Category: Laws & Politics

  • A city we share.

    กาแฟดำ : 2550…สิ้นสุดของความ”ไร้เดียงสา”ของคนกรุง พูดอีกอย่างก็คือ พร้อมกับการมาถึงของปีกุน 2550 คนไทยทุกคนจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อชีวิตใหม่ และต้องพร้อมที่จะดำรงชีวิตเหมือนคนในหลายๆ เมืองใหญ่ ที่ต้องมีความเป็นนักสังเกต, มีความตื่นตัว และไวต่อข่าวสาร…ตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตระหนกจะกลายเป็นหลักปฏิบัติของชีวิต ประจำวันของคนกรุง ทุกคนต้องยอมรับผิดกันคนละส่วน เพราะเราได้ปล่อยให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความแตกแยกที่ต่างฝ่ายต่าง ใช้ความรุนแรงและการข่มขู่คุกคาม เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองแทนการปรองดองและสมานฉันท์, แทนการมองประโยชน์ภาพรวมเป็นหลัก และปรับผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของส่วนรวม ปากพูดว่า “สมานฉันท์” แต่พฤติกรรมยังสะท้อนความเคียดแค้นชิงชัง ปากพร่ำคำว่า “น้ำใจนักกีฬา” แต่ใจยังร่ำหาแต่ “ชัยชนะบนเงื่อนไขของข้าฯ” น่าเศร้า, น่าสลด, น่ารันทด, และน่าเสียใจ แต่ก็เป็นเส้นทางที่คนไทยหลายๆ กลุ่ม ได้ตัดสินใจกำหนดเส้นทางนี้ให้คนในสังคม คนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องและพัวพันกับผลประโยชน์เช่นนั้นโดยตรงอย่างพวกเรา ก็ได้แต่ถามเสียงดังขึ้นทุกวันว่า “ทำไม, ทำไม และทำไม?” ใช่! ทำไม ทำไม และ ทำไม !? ทำไมวันนี้ผมต้องเดินจากตึกศรีจุลทรัพย์กลับบ้าน ? ก็เพราะตำรวจเค้าต้องปิดถนน เพราะว่าคนโบ๊เบ๊เค้าทะเลาะกัน ไงล่ะ แท็กซี่เค้าตรงไปต่อไม่ได้ รถติดรอบด้าน เลยทิ้งผมกับแม่ไว้ตรงนั้นล่ะ จะเอาไงล่ะ ก็ต้องเดินกลับสิ นั่นแหละ…

  • Opinions

    ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 2,374 คน ซึ่งเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป 87.9% เห็นว่า ควรมีการลงประชามติก่อนนำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไปใช้จริง 70.6% เห็นว่า ควรใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2540 เป็นต้นแบบในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 63.4% เชื่อมั่นว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะช่วยทำให้การเมืองไทยดีขึ้น 63.2% ต้องการ นายกรัฐมนตรีที่มีความรู้ความสามารถและมีจริยธรรม 60.3% เห็นว่า นักการเมืองไม่ควรเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคณะกรรมการองค์การอิสระต่าง ๆ 59.8% เห็นว่า สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้ง 58.3% เห็นว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งควรเป็นสมาชิกพรรคการเมือง จะเห็นว่า ผู้ถูกสำรวจส่วนใหญ่ ยังพอใจกับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 เพียงแต่ต้องการให้แก้ไขจุดบกพร่องบางมาตราเท่านั้น และมุ่งเน้นไปที่คุณธรรมกับความรู้ ความสามารถของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด [ผ่าน ประชาไท] technorati tags: opinions, politics

