เสรีภาพการแสดงออกในมหาวิทยาลัยสหราชอาณาจักร

The New Academic Building at LSE

Gary Slapper ผู้อำนวยการของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก วิทยาเขตลอนดอน เขียนถึงประเด็นเสรีภาพการแสดงออกที่ถูกจำกัดในมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร โดยอ้างอิงรายงาน Free Speech University Rankings ที่จัดอันดับเสรีภาพในการพูดของมหาวิทยาลัยยูเค 115 แห่งเป็นปีที่สองแล้ว และในรายงานปีที่สองนี้ พบมหาวิทยาลัยที่มีการเซ็นเซอร์การแสดงออก 90% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มี 80%

เขายกตัวอย่าง LSE ที่มีปัญหานี้มาก จนนักศึกษาต้องตั้งสมาคม Speakeasy Society ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการโต้เถียงอย่างเสรีและเปิดกว้าง แต่ไม่นานก็มีการเสนอในที่ประชุมของสหภาพนักศึกษา LSE Student Union ว่าให้แบนสมาคมนี้ซะ สุดท้ายก็รอดไป มีคนโหวตให้แบน 57 เสียง โหวตว่าไม่แบน 226 เสียง ได้อยู่ต่อ

ปัญหาอันหนึ่งก็คือ การยกข้องอ้างเรื่องการหมิ่นศาสนาหรือคำพูดที่สร้างความเกลียดชัง ขึ้นมาเพื่อห้ามหรือจำกัดการแสดงออก

ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงคือ Racial and Religious Hatred Act 2006 (แก้ไขเพิ่มเติม Public Order Act 1986) ซึ่ง Gary ก็บอกว่า ในกฎหมายก็เขียนไว้อย่างชัดเจนว่าไม่ได้ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ หรือกระทั่งประชดเสียดสีเยาะเย้ย (ridicule) ศาสนา ความเชื่อ และวิธีปฏิบัติของผู้ที่มีความเชื่อเหล่านั้น

กฎหมายเขาว่างี้

Part 3A — Hatred against persons on religious grounds

29A — Meaning of “religious hatred”

In this Part “religious hatred” means hatred against a group of persons defined by reference to religious belief or lack of religious belief.

[…]

29J — Protection of freedom of expression

Nothing in this Part shall be read or given effect in a way which prohibits or restricts discussion, criticism or expressions of antipathy, dislike, ridicule, insult or abuse of particular religions or the beliefs or practices of their adherents, or of any other belief system or the beliefs or practices of its adherents, or proselytising or urging adherents of a different religion or belief system to cease practising their religion or belief system.

กล่าวคือความหมายของ “ความเกลียดชังทางศาสนา” นี่ มันต้องเป็นความเกลียดชังต่อกลุ่มบุคคล ซึ่งอ้างอิงกับความเชื่อทางศาสนา (29A) สิ่งที่เขาต้องการปกป้อง คือปกป้องคน ส่วนการจะไปวิพากษ์วิจารณ์หรือเอาตัวศาสนาความเชื่อมาล้อเลียนอะไรนั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายไม่ได้ห้าม และเขียนย้ำไว้เลยในกฎหมายว่า ไม่ได้ห้ามนะ (29J)

แต่ก็ดูเหมือนว่าข้ออ้างพวกนี้จะถูกเอามาใช้ปิดปากการแสดงออก คือพอวิพากษ์วิจารณ์ความคิด บอกว่าไม่เห็นด้วยกับอะไร ก็ถูกตีความไปว่าไปโจมตีบุคคลที่เชื่อเรื่องนั้น

เขาปิดท้ายบทความว่า คำว่า “university” ในภาษาอังกฤษนั้น มาจากคำละตินว่า “universtas” ซึ่งแปลว่า “ทั้งหมด จำนวนทั้งหมด ผลรวมทั้งหมดของสรรพสิ่ง” มหาวิทยาลัยควรจะเป็นที่ถกเถียงของแนวคิดทุกอย่าง ไม่ใช่แค่บางอย่าง

อ่านบทความเต็มที่ Milkround “The best way to defeat harmful ideas is by debate — not a ban”

ภาพจาก Wikimedia Commons


One response to “เสรีภาพการแสดงออกในมหาวิทยาลัยสหราชอาณาจักร”

  1. I am a journalist, writing an article about the possibility of a general election in Thailand this year. I would like to ask Khun Arthit two questions for my article,which is commissioned by Nikkei Asian Review. Please confirm. My email attached. Many thanks.

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.