-
WordPress 2.7 Thai localization update
สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับปรุงคำแปลภาษาไทยบางส่วนของ WordPress 2.7 มีทั้งแก้ตัวสะกด เปลี่ยนคำ และปรับสำนวนแปล โดยเฉพาะในส่วนของ Dashboard ได้ส่งไปให้ผู้รับผิดชอบการแปลคือคุณ kazama แล้ว ดูรายละเอียดได้ที่เว็บบอร์ด WordThai (ทำในอัตรางานของ Opendream เพื่อใช้กับเว็บไซต์ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย http://cc.in.th/) อัปเดต: คุณ kazama แจ้งว่า WordPress 2.7.1 กำลังจะออกแล้ว ตัวคำแปลที่ผมเสนอไปนี้ อาจจะยังไม่ได้เข้าไปใน 2.7.1 เพราะต้องรอพิจารณาร่วมกันก่อน ว่าจะเอาอันไหนไม่เอาอันไหน technorati tags: WordPress, Thai, localization
-
XMLHttpRequest with "lese-majeste" in the url got blocked as well – Holy CS Loxinfo
อัปเดตต่อจากกรณี Mashable.com got blocked – ความมั่วของ CS Loxinfo กับการบล็อคเว็บ จากการทดลองเพิ่มเติม พบว่า web api request (ซึ่งทำผ่าน url) ก็จะใช้ไม่ได้เช่นกัน เช่น ผมลองใช้บริการย่อลิงก์ ของ bit.ly โดยใช้ url : http://klongofconsciousness.wordpress.com/2009/01/23/dozing-german-arrested-for-lese-majeste/* ปรากฎว่า bit.ly มันเงียบครับ ไม่แสดงผลลัพธ์อะไร (ตามปกติมันจะแสดงผลลัพธ์ลิงก์ที่ถูกย่อ ในช่อง “Shortened URL”) เมื่อตรวจสอบดูก็พบว่า เมื่อกดปุ่ม “Shorten” ตัวหน้าเว็บ จะส่ง XMLHttpRequest ไปที่ http://bit.ly/api เรียกใช้บริการที่เซิร์ฟเวอร์ของ bit.ly เพื่อรับผลลัพธ์ (ตามลักษณะการเขียนโปรแกรมแบบ AJAX ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมทั่วไป) โดยในการส่ง request ที่ว่านี้ ก็จะทำในรูปของการเรียก url ปกติ ซึ่งกรณีนี้ ก็จะเป็นในรูปแบบนี้…
-
Mashable.com got blocked – ความมั่วของ CS Loxinfo กับการบล็อคเว็บ
Mashable, an Internet technology news blog [url: http://mashable.com/], got blocked by CS Loxinfo, one of the major ISPs in Thailand. Discovered on 2009.02.02, 04:59 local time (UTC+7). เว็บไซต์ Mashable [url: http://mashable.com/] ซึ่งเป็นบล็อกที่เสนอข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ถูกปิดกั้นโดยซีเอสล็อกซ์อินโฟ โดยพบว่าถูกปิดกั้นเมื่อเวลาตีห้าของวันที่ 2 ก.พ. 2552 Here’s the (grand) reason / โดยซีเอสล็อกซ์อินโฟได้แจ้งว่า : URL นี้ได้ถูกปิดกั้นแล้ว เนื่องจาก มีคำสั่งศาลให้ปิดกั้น หรือ มีลักษณะเข้าข่ายที่อาจกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน This URL…
-
Sociology+Anthropology activities calendar
สำหรับคนที่สนใจงานเสวนา สัมมนา บรรยาย ประชุมวิชาการ พูดคุย ดูหนัง ศิลปะ นิทรรศการ ท่องเที่ยว ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยเฉพาะด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และวรรณกรรมวิจารณ์ ลองใช้ปฏิทิน Soc-Ant Cafe นี้ดูครับ (เป็น Google Calendar) แบบดูบนเว็บ : http://bit.ly/socant-calendar แบบ iCal : http://bit.ly/socant-ical แบบ RSS feed : http://bit.ly/socant-feed แถม (โฆษณา) โครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อ หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ปีการศึกษา 2552 (รุ่นที่ 1) รับสมัครผ่านทางเว็บไซด์ http://www.reg.tu.ac.th/ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2552 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.socio.tu.ac.th/…
-
แบบสำรวจ “สิทธิเสรีภาพในอินเทอร์เน็ต” – An Online Survey on Internet Rights and Freedom
เชิญร่วมตอบแบบสอบถาม เรื่อง “สิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต” เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ความคิดเห็นต่อการดูแลอินเทอร์เน็ต และอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน — แบบสอบถามใช้เวลาทำประมาณ 7 นาที http://bit.ly/netfreedom-q ผลสำรวจจะถูกนำเสนอในงานเสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” (ดูรายละเอียดด้านล่าง) เสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” วันเวลา: อาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2552 13.00-16.00น. สถานที่: สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน (แผนที่: http://tja.or.th/map.jpg, เว็บไซต์: http://tja.or.th/) เป้าหมาย: เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สนใจในการนำอินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ มาเป็นเครื่องมือในการช่วยผลักดันนโยบายจากภาคประชาชน การตรวจสอบนักการเมืองและพรรคการเมือง ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยบนอินเทอร์เน็ต รูปแบบงาน: เสวนากลุ่มย่อยระหว่างผู้สนใจ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เสวนา กำหนดการ: 13:00-13:30 “เสรีภาพในการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์” โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) 13:30-14:00 “การสำรวจความคิดเห็นด้านการเมืองของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทย” โดย Siam Intelligence Unit 14:00-14:30 “เว็บไซต์ฐานข้อมูลนักการเมืองไทย” โดย…
-
มาวาดกระต่ายกัน! Draw a Bunny!
