Tag: free culture

  • Francis Ford Coppola: "Who Says Artists Have to Make Money?"

    ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา ผู้กำกับ Godfather ให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ 99%, ถาม ใครบอกว่าศิลปินต้องทำงานเพื่อเงิน? (สัมภาษณ์โดย @Aristonian) คุณต้องจำไว้ว่ามันแค่ไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง, ถ้ามันมากขนาดนั้น, ที่ศิลปินทำงานด้วยเงิน. ศิลปินไม่เคยได้เงิน. ศิลปินมีผู้อุปถัมภ์, ไม่เจ้าเมือง ก็ดยุคแห่งไวมาร์ หรือที่ไหนสักแห่ง, หรือศาสนจักร, หรือโป๊ป. หรือไม่เขาก็มีงานอีกงานหนึ่ง. ผมมีงานอีกงาน. ผมทำหนัง. ไม่มีใครบอกผมให้ทำอะไร. แต่ผมทำเงินจากอุตสาหกรรมไวน์. คุณทำงานอีกงาน แล้วตื่นตีห้าเพื่อเขียนบทของคุณ. ความคิดที่ว่าเมทัลลิกาหรือนักร้องวงร็อคแอนด์โรลอะไรก็ตามจะรวย, มันไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว. เพราะ, ในขณะที่เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่, ศิลปะอาจจะเป็นของฟรี. นักเรียนพวกนั้นอาจจะถูกต้องก็ได้. พวกเขาควรจะโหลดเพลงและหนังได้. ผมจะถูกยิงที่พูดแบบนี้. แต่ใครบอกว่าเราต้องจ่ายเงินเพื่อศิลปะ? และดังนั้น, ใครบอกว่าศิลปินต้องหาเงิน? ในสมัยก่อน, 200 ปีที่แล้ว, ถ้าคุณเป็นนักแต่งเพลง, ทางเดียวที่คุณจะทำเงินได้คือเดินทางกับคณะออเคสตรา และเป็นผู้ควบคุมวง, เพราะนั่นจะทำให้คุณได้รับเงินในฐานะนักดนตรี. มันไม่มีการบันทึกเสียง. มันไม่มีค่าลิขสิทธิ์. ดังนั้นผมจะพูดว่า พยายามแยกความคิดเรื่องภาพยนตร์ออกจากความคิดเรื่องการหาเงินและหาเลี้ยงชีพ. เพราะมันมีทางอื่นอยู่. จาก 99% Francis Ford…

  • bangspace – a Bangkok hackerspace

    It’s already three months, since Bangkok’s hackerspace – “bangspace” opens its doors to hacker community in Bangkok. It’s a slow start, but we getting more and more people who show interest of joining the space. Everybody are welcome to join the space, membership is also welcome. The hackerspace is just on Ekamai 2, walking distant…

  • repost: Theppitak on "Opensource Mindset"

    พบสิ่งบันเทิงใจจาก Planet TLWG พี่เทพ โพสต์เล่าเรื่องบทความ การคิดแบบโอเพนซอร์ส (Open Source Thinking) ใน วารสาร OpenSource2Day ฉบับที่ 13 และย้อนอ้างถึงโพสต์ที่พี่เทพเคยเขียนไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมโอเพ่นซอร์ส อาจารย์ [อ.ธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์ แห่ง ม.บูรพา] ได้เปรียบเทียบพฤติกรรมของนิสิตนักศึกษาบางกลุ่มที่ไม่ค่อยลงแรงอะไรกับวิชาเรียน กับ mindset ของ “ผู้ที่มีความเชื่อในโอเพนซอร์ส” ว่าแตกต่างกันปานใด ซึ่งอาจารย์ได้สาธยาย mindset ดังกล่าวไว้ได้ชัดเจนครบถ้วน เลยขอยกมากล่าวถึงในที่นี้บางส่วน ตัวอย่างเช่น: ผู้ที่มีความเชื่อในโอเพนซอร์ส จะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แม้จะมีซอฟต์แวร์ที่ดีกว่าให้ใช้ เพราะเขาต้องการซอร์สโค้ด (อันที่จริง อาจจะพูดได้อีกอย่างว่า ต้องการเสรีภาพ สำหรับผม ผมใช้คำว่า “ใช้แล้วสบายใจ” เพราะการมีซอร์สโค้ดก็หมายความว่า ผมจะสามารถดัดแปลงซ่อมแซมอะไรเองได้ ซอฟต์แวร์เป็นของผมอย่างเต็มที่) ผู้ที่มีความเชื่อในโอเพนซอร์ส จะมีปฏิกิริยาเชิงรุกเมื่อพบปัญหา โดยจะพยายามค้นหาวิธีแก้จากอินเทอร์เน็ต อ่านเอกสาร ทดลองทำ หรือกระทั่งนั่งดีบั๊ก แต่ก็ไม่ได้ทำอย่างนี้กับทุกเรื่อง จะทำเฉพาะในโปรแกรมที่สนใจ…