  • Forum on Computer Crime Act – 21 Dec

    การเสวนารับฟังความคิดเห็น หัวข้อ “ร่วมวิพากษ์ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ….” วันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2549 8.30-16.30 น. โรงแรมดิเอมเมอรัล รัชดา กรุงเทพฯ (แผนที่) จัดโดย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ร่วมกับ 3 ชมรม/มูลนิธิ และ 4 สมาคมผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน เกี่ยวกับเจตนารมณ์และนัยสำคัญของร่างฯ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อสังเกต ข้อห่วงกังวล และข้อเสนอแนะ ร่วมกันจากทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างฯ ในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สมบูรณ์ต่อไป กำหนดการ 9:00-10:00 นำเสนอที่มาของ “คำนิยาม” & “ฐานความผิด” โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล 10:00-10:55, 11:00-12:00 นำเสนอการวิพากษ์ โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ คนที่ 2)…

  • borderline

    ‘เราต้องตีเส้น’ เครือข่าย 19 กันยา ไทยโพสต์, 10 ธ.ค. 2549 “ผมไม่อยากเห็นแค่ คมช.ออกไป ถ้า คมช.ออกไปมันก็ซ้ำรอยเดิม เหมือนที่ทักษิณออกไป มวลชนควรจะเติบโตเชิงคุณภาพประชาธิปไตย เพื่อเป็นหลักประกันความรุนแรงที่จะเกิดจากการปะทะกันครั้งใหญ่ของความขัดแย้งในบ้านเมือง ถ้ามีคนที่ยึดหลักการเพียงพอและมากพอ เราจะไม่พาประเทศเข้าสู่ภัยอันตราย คมช.ออกไปไม่ใช่เป้าหมาย ประชาธิปไตยคืนมาต่างหากที่เป็นเป้าหมาย” ทักษิณแทรกแซงกติกา นี่ล้มกติกา “ใช่ ก็เหมือนที่หมอเหวงพูด คุณจะเอาโคลนไปล้างโคลน เอาอาจมไปล้างโคลนได้อย่างไร ท่านพุทธทาสจึงบอกว่าอย่าเอาโคลนไปล้างโคลน การกระทำของ คมช.มันทำให้หลักการที่เคยมีอยู่ รัฐธรรมนูญ กฎหมาย อะไรทั้งหลายมันไปหมดเลย” “นี่เป็นเรื่องที่มันผิดหลักการ ในหลวงท่านบอกว่าถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิดเม็ดต่อไปมันก็ผิดหมด กติกาประชาธิปไตยเป็นรากฐาน ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตภายใต้กรอบนี้ มันผิดกติกา พอรากขยับมันเปลี่ยน ใช้ชีวิตปกติก็ยังผิด” ไปอ่านทั้งหมดกันเองละกันครับ มันส์ 😛 tags: Thailand, politics, coup

  • Celebrating Constitution Day

    พรุ่งนี้ 10 ธันวาคม เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” มะรืนนี้ 11 ธันวาคม เป็น “วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ” วันหยุดนั้นชดเชยได้ แล้วรัฐธรรมนูญที่ถูกคณะรัฐประหารฉีกทิ้งไป จะเอาอะไรมาชดเชยดี ? วันพรุ่งนี้ เราจะ “ฉลอง” อะไรกันเหรอ ? ผมยังงง ๆ พรุ่งนี้ผมแต่งดำครับ tags: Thailand, constitution, coup

  • see improvement ?

