สื่อและขบวนการทางสังคมในมาเลเซีย: กรณีศึกษา หนังสือพิมพ์ Malaysiakini


รายงานจากวิชา ขบวนการทางสังคม เรียนเมื่อปีที่แล้ว

เทอมนั้นเป็นเทอมที่หนักที่สุด เพราะเทอมก่อนหน้านั้นเกรดห่วยจนติดโปร ก็เลยต้องลงทะเบียนเรียนมันซะ 4 วิชาเลย เพื่อดันเกรด แล้วต้องได้ทุกวิชา B+ อะไรแบบนี้ ถึงจะรอด สุดท้ายก็รอด แบบหืด ๆ (หลุดได้ B มาตัวนึง แต่รอดเพราะได้ A มาช่วยอีกตัว) เทอมนั้นเป็นเทอมที่สนุกดี ได้ไปลงสนามเล็ก ๆ น้อย ๆ (จากวิชานี้และอีกวิชาคือ วัฒนธรรมเมือง) ได้พบกับคนที่ต่อสู้มาทั้งชีวิต และบอกว่า เอ็นจีโอแค่สนับสนุนก็พอ ชาวบ้านจะนำเอง (แปลว่า เอ็นจีโออย่าเสือกเยอะ)

เลือกมาเลเชียกีนี เพราะว่ามันน่าสนใจดี ในฐานะที่ตัวมันเองก็เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่ต่อเนื่องมาจากขบวนการเคลื่อนไหว Reformasi (ปฏิรูป) คือไม่ต้องมาบอกว่าสื่อต้องเป็นกลาง สื่ออย่าเลือกข้าง มาเลเชียกีนีก็พูดตรงไปตรงมา ว่าเขา เลือกข้าง คืออยู่ข้างคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความยุติธรรมจากนโยบายของรัฐ แล้วก็ต้องการการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูป แน่นอนว่าด้วยการวางตำแหน่งตัวเองแบบนี้ ก็ย่อมจะมีปัญหากับรัฐบาล กับกลุ่มที่จะเสียประโยชน์ แต่คนก็ให้ความเคารพมาเลเชียกีนีที่เขาเลือกจะ ไม่เป็นกลาง แบบนี้ ไม่ต้องมาแอ๊บ

กรณีมาเลเชียกีนี ทำให้เราเห็นว่า สื่อต้องมีพันธกิจ มีฟังก์ชั่น มี contribution อะไรกับสังคม กับสาธารณะ ไม่งั้นก็ไม่รู้ว่าจะมีสื่อไปทำไม และสาธารณะจะให้ สถานะพิเศษ กับสื่อไปทำไม

วิชานี้ได้อ่านงานสนุก ๆ เยอะดี โดยเฉพาะแนว cultural politics

btw ใครสนใจจะสมัคร
ปริญญาโทและปริญญาเอก สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ที่ท่าพระจันทร์ เขายังรับสมัครอยู่จนถึง 29 ธันวา นี้นะ

สื่อและขบวนการทางสังคมในมาเลเซีย: กรณีศึกษา หนังสือพิมพ์มาเลเซียกีนี
(ถ้าอ่านแล้วฟอนต์มันโย้ ๆ ไปดาวน์โหลดฟอนต์ TH Sarabun PSK มาติดตั้งก่อนนะครับ)

รายงานวิชา ขบวนการทางสังคม ภาคการศึกษา 1/2552 หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อาจารย์ผู้สอน: นลินี ตันธุวนิตย์) – 19 ต.ค. 2552 (ปรับปรุงเล็กน้อยเพื่อเผยแพร่ 25 ธ.ค. 2553)

technorati tags: , , , ,


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.