  • The Condition of Free Culture

    (เงื่อนไขสู่วัฒนธรรมเสรี) ขอคิดต่อจากพี่เทพ … เป็นไปได้ว่า เหตุหนึ่งที่ free culture หรือ วัฒนธรรมเสรี นั้นยังไม่แพร่หลายหรือไปไม่ถึงไหนในบางสังคม ก็เพราะ วัฒนธรรมในสังคมนั้น ๆ ไปกันไม่ได้กับแนวคิด เสรี เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมเสรี … เสรี = ไม่ต้องขออนุญาต คุณสมบัติหลักของ สัญญาอนุญาตแบบเปิด (open licenses) ก็คือ การผู้นำไปใช้ไม่ต้องขออนุญาตผู้ถือครองลิขสิทธิ์ เพียงผู้นำไปใช้ ตกลงยินดีที่จะทำตามเงื่อนไข ที่ทางผู้ถือครองลิขสิทธิ์ประกาศเอาไว้แล้ว-อย่างชัดแจ้ง-ต่อสาธารณะ เขาก็มีสิทธิจะใช้งานนั้นในทันที สิ่งนี้แปลว่า ถ้าคุณทำตามกติกาเดียวกัน ข้อตกลงเดียวกัน คุณก็จะได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน แต่สิ่งง่าย ๆ แบบนั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องลำบากในสังคมหลายมาตรฐาน ที่กติกาเดียวกันก็มักจะให้ผลกับคนกลุ่มต่าง ๆ ต่างกัน … เป็นไปได้เช่นกันว่า เหตุหนึ่งที่วัฒนธรรมเสรี นั้นถูกเข้าใจเพี้ยน ๆ ไป เช่นว่า เสรี ก็คือ ให้ใช้ฟรี แค่ขออนุญาตกันก็พอ นั้นก็เพราะ…

  • [2 Apr] Official launch Creative Commons Thailand Licenses @ BACC

    โครงการซีซีไทย เปิดตัว สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์สำหรับประเทศไทย พฤหัส 2 เมษายน 2552 13:00-16:00 น. @ ห้องประชุม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (แยกปทุมวัน ตรงข้าม MBK) ขอเชิญทุกท่านที่สนใจในการเผยแพร่งานให้สาธารณะได้ใช้งานและพัฒนาต่อยอด ร่วมหรือส่งตัวแทนร่วมงานเปิดตัวสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์สำหรับประเทศไทย ไม่ว่าคุณจะเป็น บล็อกเกอร์ นักเขียน นักถ่ายภาพ นักสร้างหนัง นักแต่งเพลง นักดนตรี หน่วยงานที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ องค์กรสาธารณประโยชน์ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ คลังข้อมูล เว็บไซต์เพื่อการศึกษา ผู้ให้บริการเนื้อหาพื้นที่บล็อก เว็บบอร์ด ฯลฯ รู้จักสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบต่าง ๆ แนวทางการเลือกใช้สัญญาอนุญาตแต่ละแบบ พร้อมตัวอย่าง วิธีการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์กับงานแต่ละประเภท เช่น งานเขียน บล็อก ดนตรี วีดิโอ งานรีมิกซ์ งานวิจัย สื่อการศึกษา ฯลฯ รู้จักเพื่อน ๆ และหน่วยงานที่สนใจครีเอทีฟคอมมอนส์และแนวคิดวัฒนธรรมเสรี พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นวัฒนธรรมเสรีและการเผยแพร่เนื้อหาแบบเปิด (open…