    ความเห็นหนึ่ง ที่มีผู้สัญจรไปหย่อนไว้ในบล็ิอก นิติรัฐ : ตุ้มเม้ง said… โอเค เรามาคุยเหตุผลกันนะ ไม่ต้องหยาบไม่ต้องอารมณ์ ไม่ต้องคุยเรื่อง ประชาธิปไตยก็ได้ เพราะ ความต้องการของเราคงไม่เหมือนกัน เพราะประชาธิปไตย คือ ประชาธิปไตย ไม่มีแบบ ไทยๆ แบบพม่าๆ ต่อท้ายเพื่อเอาไว้แก้ขัดแก้เขินแก้อาย แต่เรามาพูดถึงคำว่า “สิทธิเสรี” คุณบอกยุคทักษิณ 300 ไม่มีความเสรี? ไอ้ที่ใส่เสื้อเหลือง พิมพ์หน้าอก กู้ชาิตินั่นอะไร? ไอ้ที่ไฮปาร์คด่าหยาบๆนั่นคืออะไร? การออกข่าวแบบเพ้อเจ้อๆขาดหลักฐานนั่น ไม่เสรี? โดนปิดกั้น? มาถึงยุค รัฐบาล F2 (เปลี่ยนแค่ชื่อโครงการ แต่คงไว้ทั้งหมด) การจะออกไปประท้วงแสดงความไม่เห็นด้วยกับทหาร ก็โดนตราหน้าว่า ลิ่วล้อบ้างล่ะ โดนจ้างบ้างล่ะ ทางอีสาน ทางเหนือ โดนบล๊อคถนน ไม่ได้ขบวนมาในกทม แบบนี้เสรีจัง โดนขึ้นบัญชีดำ บ้างล่ะ เพราะโดนสงสัยว่าคลื่นใต้น้ำ แบบนี้เสรีมาก? เอาคนอีสาน และ คนทางเหนือที่พร้อมจะลุกฮือขับไล่เผด็จการเข้าบัญชีดำ แต่สั่งให้ทำลายบัญชีดำโจรใต้ พร้อมกันนั้นยังไปกราบตีน…

  • December Seminars at Thammasat Economics School

    สัมมนา/เสวนา ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่น่าสนใจ(บางส่วน/สำหรับผม) ในเดือนนี้ พุธ 13 ธ.ค. 13:30-15:00 น. สัมมนางานวิจัยหัวข้อ “Incentive Structure and Mechanism Design” “แรงจูงใจของนักการเมือง บทบาทของการเลือกตั้ง และทางเลือกของนโยบายสาธารณะ” (Politicians’ Motivation, Role of Elections, and Policy Choices) อ.ดร.พงษ์ธร วราศัย [เอกสารประกอบ] “การสร้างแบบจำลองการตัดสินใจเรื่องไม่สำคัญ” (Modeling Unimportant Decision) อ.ภาวิน ศิริประภานุกูล [เอกสารประกอบ] ศุกร์ 15 ธ.ค. 13:30 น. ECONversation “คุยเรื่อง ‘ชิน’: กรณีภาษี-หุ้น-ที่ดิน-และ(อดีต)นายกฯ” คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ จันทร์ 18 ธ.ค. ECONversation “โลกร้อน:…

  • Legalised It!

    หากใครลองเปิดเทประหว่าง สนช. และ รมต. ฟังอีกรอบ คงจะหูผึ่ง!!! “ควรมีบทควบคุมไปถึงผู้ที่บรรจุข้อมูลในเซิบเวอร์จากต่างประเทศที่เผยแพร่ในไทย โดยเฉพาะข้อความที่หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเราต้องบล็อกข้อมูลลักษณะนี้ให้ได้ แต่จากที่ดูมาตรา 16 ทั้ง 8 อนุมาตรา ไม่มีตรงไหนสามารถบล็อกได้ จึงเป็นช่องว่างช่องโหว่ในการดำเนินการดังกล่าว” สนช. ท่านหนึ่งอภิปราย ฝ่ายรัฐมนตรีไอซีทีตอบว่า “ที่ผ่านมามีข้อความลงในเว็บไซด์ที่หมิ่นพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรง ทำให้ผมรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ จึงขอพิจารณากฎหมายของกระทรวงไอซีที 4 ฉบับ และนำเสนอเข้า ครม. อาจเป็นเพราะตนเป็นคนใจร้อน จึงขอให้ ครม. พิจารณาร่างกฎหมายนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน” อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ว่า ร่างของรัฐบาลที่ส่งมาเขียนไม่ชัดเจนหรือไม่ได้เขียน เมื่อเข้ามาในสภาก็ดีแล้ว กูจะเขียนให้ชัดแจ่มแจ๋วกว่าเดิมว่า รัฐสามารถ “บล๊อกเว็บไซต์” ได้ สนช. ผู้เปิดประเด็นนามว่า “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” หัวใจสำคัญในการแก้ไขร่างฉบับนี้จึงไม่ใช่การแก้ไขปรับปรุงมาตราใดมาตราหนึ่ง แต่อยู่ที่จะยินยอมเปิดทางให้อำนาจรัฐ “บล๊อกเว็บไซต์” ได้หรือไม่!!! หรืออาจกล่าวได้อีกทางว่า หลังปฏิวัติ 19 กันยา รัฐบาลทหารใช้อำนาจ “สีเทา ๆ ” ไล่ปิดไล่บล๊อกเว็บอุดตลุด ณ…

