Tag: constitution

  • สนับสนุนกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นธรรม สนับสนุนร่างแก้ไขฉบับ iLaw

    ผมสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อเปิดทางให้กับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามที่ไอลอว์เสนอไว้ เพราะมันเน้น “กระบวนการ” และปล่อยให้เรื่อง “เนื้อหา” กลับไปอยู่ที่ประชาชนมากที่สุด 1) เป็นร่างฉบับที่คืนอำนาจให้ประชาชน สมาชิกสภาร่างทั้งหมดมาจากการสรรหาตัวแทนจากประชาชน ไม่มีโควตาแต่งตั้งจากสายอำนาจนำในปัจจุบัน 2) เปิดโอกาสให้สังคมคิดฝันจินตนาการถึงอนาคตที่เป็นไปได้ร่วมกันได้โดยไม่มีข้อจำกัดปลอมๆ ที่คนกลุ่มเล็ก (ที่ยึดอำนาจประชาชนมา-หรือที่เป็นอำนาจนำในขณะนี้) สร้างขึ้น ว่าหมวดนั้นหมวดนี้ห้ามแก้ไข 3) สร้างกติกาที่เป็นธรรมในระหว่างการทำประชามติ ปลดล็อกเงื่อนไขที่คณะรัฐประหารสร้างไว้ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องการสร้างกติกาที่สังคมจะทำงานร่วมกันได้ โดยไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบเสียเปรียบจากตัวกติกา ส่วนเนื้อหาจะเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่สังคมจะไปพูดคุยรณรงค์กันอย่างเสรีภายใต้การรับรองสนับสนุนของ (3) ผ่านตัวแทนใน (1) โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ ตามที่ (2) ได้เปิดโอกาสไว้ ดูคำอธิบายข้อเสนอ #5ยกเลิก5แก้ไข ของ iLaw

  • ทฤษฎีเก่า "Old Theory" – Thailand Bill of Rights

    (น่าจะเก่าอยู่ล่ะ ตั้ง 76 ปี แล้ว วันนี้วันที่ 24 มิ.ย. ครบรอบการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง) “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา” — หลัก 6 ประการของคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 สิ่งที่ “ทฤษฎีใหม่” และลูก ๆ พอเพียงต่าง ๆ เสนอ คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อาจจะโยงไปได้ถึงเอกราช แต่ขาดเรื่อง เสมอภาค และ เสรีภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่มีใน “ทฤษฎีเก่า” เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา 76 ปีแล้ว ดูเหมือนเราจะยังไปไม่ถึงหลักหกประการนั้นสักที โดยเฉพาะประการที่ 4 และ 5 หลัก 6 ประการของคณะราษฎร จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น…

  • Destroy political party system … for democracy !? This is Thailand.

    ชู-พิดคิดตามวัน: บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา ตอนใหม่มาแล้ว ยุบพรรค.. เพื่อประชาธิปไตย ? ถ้านับว่า พรรคการเมือง คือที่รวมของบุคคลที่มีอุดมการณ์ความคิดความเชื่อในทางเดียวกันแล้ว แม้ถึงที่สุดเราจะยุบพรรคการเมืองได้ แต่เราไม่สามารถยุบอุดมการณ์ความคิดความเชื่อเหล่านั้นได้ และกลุ่มบุคคลเหล่านั้นก็มีสิทธิในการรวมกลุ่มกันอีก-ในชื่อใหม่ คำถามคือ แล้วเราจะต้องตาม (จองล้างจองผลาญ) ยุบพรรคการเมือง (ชื่อใหม่-อุดมการณ์เดิม) นั้นไปอีกกี่ครั้ง ? ทำราวกับว่าต้องการทำลาย/จำกัดอุดมการณ์ความคิดความเชื่อบางอย่าง (ที่ไม่เป็นที่ต้องการของผู้มีอำนาจ) ออกไปจากสังคม หรือในรธน.ฉบับนี้ ไม่ได้มองว่าพรรคการเมืองเป็นที่รวมกลุ่มอุดมการณ์อย่างว่า ? ถ้าอย่างนั้นรธน.ฉบับนี้ มองพรรคการเมืองเป็นอะไร ? พรรคการเมืองเป็นอะไร-อยู่ตรงไหน-มีหน้าที่อะไรใน “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ในสายตาของรธน.50 ? 5 อาจารย์นิติ มธ. ออกแถลงการณ์ค้านการยุบพรรค แถลงการณ์ เรื่อง การตีความกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ๒. พรรคการเมืองนับเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุดสถาบันหนึ่งในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน การรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพอันจะขาดเสียมิได้ ตามหลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปในนานาอารยะประเทศ การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือเป็นกรณีที่เห็นได้ว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปแล้วเท่านั้น เพราะการยุบพรรคการเมืองนอกจากจะทำลายสถาบันทางการเมืองลงแล้ว ยังมีผลเป็นการทำลายเสรีภาพในการรวมตัวกันเพื่อสร้างเจตจำนงทางการเมืองของราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอีกด้วย การตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองจึงไม่สามารถทำได้โดยการอ่านกฎหมายแบบยึดติดกับถ้อยคำเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงหลักการอันเป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดสิทธิทางการเมืองของปัจเจกบุคคลประกอบด้วยเสมอ สมาคมหัวไม้ ตอนใหม่ก็มาแล้ว ข่าวเก่า: ใครบอกว่าประชาธิปไตยพม่ากับไทยเทียบกันไม่ได้ (ร่างรธน.พม่า…