ชวนวาดกระต่ายคลายเครียด
-
jibjib – a tiny Twitter client for your Java ME phone
Developed in open-source fashion by @sugree (93,216 tweets so far, as of 2008.01.13), jibjib* is a Twitter client designed for Twitter-addicted on-the-road. 50 KB in size, easily fits in any Java ME (J2ME) phone (CLDC 1.0 and MIDP 1.0 minimum), and still loaded with handy features like quick reply, url-friendly smart retweet, custom/auto word list…
-
Sulak Sivaraksa says ‘NO’ to Kukrit Pramoj
“ … วิธีการเช่นนี้ คุณชายคึกฤทธิ์ใช้มากับผมและบุคคลอื่นๆ ที่เธอรังเกียจก่อนแล้วที่สยามรัฐ ก็ถ้าสื่อมวลชนใช้อคติส่วนตัวของผู้บริหารสูงสุดเป็นตัวกำหนด ว่าควรเอ่ยชื่อใครหรือไม่ และบทความของใครควรลงพิมพ์หรือไม่ โดยที่คนๆ นั้นเป็นคนที่ผู้บริหารสูงสุดรังเกียจเสียแล้วละก็ สื่อมวลชนดังกล่าวมีความเป็นกลางละหรือ รักสัจจะหรืออาสัตย์อาธรรม์กันแน่ แม้อนันตริยกรรมข้อนี้ ประการเดียว บุคคลคนนั้น ยังควรได้รับยกย่องให้เป็นคนสำคัญของโลกอีกละหรือ โดยไม่จำต้องเอ่ยว่าสี่แผ่นดิน นั้นเป็นนวนิยายที่ใช้ล้างสมองให้คนเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นของเลว ราชาธิปไตยเป็นของวิเศษ ชาติวุฒิสำคัญยิ่งกว่าคุณวุฒิของสามัญชนคนธรรมดา และแล้วเราก็ยังถูกสะกดให้อยู่ในอีหรอบนี้อยู่ หรือมิใช่ … ” ส.ศิวรักษ์ เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงบรรณาธิการไทยโพสต์ เพื่อแสดงความเห็นต่อบทความ “คึกฤทธิ์คนสำคัญของโลก” ในคอลัมน์ บังอบายเบิกฟ้า ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2552 แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเสนอชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่อยูเนสโกเพื่อให้รับรองเป็นบุคคลสำคัญของโลก นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐบาลทำประชามติก่อน หากจะมีการเสนอชื่อผู้ใด ไม่ใช่ทำกันแต่เป็นการภายใน โดยไม่สนใจประชาชน (ถัดจากนี้คือเนื้อความในจดหมายดังกล่าว) : ๑๒๗ ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ บางรัก กรุงเทพฯ ๑๐๕๐๐ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ เรียนบรรณาธิการไทยโพสต์ ผมรู้จักคุณธรรมเกียรติ…
-
[22-23 Dec] Conference on Nationalism and Multiculturalism
ประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม” 22-23 ธ.ค. 2551 @ เชียงใหม่ http://202.28.25.21/conf2008/ สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นมาพร้อมๆ กับการกระบวนการสร้างรัฐชาติ ได้ส่งผลต่อการให้นิยามวัฒนธรรมประจำชาติและอัตลักษณ์ประจำชาติ ศาสนา ภาษา แนวคิดเรื่องการพัฒนาและระบบคุณค่าทางสังคมภายใต้รัฐชาติไทย เหล่านี้ ได้นำไปสู่การกดทับ และทำลายอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของกลุ่มคนที่ด้อยกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนกลุ่มอารยธรรมย่อย นอกจากนี้ ยังนำไปสู่อคติทางชาติพันธุ์ ที่มองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปอย่างเป็น “คนอื่น” และการสร้างภาพแบบเหมารวม เช่น ชาวเขาทำลายป่าและค้ายาเสพติด ชาวมุสลิมชอบใช้ความรุนแรง ในบางครั้งนำไปสู่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และความรุนแรงในสังคม นอกจากนี้ นโยบายการพัฒนาภายใต้วาทกรรมความทันสมัย ผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐที่เข้าไปดำเนินงานในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มักมุ่งเน้นไปที่ปัญหาความมั่นคงของชาติและการส่งเสริมให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร การปรับเปลี่ยนจากวิถีชีวิตแบบยังชีพเข้าสู่ระบบการตลาด โครงการพัฒนาต่างๆ นั้น ยังละเลยการให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วยความหลากหลายและซับซ้อนของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น พลังทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง ซึ่งมิไม่ได้เปิดพื้นที่ให้กลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ได้ตอบโต้หรือเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน การประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม”…