  • Computer Crime Act forum reports

    รายงาน เสวนา ร่าง พรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2549 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายงานโดยประชาไท: ไม่ชอบธรรมตั้งแต่การออกกฎหมายโดย สนช. นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากทม.: “รัฐบาลนี้ควรจะแค่รักษาการ ไม่ใช่ออกกฎหมาย” “เพียงแค่อ่านมาตรา 13 ก็เห็นแล้วว่า เป็นร่างกฎหมายที่จะทำให้เสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต แย่กว่าสื่อสิ่งพิมพ์หลายเท่า” “หากตีความตาม มาตรา 13(2) แล้ว หากเพียงมีข่าวลือในอินเตอร์เน็ต เช่น ข่าวลือว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กำลังจะกลับมาเมืองไทย ก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้ หรือแม้แต่มีข่าวลือว่าจะเกิดรัฐประหารก็มีความผิดตามข้อนี้แล้ว เมื่อพูดว่าเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศนั้น มันกว้างมาก และไม่รู้ว่าความมั่นคงคืออะไร” “มาตรา 13 นี้จะต้องตัดทิ้งไปเลย อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายฉบับนี้จะแก้ที่รายมาตรายากมาก สิ่งที่ต้องทำคือต้องต่อสู้เพื่อคว่ำกฎหมายฉบับนี้ ให้รอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีกระบวนการที่ถามความเห็นวงกว้างในสังคม แต่ทุกกฎหมายที่เข้าสภา กลับทำแบบงุบงิบ ไม่เปิดประชาพิจารณ์” รายงานโดยพลวัต: เรื่องจำเป็นที่ไม่มีใครใส่ใจ นายพิชัย พืชมงคล สำนักกฎหมายธรรมนิติ :…

  • Thailand’s Political Reform++

    โจทย์ปฏิรูปการเมือง — การเมืองไทยยังไม่บรรลุโจทย์เดิม วันที่ 29 พ.ย. 2549 ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 1 เรื่อง “โจทย์ปฏิรูปการเมือง 2550” มีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย, ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ผศ.สิริพรรณ นกสวน, ดำเนินรายการโดย อ.ปกป้อง จันวิทย์ (ตามกำหนดการเดิม ระบุชื่อ นายพิภพ ธงไชย และนายสุริยะใส กตะศิลา แต่ทั้งสองได้ปฏิเสธที่จะร่วมอย่างกะทันหัน) เพื่อให้ได้อรรถรสจากงานนี้เต็มที่ ประชาไท ขอสรุปประเด็นเพียงสั้นๆ พร้อมทั้งเปิดคลิปเสียงให้ฟังประกอบแบบเต็ม ๆ ดังนั้น การสรุปย่อนี้ จึงเป็นการสรุปประเด็นสั้นๆ ที่เรียงตามลำดับเวลา รศ.ดร.นครินทร์ : ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีองค์กรที่มีบุคลาการจำนวนเกิน 3 สนคนอยู่หลายหน่วยงาน เช่น ตำรวจ…