  • Open Document Standard, e-Government, and Universal Information Access

    ต่อเรื่อง open document standard มาตรฐานเอกสารแบบเปิด ที่ใน duocore ตอนที่ 66 ลืมพูด/เวลาไม่พอเลยข้ามไป open standard นี่ ทั้งตัว format และ protocol ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเลยนะ มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เช่นเรื่อง backoffice ระบบบริหารจัดการข้อมูลของระบบราชการ หน่วยงานรัฐ ที่ต้องประมวลผลเอกสารมาก ๆ ทั้งภายในหน่วยงานเอง ระหว่างหน่วยงานรัฐ และกับภาคเอกชน ประชาชน ถ้าไม่ใช่ฟอร์แมตเปิด การสร้างซอฟต์แวร์ระบบที่จะอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้อย่างอัตโนมัติ ก็ลำบาก (ต้อง reverse engineering แกะสเปกกันวุ่นวาย) แถมยังไม่สามารถมั่นใจเต็ม 100% ได้ว่าจะอ่าน/เขียนได้ตรงเป๊ะ ซึ่งก็อาจทำให้ข้อมูลบางอย่างตกหล่นสูญหายได้ ยิ่งคิดว่าในกระบวนการทำงานจะต้องมีการส่งเอกสารกันหลายทอด อ่าน/เขียนกันหลายรอบ ก็เป็นไปได้ที่การสูญหายดังกล่าวจะสะสมเยอะขึ้นได้ด้วย มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถ้วนหน้า (universal information access) นอกจากนี้ กรณีที่สเปกรูปแบบเอกสารที่มันปิด ไม่ได้เป็นมาตรฐานเปิด ก็ทำให้มีโอกาสอยู่มาก ที่จำนวนโปรแกรมที่จะมาอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้…

  • Vote for the Better, Vote ‘NO’

    ขออนุญาตคัดทั้งหมด มาจากประชาไท เลือกในสิ่งที่ดีกว่า คือ ‘ไม่’ 19 สิงหาคม เป็นวันที่จะกำหนดอนาคตของเรา ผมไม่แน่ใจว่า สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากการยกร่างรัฐธรรมนูญและการรณรงค์ประชามติที่ผ่านมา หากไม่หลอกตัวเองมากเกินไป และซื่อตรงต่อตนเอง ไม่มากก็น้อยคงต้องยอมรับว่าการประชามติที่ผ่านมานั้นเป็นไปอย่างไม่ตรงไปตรงมา ไม่เคารพคนที่เห็นต่าง และไม่เป็นธรรมต่อการแข่งขัน หลายกรณียังเข้าข่ายฉ้อฉล การเดินไปคูหาประชามติแล้วผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ยังเท่ากับทำให้มาตรฐานการประชามติอย่างที่เป็นอยู่ได้รับการยอมรับ และจะเป็นมาตรฐานแบบไทยๆ สำหรับใช้ในครั้งต่อไป ทั้งๆ ที่ไม่มีใครในโลกเรียกการกระทำเช่นนี้ว่าประชามติได้ การไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการร่าง การเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนจำนวนมากและส่วนใหญ่ ซึ่งยืนยันจากโพลล์หลายสำนัก พึงต้องด้วยรู้ว่า การทำประชามติคือการใช้สิทธิใช้เสียงของประชาชนทุกคนอย่างเจ้าของประเทศโดยทางตรง ซึ่งกำลังเป็นวิธีที่นานาอารยประเทศนิยมใช้มากขึ้นๆ การทำให้การประชามตินี้เกิดเป็นมาตรฐานอันตราย จะทำให้การเมืองไทยเสียนิสัยและมักง่าย ซึ่งที่ผ่านมาก็มากพออยู่แล้ว กล่าวอีกอย่างก็คือ การให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านด้วยประชามติครั้งนี้ จึงไม่เพียงแต่เท่ากับศูนย์แต่ยังทำให้สังคมไทยติดลบ ในทางกลับกัน สังคมการเมืองไทยจะได้อะไรอีกมากหากประชามติครั้งนี้มีผลในทางไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2550 หนึ่งคือ เท่ากับการปฏิเสธกระบวนการร่างที่ไม่เห็นหัวประชาชน สองคือปฏิเสธที่มาของการร่าง ซึ่งจะทำให้การรัฐประหารซึ่งส่งผลเสียต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ มหาศาลทำได้ยากมากขึ้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยและพาการเมืองไทยก้าวสู่การเมืองแบบเป็นเหตุเป็นผล หรือมีโอกาสหลุดออกจากวงจรอำนาจนิยมมากขึ้น และสาม เราจะนำความสมานฉันท์กลับมาสู่สังคมไทยอย่างแท้จริงได้ เมื่อกระบวนการต่อจากนั้นเดินไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับประชาชนที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งเรื่องที่มาของผู้ร่าง กระบวนการ และเนื้อหา และวันนั้นเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะดีกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 และร่าง…

