Tag: education

  • เอดูเขต

    pay it forward

  • อนุญาตให้เรียนไม่สดเพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึง + การสร้างพื้นที่ปลอดภัยระหว่างบันทึกการสอน

    อนุญาตให้เรียนไม่สดเพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึง + การสร้างพื้นที่ปลอดภัยระหว่างบันทึกการสอน

    การสอนออนไลน์ ควรมีการบันทึกการสอนไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนที่มีทรัพยากรเพื่อการเข้าถึงจำกัด และในการบันทึกก็มีข้อควรพิจารณาต่างๆ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้สำหรับทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียน #accessibility #safety #privacy #freespeech

  • เสรีภาพการแสดงออกในมหาวิทยาลัยสหราชอาณาจักร

    เสรีภาพการแสดงออกในมหาวิทยาลัยสหราชอาณาจักร

    ดัชนีเสรีภาพมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรตก ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยในลอนดอน คุยเรื่องกฎหมายห้ามความเกลียดชังทางศาสนา Racial and Religious Hatred Act 2006 กับเสรีภาพการแสดงออกในมหาวิทยาลัย

  • เข้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่ได้? ลิงก์เสีย? ลองนี่

    วิธีเข้าถึงคลังเก็บบทความเก่าๆ ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

  • โชติช่วงชีวิตแห่งการแชร์: ชัชวาล บุญปัน

    โชติช่วงชีวิตแห่งการแชร์: ชัชวาล บุญปัน

    ผมไม่รู้ว่าอะไรทำให้ชัชวาลมีความสนใจในประเด็นทางสังคม รู้แต่เพียงว่า นี่คือตัวอย่างของอาจารย์ที่การศึกษาไทยจำเป็นต้องมีมากขึ้น เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่า “วิทยาศาสตร์เกี่ยวอะไร?” — สมการของเดรกที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขภายหลัง มีพารามิเตอร์หนึ่งคือ “การล่าอาณานิคม(ดวงดาว)” เราต้องมีระบบการศึกษาแบบไหนที่อนุญาตให้คนคิดข้ามกรอบสาขาได้ขนาดนี้ ?

  • ตัวแบบอันน่าเกลียด: ทำไมเหล่าเสรีนิยม จึงประทับใจเหลือเกินกับระบบการศึกษาของจีนและสิงคโปร์?

    ตัวแบบอันน่าเกลียด: ทำไมเหล่าเสรีนิยม จึงประทับใจเหลือเกินกับระบบการศึกษาของจีนและสิงคโปร์?

    แปลจาก The Ugly Models: Why are liberals so impressed by China and Singapore’s school systems? เขียนโดย Martha C. Nussbau ผู้นำอเมริกันทั้งหลาย ซึ่งประทับใจในความสำเร็จทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์และจีน มักกล่าวอย่างอิจฉาเสมอ ๆ เมื่อพูดถึงระบบการศึกษาของประเทศเหล่านั้น. ประธานาธิบดีโอบามาอ้างถึงสิงคโปร์ในสุนทรพจน์เมื่อมีนาคม 2009 โดยกล่าวว่านักการศึกษาในสิงคโปร์นั้น ให้เวลาน้อยลงในการสอนสิ่งที่ไม่เป็นสาระ และให้เวลามากขึ้นในการสอนสิ่งที่เป็นสาระ พวกเขาเตรียมนักเรียนของพวกเขาไม่เพียงสำหรับโรงเรียนมัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัย แต่ยังสำหรับอาชีพการงาน พวกเราไม่ได้ทำเช่นนั้น. นิโคลัส คริสทอฟ (Nicholas Kristof) คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทมส์ยกย่องจีนอยู่เสมอ เขาเขียน (ในช่วงก่อนโอลิมปิกที่ปักกิ่ง) ว่า “วันนี้ มันเป็นกีฬา ที่พุ่งทะยานขึ้นจนทำเราประหลาดใจ แต่จีนจะทำสิ่งมหึมาเดียวกันนี้ในศิลปะ ในธุรกิจ ในวิทยาศาสตร์ ในการศึกษา” ซึ่งโดยนัยคือการสนับสนุนอย่างหนักแน่นต่อสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในระบบการศึกษาของจีน แม้กระทั่งในบทความที่เขาวิจารณ์รัฐบาลจีนอย่างรุนแรง ถึงสิ่งที่จีนได้กระทำอย่างโหดร้ายกับผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมือง. แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่า โอมาบา คริสทอฟ และชาวอเมริกันอื่น ๆ…

