Category: Informatics

  • ชวนไปส่งเสียง เรื่องกฎหมายคอมพิวเตอร์ บ่าย 11 พ.ค. นี้ @ โรงแรม S31 สุขุมวิท 31

    กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีหลายเรื่องที่แก้แล้วน่าจะดีขึ้น หลายเรื่องที่น่าห่วงว่าจะแย่ลง และมีบางเรื่องเพิ่มเติมขึ้นมาเดิม ฉบับปัจจุบันยังไม่มี — จะชวนไปไล่ดูประเด็นน่าเป็นห่วงในร่างนี้ เสาร์ 11 พ.ค. นี้ โรงแรม S31 ซอยสุขุมวิท 31

  • มากกว่าการแปล, localization คือการปรับเข้าถิ่น

    เรื่อง “taken for granted” เหมาว่าคนอื่นก็คงคิดเหมือนเรา ทำแบบเรานี่แหละ และเรียกร้องให้ผู้ใช้ปรับตัวให้เข้ากับ “ผลิตภัณฑ์” ที่เราออกแบบ เป็นเรื่องที่เห็นกันทั่วไป ไม่เฉพาะในวงการซอฟต์แวร์

  • Lies, damned lies, statistics, and infographics

    อินโฟกราฟิกหรือแผนภูมิรูปภาพสมัยนี้เยอะเหลือเกิน ที่ดูดีและมีอินโฟจริงๆ นี่มันน้อยนะ

  • ชวนสมัคร Mekong ICT Camp [หมดเขต 28 ก.พ.] #ICT4D

    Mix of activism, policy advocacy, and hacking. Five-days workshop on ICT for development. 6-10 May 2013. Cha-Am, Thailand. Scholarships available. Deadline is 28 Feb 2013. ค่ายอบรมไอซีทีเพื่อการพัฒนา ที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีทุนให้ครับ สมัครด่วนถึงสิ้นเดือนกุมภานี้

  • รายงานศึกษาและบทความกฎหมายอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ จากคณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯ

    รายงานศึกษาและบทความกฎหมายมาจากเว็บไซต์ คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ครับ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสหราชอาณาจักร ผลกระทบของโครงการห้องสมุดดิจิทัล (Google Library Project) : “ละเมิดลิขสิทธิ์” หรือ “ประโยชน์สาธารณะ” การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในชื่อของงาน: ก้าวใหม่และความท้าทายในกฎหมายลิขสิทธิ์ ความเป็นกลางในการให้บริการอินเทอร์เน็ต (Net Neutrality) คณะกรรมการมีเฟซบุ๊กด้วย อยู่ที่ Thai Law Reform Commission (TLRC)

  • การออกแบบระบบสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตรวจสอบหาความจริงกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนขนาดใหญ่

    หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็น การเก็บหลักฐาน การทำมาตรฐานข้อมูลและรายการคำศัพท์เพื่อการจัดหมวดหมู่ การออกแบบหน้าจอเพื่อป้อนข้อมูล การออกแบบโครงสร้างข้อมูลและภาพแทนข้อมูลในฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การสร้างรายงานเชิงวิเคราะห์ การวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่าง การนำเสนอข้อมูลด้วยตารางและผังภาพเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของข้อมูล การพัฒนาอรรถาภิธานศัพท์เพื่อลดรูปข้อมูลเชิงบรรยายไปเป็นรหัส

  • แอนิเมชัน – ประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต

    แอนิเมชันเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต มันไม่ได้อยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้นโดยนักประดิษฐ์คนเดียวหรือกลุ่มเดียว แต่เกิดจากความพยายามในการสร้างเครือข่ายเพื่องานวิทยาศาสตร์ ความมั่นคง และเชิงพาณิชย์ ในศูนย์วิจัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ต่างคนต่างทำ ด้วยจุดประสงค์แตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละคนก็เรียนรู้แนวคิดของกันและกัน สร้างมาตรฐานที่จะแลกเปลี่ยนกันได้ และเครือข่ายต่าง ๆ ก็เชื่อมต่อกัน และกลายเป็นอินเทอร์เน็ต แนวคิดการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการ ARPANET (สหรัฐอเมริกา) แนวคิด packet-switching ถูกสร้างขึ้นที่ National Physical Laboratory (สหราชอาณาจักร) (พร้อม ๆ กับที่ห้องปฏิบัติการอื่น ๆ) เพื่อหลีกเลี่ยงความคับคั่งของเครือข่าย แนวคิด distributed computer network ถูกสร้างขึ้นศูนย์วิจัย RAND เพื่อให้มันใจว่าระบบจะยังทำงานแม้โหนดจำนวนหนึ่งในเครือข่ายจะทำงานไม่ได้ แนวคิด inter-networking (การเชื่อมต่อของเครือข่ายกับเครือข่าย) และแนวคิดการส่งผ่านข้อมูลโดย physical layer ถูกสร้างขึ้นในโครงการ CYCLADES (ฝรั่งเศส) ที่ Institut de Recherche d’lnformatique…

  • เปิดข้อมูลอย่างเดียวไม่พอ ต้องให้มัน machine-readable ด้วย!

    สองสัปดาห์ก่อน พยายามจะเอาข้อมูลรายจ่ายภาครัฐมาใช้งาน แต่ก็พบปัญหาในการเอามาใช้ คือข้อมูลเท่าที่หาได้ มันไม่ machine-readable หรือ “อ่านด้วยเครื่องไม่ได้” เขียนสรุปเอาไว้ที่บล็อกโอเพ่นดรีม: รายจ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2544-2554 ในรูปแบบ machine-readable (ดาวน์โหลดข้อมูลในฟอร์แมต OpenDocument) สาเหตุหลัก ๆ คือ: เป็น PDF ไม่ใช่ CSV หรือข้อมูลในรูปแบบตารางที่คำนวณได้ อย่าง OpenDocument spreadsheet หรือ Excel แย่กว่านั้น บาง PDF เป็นแบบรูปภาพ-สแกนหน้ากระดาษามา แถมเอียงหรือไม่ชัดอีกต่างหาก PDF ที่เหมือนจะเป็นข้อความดี ๆ บางอันก็มีปัญหาการเข้ารหัสชุดตัวอักษร เช่นแสดงให้เห็นเป็น “๔๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐” แต่พอ copy มา paste ก็กลายเป็น “Ùı,,,” แบบนี้คือ human-readable แต่ไม่ machine-readable แบบชัด ๆ เลย เอกสารใช้เลขไทย ซึ่งไม่ใช่ว่าทุก…

  • วารสารศาสตร์ ข้อมูล และคอมพิวเตอร์

    สัปดาห์ที่ผ่านมาขยันเขียนบล็อก (ที่อื่น) มีสองอันเกี่ยวกะการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำข่าวและรายงานข่าว วารสารศาสตร์เชิงคำนวณ: จะผลักข่าวไปข้างหน้า คอมพิวเตอร์ต้องเป็นมากกว่าเครื่องพิมพ์ดีด [datajournalism.in.th] (@dr_mana เสริมว่า และนักข่าวต้องเป็นมากกว่าคนจดข่าวหรือคนอัดเทปถอดเทป) 5 เครื่องมือสำหรับสำรวจขุดค้นและแสดงภาพข้อมูล [opendream.co.th/blog]