  • Pre-Referendum Reads

    Be an informed citizen, read this before referendum vote. เอกสารน่าอ่านก่อนลงประชามติ รวมรวมโดย คนชายขอบ ทุกอันมีเป็น PDF พิมพ์ไปอ่านบนรถไฟฟ้า ส่งต่อให้เพื่อน ๆ ญาติ ๆ อ่านได้ พร้อมลิงก์ไปยัง ร่างรธน. 2550 ฉบับเต็ม เพื่อประกอบการตัดสินใจ รายชื่อบทความ: ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ 2550 – ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ นับถอยหลัง “รับ-ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ การเมืองไทยจะไปทางไหน? – นิตยสารสารคดี ทำไมต้องโหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ? (พร้อมแผนภูมิ) – wevoteno.net ชำแหละระบบบัญชีรายชื่อในร่าง รธน. 2550: gerrymandering แบบไทยๆ? – ม้านอก และ เด็กนอกกรอบ บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับลงประชามติ –…

  • PrachataiNoi Classroom

    ประชาไทน้อย ชวนฟังบรรยาย อนาคตการเมืองไทยหลังประชามติ เชิญชวนนักเรียนข้างถนน ผู้รักการศึกษาตลอดชีวิต และสื่อมวลชน ร่วมฟังบรรยาย ห้องเรียนประชาไทน้อย วิชาสัมมนาการเมืองไทย (สมท101) ปีการศึกษา 2550 ตอน: อนาคตการเมืองไทยหลังประชามติ พุธที่ 15 สิงหาคม 2550 เวลา 13:00-16:00 น. ห้อง 206.2 อาคาร 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ร่วมบรรยาย… คำพร ธุระเจน (นศ. นิติ มธ., ประธานวิชาการ มธ., แฟนพันธุ์แท้ 2004 เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.) ตฤน ไอยะรา (นศ. เศรษฐ มธ.) ชาติชาย แสงสุข (นายกองค์การบริหารนศ. มรภ.นครสวรรค์, สมาชิกสภาร่างรธน.) ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ (นศ. รัฐศาสตร์ จุฬา, แฟนพันธุ์แท้…

  • robber’s contract

    มีโจรมาปล้นบ้านคุณน่ะครับ (คุณโทรไปเรียกเขามาเองแหละ) ปล้นเสร็จ คุณก็เอาดอกไม้ไปให้โจร จับมือจับไม้ ถ่ายรูป แล้วโจรก็ร่างสัญญา ยื่นให้คุณ ในนั้นเขียนว่า “เกี่ยวก้อยกันนะ นี่ไม่ใช่การปล้นอ่ะ ช่วยเซ็นยินยอมด้วย” …จะเซ็นดีมั๊ยเนี่ย ? technorati tags: amnesty, constitution, coup

  • Wear RED, Vote NO

    “แดงไม่รับ” — RED is the colour. เสื้อยืด โปสเตอร์ สติกเกอร์ รณรงค์ โหวตไม่รับ ร่างรธน. 50 Red for No (จากสยามสแควร์ เสาร์ 4 ส.ค. 2550) technorati tags: red, vote, no, constitution, Thailand

  • Red for NO

    “แดงไม่รับ” รณรงค์เชิงสัญลักษณ์ ‘ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550’ นัดสวมเสื้อสีแดง เที่ยงตรง เสาร์ 4 ส.ค. 50 (พรุ่งนี้) กรุงเทพ — สยามเซ็นเตอร์ และ สยามสแควร์ เจอกัน และช่วยกันแจกเอกสาร สติ๊กเกอร์ และโปสเตอร์รณรงค์ จากสยามสแควร์ ไปตามเส้นทางสุขุมวิท เชียงใหม่ — ร้านเคเอฟซี ในห้างเซ็นทรัลแอร์พอร์ต พลาซ่า เจอกัน และรับประทานอาหารร่วมกัน เชียงราย — ร้านเคเอฟซี ในห้างบิ๊กซี จ.เชียงราย เจอกัน และรับประทานอาหารร่วมกัน (เชียงราย และ เชียงใหม่ ยังอยู่ในกฎอัยการศึก งดแจกเอกสาร) จังหวัดอื่น ๆ สามารถร่วมใส่ได้เช่นกัน 🙂 ทำไมไม่รับ ? … ดูเนื้อหาการดีเบตรัฐธรรมนูญ 2550 มีอะไรหมกเม็ดไว้บ้าง ? technorati tags: red,…