Tag: social movement

  • “เสื้อแดง” ในฐานะ “รุ่นทางการเมือง”

    “เสื้อแดง” ในฐานะ “รุ่นทางการเมือง”

    “เสื้อแดง” ตอนนี้อาจไม่ใช่ “ขบวนการทางการเมือง” แล้ว มันไม่มีขบวนอะไรที่เรามองเห็นชัดในตอนนี้ แต่มันยังเป็น “ชนชั้นทางการเมือง” (political class – โดยเฉพาะเมื่อถูกคนอื่นมองมา ในเซนส์ “อี๋ ไอ้พวกเสื้อแดง”) หรือ “กลุ่มความสำนึกรู้ทางการเมือง” แบบนึงอยู่ ในลักษณะที่คนยังระบุได้อยู่ว่า “ฉันเป็นคนเสื้อแดง”

  • “ออกไป! ออกไป!” เมื่อคนซานฟราน ชัตดาวน์รถรับส่งพนักงานของกูเกิล

    เดินไปไหนย่อมมีรอยเท้า แต่บริษัทพวกนี้ตัวใหญ่ไปหน่อย ตีนเลยหนัก แถม “เผลอ” ไปเดินบนหัวชาวบ้านด้วย

  • อุปลักษณ์ในอินเทอร์เน็ตศึกษา

    รายงานชิ้นนี้ เสนอการพิจารณาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (conceptual metaphor) ต่าง ๆ ที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เห็นว่า “อินเทอร์เน็ต” ที่อาจดูเหมือนเป็นวัตถุชิ้นเดียวชนิดเดียวนั้น สามารถเป็นวัตถุศึกษาที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม แวดวง (habitus) หรือขอบเขตความรู้ (domain) ได้อย่างไร รวมถึงอุปลักษณ์แต่ละแบบซึ่งกำหนดวัตถุศึกษานั้น ได้ซ่อนหรือปกปิดประเด็นอะไรไปบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา และทำไมจึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่เราจะต้องตระหนักถึงข้อจำกัดของอุปลักษณ์ที่ใช้เข้าใจหรือสร้างวัตถุศึกษาหนึ่ง ๆ ขึ้นมา รายงานชิ้นนี้เสนอว่า เช่นเดียวกับอุปลักษณ์อื่น ๆ อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตนั้น ได้สร้างกรอบความเข้าใจต่อประเด็นอินเทอร์เน็ต และลักษณะทางการเมืองในการกำหนดความเข้าใจนี้ ได้ส่งผลต่อนโยบายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต.

  • แห่ศพ — ประชานิยมที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

    แห่ศพ — ประชานิยมที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

    บนถนนมีขบวนของนักศึกษาและชาวเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พวกเขาโห่ร้อง ตะโกนคำปฏิวัติ และแบกโลงศพของชายหนุ่ม ที่พวกเขาก็ไม่รู้จัก หรือคนที่คิดว่ารู้จักก็อาจเข้าใจผิด-จำเขาสลับกับชายอีกคนที่ตายไปก่อนหน้านี้นานแล้ว. แต่ใครจะอยู่ในโลงก็ไม่สำคัญ ที่สำคัญคือ ขบวนนั้นใหญ่เสียจนทุกคนในเมืองหลวงของรัสเซียต้องสนใจ แม้แต่ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สองเองด้วย.

