(เงื่อนไขสู่วัฒนธรรมเสรี)
ขอคิดต่อจากพี่เทพ
…
เป็นไปได้ว่า เหตุหนึ่งที่ free culture หรือ วัฒนธรรมเสรี นั้นยังไม่แพร่หลายหรือไปไม่ถึงไหนในบางสังคม ก็เพราะ วัฒนธรรมในสังคมนั้น ๆ ไปกันไม่ได้กับแนวคิด เสรี
เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมเสรี
…
เสรี = ไม่ต้องขออนุญาต
คุณสมบัติหลักของ สัญญาอนุญาตแบบเปิด (open licenses) ก็คือ การผู้นำไปใช้ไม่ต้องขออนุญาตผู้ถือครองลิขสิทธิ์
เพียงผู้นำไปใช้ ตกลงยินดีที่จะทำตามเงื่อนไข ที่ทางผู้ถือครองลิขสิทธิ์ประกาศเอาไว้แล้ว-อย่างชัดแจ้ง-ต่อสาธารณะ เขาก็มีสิทธิจะใช้งานนั้นในทันที
สิ่งนี้แปลว่า ถ้าคุณทำตามกติกาเดียวกัน ข้อตกลงเดียวกัน คุณก็จะได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน
แต่สิ่งง่าย ๆ แบบนั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องลำบากในสังคมหลายมาตรฐาน ที่กติกาเดียวกันก็มักจะให้ผลกับคนกลุ่มต่าง ๆ ต่างกัน
…
เป็นไปได้เช่นกันว่า เหตุหนึ่งที่วัฒนธรรมเสรี นั้นถูกเข้าใจเพี้ยน ๆ ไป เช่นว่า เสรี ก็คือ ให้ใช้ฟรี แค่ขออนุญาตกันก็พอ
นั้นก็เพราะ ความมี ความเป็น authority เป็นเรื่องสำคัญในสังคมนั้น หรือ สังคมนั้นโน้มเอียงไปทางสังคมอุปถัมภ์
ความจำเป็นต้องอนุญาต นั้นแปลว่า จะยังต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด มีอำนาจมากกว่าอีกฝ่ายเสมอ นอกจากนี้มันยังมีแง่มุมของการรวมศูนย์ (centralized) สู่ผู้ให้อนุญาต
ผู้ให้อนุญาตนี้เอง ที่จะเป็นผู้มีสิทธิ์ขาดตัดสินว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ — ซึ่งสิ่งนี้เช่นกัน ก็ไปกันไม่ได้กับเรื่อง ถ้าทำตามกติกาเดียวกัน ก็ควรรับผลเดียวกันเสมอกัน
เพราะความมี ความเป็น authority ที่ใหญ่กว่ากติกานั้น พูดง่าย ๆ ก็คือสิ่งที่เรียกว่า ฉันคือกฎ
อยากจะอนุญาตคนนี้ แต่ไม่อนุญาตคนนั้น มีอะไรไหม ?
