนเฮาได้… http://browny.exteen.com/ [ via 100%cotton ] technorati tags: exhibtions,…

  • DOCUMENTA MAGAZINE

    DOCUMENTA MAGAZINE โครงการหนึ่งในงาน Documenta 12 ที่รวบรวมคนทำนิตยสารทางเลือกในประเทศต่าง ๆ มาทำงานด้วยกัน สำหรับประเทศไทย นิตยสาร/เว็บที่เข้าร่วมได้แก่ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, โอเพ่น, ประชาไท, ฟ้าเดียวกัน, Budpage, และ Questionmark ดูโครงการที่ทำร่วมกัน และรายชื่อนิตยสารที่เข้าร่วมทั้งหมด ได้ที่: http://magazines.documenta.de เกี่ยวข้อง(บ้าง): random zines technorati tags: Documenta, magazine