  • สื่อและขบวนการทางสังคมในมาเลเซีย: กรณีศึกษา หนังสือพิมพ์ Malaysiakini

    รายงานจากวิชา ขบวนการทางสังคม เรียนเมื่อปีที่แล้ว เทอมนั้นเป็นเทอมที่หนักที่สุด เพราะเทอมก่อนหน้านั้นเกรดห่วยจนติดโปร ก็เลยต้องลงทะเบียนเรียนมันซะ 4 วิชาเลย เพื่อดันเกรด แล้วต้องได้ทุกวิชา B+ อะไรแบบนี้ ถึงจะรอด สุดท้ายก็รอด แบบหืด ๆ (หลุดได้ B มาตัวนึง แต่รอดเพราะได้ A มาช่วยอีกตัว) เทอมนั้นเป็นเทอมที่สนุกดี ได้ไปลงสนามเล็ก ๆ น้อย ๆ (จากวิชานี้และอีกวิชาคือ วัฒนธรรมเมือง) ได้พบกับคนที่ต่อสู้มาทั้งชีวิต และบอกว่า เอ็นจีโอแค่สนับสนุนก็พอ ชาวบ้านจะนำเอง (แปลว่า เอ็นจีโออย่าเสือกเยอะ) เลือกมาเลเชียกีนี เพราะว่ามันน่าสนใจดี ในฐานะที่ตัวมันเองก็เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่ต่อเนื่องมาจากขบวนการเคลื่อนไหว Reformasi (ปฏิรูป) คือไม่ต้องมาบอกว่าสื่อต้องเป็นกลาง สื่ออย่าเลือกข้าง มาเลเชียกีนีก็พูดตรงไปตรงมา ว่าเขา เลือกข้าง คืออยู่ข้างคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความยุติธรรมจากนโยบายของรัฐ แล้วก็ต้องการการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูป แน่นอนว่าด้วยการวางตำแหน่งตัวเองแบบนี้ ก็ย่อมจะมีปัญหากับรัฐบาล กับกลุ่มที่จะเสียประโยชน์ แต่คนก็ให้ความเคารพมาเลเชียกีนีที่เขาเลือกจะ ไม่เป็นกลาง แบบนี้…

  • ยังไงก็ตาม “รถติดเป็นเรื่องถูก-ถูก” (อีกที)

    เมื่อมีนาคม 2549 ผมเขียนบล็อกหนึ่งไว้: รถติดเป็นเรื่องถูก-ถูก สนับสนุนการชุมนุม-ปิดถนน ซึ่งตอนนั้นเป็นการชุมนุมของพันธมิตร ขับไล่นายกทักษิณ ก่อนรัฐประหาร วันนี้ผมก็ยังคิดเหมือนเดิม คือยอมรับสิทธิในการชุมนุมและไม่คิดว่ารถติดเป็นเรื่องใหญ่ (และจริง ๆ ช่วงสี่ห้าวันนี้มันก็ไม่ได้ติดเสียเท่าไหร่ด้วย) ดังนี้แล้ว ผมย่อมต้องสนับสนุนการชุมนุมของคนเสื้อแดง วันนี้ @kengggg ถอดเสียงจานพิดเด็กแนว พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (มิถุนา 2551) เรื่องชุมนุม-รถติด และทำไมต้องมากรุงเทพ ไปที่อื่นไม่ได้หรือไง: เหตุผลที่มาประท้วงถามว่ารถติดไหม — รถติด — สิ่งแรกที่เราต้องเข้าใจคือต้องเข้าใจเขาก่อน คืออย่าเพิ่งคิดว่าเราดี เราต้องเข้าใจเข้าก่อนว่าเขามองเราอย่างนั้นจริงๆ และมันการรถติดจริงไหม — จริง — และเรามาทำไม — เรามาทำให้รถติด — ใช่ — แต่มันไม่ได้จบแค่นั้น ผมคิดว่าสิ่งสำคัญของเราคือว่า เราต้อง — ภาษาอังกฤษเขาเรียก confront — คือว่าเราต้องเผชิญหน้ากับอคติที่เขามีกับเรา เราตอบเขาบนอคติอันนั้นเลย ไม่ใช่ว่าไปทำเรื่องแง่งามอื่นๆ ในม็อบ ผมมาทำให้คุณรถติด —…

  • [1-pager] What’s so new about new social movements? โดย David Plotke (1990)

    [อัปเดต 2009.12.03: เพิ่มลิงก์ บ่อนอก-หินกรูด] จากสรุปอ่านเอกสารเทอมที่แล้ว คาบที่เกี่ยวกับ ขบวนการทางสังคมใหม่ (new social movements) Plotke, David. 1990. What’s so new about new social movements? Socialist Review. 20:91-102. บทความนี้ลองสำรวจข้ออ้าง ความใหม่ ต่าง ๆ ของ ขบวนการทางสังคมใหม่ ว่ามันมีอะไรใหม่จริงหรือ, และถ้าใหม่จริง แล้วมันยังใหม่อยู่ไหมสำหรับตอนนี้ และในบริบทไหน ที่มันจะไม่ใหม่อีกต่อไป. สิ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจสำหรับบทความชิ้นนี้ คือการพูดถึง กระบวนการแปะป้ายหรือตราหน้า (stigmatize) แนวคิดที่ผู้แปะป้ายไม่เห็นด้วย และ การสร้างคู่ตรงข้ามแบบสุดขั้ว (polarization และ radicalization) เพื่อบังคับให้สังคม[ต้อง]เลือก[อย่างเต็มใจ]ในทางที่ผู้กำหนดขั้วได้ออกแบบเอาไว้. —- บทความชิ้นนี้ David Plotke ผู้เขียน สำรวจข้อถกเถียงหลักในวาทกรรมขบวนการทางสังคมใหม่ ในบริบทสังคมการเมืองสหรัฐอเมริกาช่วง 1960s-1980s และเสนอว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับขบวนการทางสังคมใหม่นั้นให้ราคา…