…
เสรี != (ไม่เท่ากับ) ไม่ต้องเสียเงิน
ดังที่ได้กล่าวไป การที่ผู้ใช้นำงานในสัญญาอนุญาตแบบเปิดไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ก็เพราะเขาได้ทำตามกติกาที่ทั้งตัวเขาเองและผู้ถือครองลิขสิทธิ์ต่างก็พอใจ
สิ่งนี้คือการแลกเปลี่ยนบนฐานของความพอใจและสมัครใจของทั้งสองฝ่าย — เราอาจเรียกสิ่งนี้ว่าความเกื้อกูลระหว่างกันได้ แต่ที่แน่นอนคือ มันไม่ใช่ความเมตตา ไม่ใช่การทำบุญ ไม่ใช่การให้ทาน และไม่ใช่เรื่องบุญคุณ
(ทัศนคติของ องค์กรที่ บริจาค
โค้ดเป็นโอเพนซอร์สแก่สาธารณะและให้ชุมชนมาร่วมทำงานด้วย กับ องค์กรที่ ส่งต่อ
โค้ดเป็นโอเพนซอร์สแก่สาธารณะและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการทำงาน จึงเป็นสองทัศนคติที่แตกต่างกันอย่างมาก)
ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้นำงานไปใช้และผู้ให้ใช้งาน ในวัฒนธรรมเสรี จึงเป็นไปในลักษณะเท่าเทียมเสมอกัน นั่นคือ ต่างก็เป็น peer กัน แลกเปลี่ยนกันในฐานะความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน
ซึ่งความเป็น peer ที่เสมอกันนี้เอง ที่ก็ไปกันไม่ได้อีก กับเรื่อง authority หรือความสัมพันธ์แบบมีระดับ (client/server, master/slave, …)
ความต้องการสร้างบุญคุณบารมี และ อำนาจในการอนุญาต (อย่างรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) จึงอาจจะเป็นอีกเหตุ ที่แนวคิดเสรี ใน วัฒนธรรมเสรี อาจจะไปกันไม่ได้กับ สังคมอุปถัมภ์ และ สังคมลำดับชั้น
…
เช่นนี้แล้ว ในทางหนึ่ง ขบวนการวัฒนธรรมเสรี (free culture movement) จึงอาจจะจำเป็นอยู่เอง ที่นอกเหนือจากความพยายามในการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาให้มีความเป็นธรรมเสมอภาคขึ้นกว่าเดิมหรือสร้างทางเลือกใหม่ เช่น เนื้อหาแบบเปิดต่าง ๆ แล้ว ก็อาจต้องเข้าร่วมกับการปฏิรูปสังคมโดยรวม เพื่อผลักดันสภาพของสังคม ให้เอื้อกับ แนวคิด เสรี
ด้วย
เพราะตัววัฒนธรรมเสรีนั้นไม่ได้อยู่อย่างลอย ๆ หากสัมพันธ์โต้ตอบต่อรองกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ในสังคม การเกิดและดำรงอยู่ของวัฒนธรรมเสรีจึงจำเป็นต้องมีสภาพที่เอื้อให้มันทำเช่นนั้นได้
…
โลกอีกแบบนั้นเป็นไปได้ แค่เปิดฝา แล้วก็แฮ็กมัน
technorati tags:
free culture,
cultural politics,
open society,
permission culture
4 responses to “The Condition of Free Culture”
คิดอะไรมากมายนักเสรี ก็คือ เสรีอนุญาต ก็คือ อนุญาตมารยาท ก็คือ ขออนุญาตมารยาทดี ก็คือ เคยขอแล้วก็ต้องขออีกก็มันของๆเขาถ้าเป็นของๆคุณ คุณก็มีเสรีในตัวเองเสรีในจินตนาการ คิดฝันอะไรก็คิดไปสิเรื่องเสรีนี่ เอาไปเขียนตำราผมว่า 10 เล่มก็ไม่จบนิยามยังไงก็ไม่ครบเขียนไป400มาตราก็ยังไม่ครบถ้าคนมันยังหาทางเลี่ยงหลบ
นี่มันย้อนรอย ปัญหาของชื่อ free software จนต้องมี open source นิ
anonymous: ทุกอย่างเป็นเรื่องสมัครใจครับเพียงแต่ถ้าไม่ได้เป็นอะไร ก็ไม่ควรจะเคลมว่าเป็นสิ่งนั้นmk: ยังไงอ่ะ ?พี่เทพเขียนต่อประเด็นนี้ Free Cultureพร้อมข้อสังเกตน่าสนใจหลายประเด็นพร้อมแนะนำงานแปลเรื่อง "ลงหลักปัญญาภูมิ"
มาเสริม @mkfree software / open source แยกเป็นสองขั้ว RMS เป็นขั้ว free software ส่วน Linus เป็นขั้ว open source