  • Dear the "University of Moral and Political Sciences"’s library,

    ถึง หอสมุด, เรื่องหนังสือหายาก เนื้อหาไหนที่เป็นสมบัติของสาธารณะ (public domain) แล้ว และหอสมุดได้ตัดสินใจจะเผยแพร่เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ก็ไม่ควรจะอาลัยอาวรณ์กับมัน ว่าใครจะนำไปเผยแพร่ต่อและคิดค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่นั้น วิตกเสียจนต้องพยายามหาทางป้องกัน ด้วยเจตนาดี หอสมุดอาจกลัวว่าสาธารณะจะเสียหาย เพราะมีผู้นำไปค้ากำไรเกินควร เช่นนั้นหอสมุดก็ยิ่งควรจะเปิดให้สาธารณะสามารถเข้าถึงเนื้อหาเหล่านั้นได้มาก ๆ ให้สะดวกมาก ให้ถูกมาก มากเสียจนคนอื่นไม่สามารถทำกำไรเกินควรได้ ด้วยความเคารพนะ …มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา… The Public Domain Manifesto technorati tags: public domain, Thammasat University, education

  • [30 Oct] Richard Stallman to give a keynote at FLossEd Bangkok

    ฝากบอกต่อครับ ริชาร์ด สตอลล์แมน ผู้ริเริ่มแนวคิด copyleft และ ซอฟต์แวร์เสรี จะปาฐกถาเปิดงานซอฟต์แวร์เสรีเพื่อการศึกษา FLossEd BK ศุกร์ 30 ตุลานี้ 19:30น. ที่โรงเรียนนานาชาติ เค.ไอ.เอส. ห้วยขวาง [แผนที่] Richard M. Stallman, of copyleft and Free Software Foundation, will give a keynote speech at FLossEd BK conference, at KIS International School, Bangkok. 19:30. Friday, October 30, 2009. [map] http://flossedbk.flossed.org technorati tags: Richard Stallman, free software, keynote,…

  • Robocode Thailand Contest 2009

    Robocode Thailand Contest 2009 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมจาวาเพื่อควบคุมหุ่นยนต์รถถัง Robocode เป็นเกมที่แต่ละทีมจะพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาจาวา เพื่อควบคุมหุ่นยนต์รถถังให้ต่อสู้กันแบบอัตโนมัติ โดยแต่ละทีมไม่สามารถควบคุมหุ่นยนต์ของตัวระหว่างการแข่งขันได้ จึงเป็นเกมที่ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมและการนำอัลกอริทึม (algorithm) หรือวิธีการต่าง ๆ รวมถึง ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence – AI) มารวมกันเพื่อทำให้หุ่นยนต์มีประสิทธิภาพมากที่สุด เว็บไซต์วิชาการ.คอม เล็งเห็นประโยชน์ของเกม Robocode นี้ว่าจะช่วยฝึกทักษะต่าง ๆ ให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจ จึงร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการแข่งขัน Robocode Thailand Contest 2009 เพื่อค้นหาสุดยอดทีมกับสุดยอดหุ่นยนต์ประจำปีนี้ โดยการแข่งขันในรอบคัดเลือก จะดำเนินการผ่านเว็บไซต์วิชาการ.คอม ส่วนการแข่งขันในรอบสุดท้าย ซึ่งเป็นการชิงชนะเลิศระดับประเทศ จะจัดการแข่งขันในช่วงต้นปี 2009 ภายในงานมหกรรมการแข่งขันด้านไอซีที ซึ่งดำเนินการเป็นประจำทุกปีโดยเนคเทค ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Robocode ได้ที่ robocode.sf.net ศึกษาวิธีการพัฒนาหุ่นยนต์ได้จากบทความติว และส่งซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นเข้าแข่งขันได้ตั้งแต่วันนี้ โดยจะปิดรับสมัครและปิดให้อัปโหลดหุ่นยนต์ในวันที่ 20 มกราคม 2552 ที่มา…

  • oh your highness "highly educated" PAD

    จากข่าว พันธมิตรฯ ฮุสตัน ต้อนรับ “หมัก” อบอุ่น, ผู้จัดการออนไลน์, 6 พ.ย. 2551 : “… ทั้งนี้ เมืองฮุสตัน มลรัฐเทกซัสถือเป็นเมืองหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีพันธมิตรฯ หนาแน่นมากเมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทยที่มีการศึกษา เป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ พนักงานบริษัท เป็นต้น” หรือพูดง่าย ๆ ว่า เป็นเมืองที่ไม่ค่อยมี “บาบูน” นั่นเองครับ (เหมาะแก่การอยู่อาศัยของพันธมิตรเป็นอย่างยิ่ง) technorati tags: PAD, education, language