  • แถลงการณ์จากเครือข่ายคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้า ไอ พี พี (26 ก.ย. 2552) #IPP #powerplant

    [ทดลองจัดเก็บเอกสาร] แถลงการณ์จากเครือข่ายคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้า ไอ พี พี ถึง ฯพณฯนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน และพี่น้องประชาชนชาวไทย วันที่ 26 กันยายน 2552 เครือข่ายติดตามผลกระทบโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินตำบลเขาหินซ้อน (คตฟ.) เครือข่ายพลังงานสีเขียวอำเภอสนามชัยเขต (คพข.) กลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอสนามชัยเขต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจังหวัดฉะเชิงเทรา เครือข่ายผู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้า ไอ พี พี ขอประณามการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม คุกคามและลิดลอนสิทธิเสรีภาพของประชาชาชนในการชุมนุมเรียกร้องโดยสันติวิธี ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและฯพณฯนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ เวชชาชีวะต้องรับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหา คืนอิสระภาพและความเป็นธรรมให้แก่แกนนำและกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรีอย่างจริงจังโดยเร่งด่วน หยุดมองประชาชนเป็นศัตรู เคารพสิทธิของประชาชน ประชาชนต้องมีส่วนร่วม ดาวน์โหลดแถลงการณ์: PDF | OpenDocument technorati tags: Nong Saeng, Saraburi, protest, combined cycle, power plant, human rights, environment, Thailand

  • October 14th student uprising omitted from Museum Siam

    ไม่มี ‘14 ตุลา’ ใน มิวเซียมสยาม รายงานพิเศษ : เที่ยว ‘มิวเซียมสยาม’ เรียนรู้ สยาม อย่างสนุก แต่เรียนรู้ไทยยังไม่สนาน พิพิธภัณฑ์ ข่าว แบบเรียน คำบอกเล่า เขียนประวัติศาสตร์ ลบประวัติศาสตร์ แก้ประวัติศาสตร์ technorati tags: history, October 14, museum

  • The People’s Agenda

    สรุปบางส่วนจาก คำประกาศสมัชชาสังคมไทย “โลกที่เท่าเทียม ประชาชนสร้างได้” 23 ตุลาคม 2549 ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เพื่อบรรลุเจตนารมณ์ เราจะ อยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรม ความเท่าเทียม สิทธิเสมอภาค สันติภาพ ไม่รอคอย/หวังพึ่งใคร แต่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทุกรูปแบบด้วยตัวเอง ยึดหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน การปฏิรูปการเมืองในครั้งนี้ จะต้อง ปฏิรูปการใช้อำนาจรัฐ เคารพ สิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีมนุษย์ ไม่แยก เพศ พิการ ชาติพันธุ์ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั่วถึง เท่าเทียม ให้ประชาชนสามารถกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง ในทุกด้าน ให้ภาคประชาชนตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐได้อย่างเข้มแข็ง สร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ กระจายโอกาสการเข้าถึงทรัพยากร การปฏิรูปมีสาระสำคัญดังนี้ (วาระประชาชน) ประชาชนร่วมการเมืองโดยตรง มีสิทธิกำหนดนโยบายสาธารณะทุกขั้นตอน การตรวจสอบอำนาจรัฐ ในกรณีทุจริต ใช้อำนาจในทางที่ผิด ละเมิดสิทธิประชาชน ต้องไม่มีอายุความ ระบุในรัฐธรรมนูญว่า ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการ ปฏิรูปสื่อ ส่งเสริมให้เกิดสื่อชุมชนและสื่อสาธารณะ อิสระปลอดแทรกแซง…