  • [29 Mar] TNN’s brown bag meeting ชิมไปบ่นไป

    เครือข่ายพลเมืองเน็ต นัดคุยไปกินไป ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุม GM Hall ศศนิเวศ (ตรงข้ามเรือนไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ด้านข้าง MBK) อาทิตย์ 29 มีนาคม 2552 เปิดห้อง 12:30 น. เป็นต้นไป พบปะในแบบ brown bag meeting ในมื้อเที่ยงวันอาทิตย์ ทุกคนนำของกินที่ชอบติดไม้ติดมือกันมา เราจะคุยกันไปกินกันไป มีเครื่องดื่มง่าย ๆ บริการ หัวข้อกว้าง ๆ ที่ตั้งไว้คือ “เสรีภาพในโลกออนไลน์ ภายใต้ความย้อนแย้งของแนวคิดวัฒนธรรมเสรี vs กรอบเก่าๆของสังคมไทย อะไรคือสิ่งที่เราควรเรียนรู้ ยอมรับ และปรับตัว” โดยจะมีหลาย ๆ คนมาคุยกันในเรื่อง “ทำไมเราต้องสนใจเสรีภาพของโลกออนไลน์” อะไรคือความหมายของ วัฒนธรรมเสรี (free culture) และ ความเป็น พลเมือง ‘เน็ต’(netizen) สื่อออนไลน์มีความต่างจากสื่อมวลชน ชุมชนเน็ตคือวัฒนธรรมใหม่ที่ต้องเปิดกว้างแต่ใช่ว่าจะไร้ขอบเขต…

  • ReadCamp logo and Free Culture movement

    ในที่สุดก็มีคนวงกว้างออกไปทักเรื่องโลโก้รี้ดแคมป์ ในประเด็นลิขสิทธิ์ ที่เชื่อมถึงเรื่องคอมมอนส์ .. เย่ 🙂 ตอบในฐานะผู้ออกแบบโลโก้นะครับ เรื่องลิขสิทธิ์นี้มีคนถามกันมาตลอด ตั้งแต่โลโก้ยังเห็นกันอยู่แค่สองคน ระหว่างการออกแบบ พอเมลไปขอความเห็นคนอื่น ๆ ว่าพอใช้ได้ไหม ก็มีทักเรื่องลิขสิทธิ์เช่นกัน แต่ผมก็ยังยืนจะเอาอันนี้แหละ จะมีปรับก็แค่เรื่องช่องไฟนิด ๆ หน่อย ๆ แต่แนวคิดหลักคงเดิม ไม่ได้เปลี่ยน พอเผยแพร่ออกไป ก็มีคนทักอีกเหมือนเคย จนในวันงานก็มีพี่คนนึงจากกองทุนไทยมาทัก และชวนคุยเรื่องนี้กัน ก็คุยกันอยู่ได้น่าจะครึ่งชั่วโมง ซึ่งที่คุยไปก็คล้าย ๆ กับที่เขียนลงในบล็อกนี้ครับ เดี๋ยวอ่านกันด้านล่าง พี่เขาเสนอให้เปิดเซสชันเรื่องนี้ด้วย (เอาป้ายบอกทางที่มีโลโก้รี้ดแคมป์ มาวงที่โลโก้ เขียนว่า “Is this freeware?” แปะที่ผนังเสนอหัวข้อ) แต่สุดท้ายได้คะแนนโหวตไม่ถึง เลยไม่ได้ถูกจัดลงตาราง ผมเองก็อยากจะคุยเหมือนกัน ตอนหลังเลยเอาไปแปะไว้ห้องสองต่อจากหัวข้อสุดท้ายในตาราง แต่ก็วิ่งไปวิ่งมา จนงานเลิกพอดี เป็นอันว่าไม่ได้คุย วันอาทิตย์วันรุ่งขึ้น ตื่นมา ก็เลยจะเขียนบล็อกแทน เปิดคอนโทรลพาเนลของเวิร์ดเพรส ก็เห็นลิงก์เข้ามาจากบล็อกคุณ mnop พอดี ในเมลกลุ่มรี้ดแคมป์ Ford ก็แจ้งมาว่ามีคนทักนะ…

  • ReadCamp started (some how), call for SELF-organization 😉

    คอนเซปต์ของ ReadCamp หรือ “กางมุ้งอ่าน” ก็ยังตามที่ทวีตคุย ๆ กัน และที่โพสต์ถามลงใน Culture Lab คือจะเป็นงานลักษณะ unconference ทำนอง BarCamp ที่ชวนผู้ร่วมงานมาเสนอเรื่องการ “อ่าน” แล้วก็แลกเปลี่ยนกัน อ่าน หนังสือ. อ่าน หนัง. อ่าน เพลง. อ่าน โปสเตอร์. อ่าน โฆษณา. อ่าน เสื้อยืด. อ่าน พฤติกรรม. อ่าน trend. อ่าน วัฒนธรรม. อ่าน ปุ่มบนไมโครเวฟ user interface. อ่าน ตึก สถาปัตยกรรม. อ่าน การ์ตูน. อ่าน ภาพวาด งานศิลปะ. … … นั่นคือ เป็น “อ่าน” ในความหมายที่กว้างที่สุดนั่นเอง. ทั้งการอ่านตามตัวบท ตีความ…

  • What is an alternative media ?

    บางทีเราอาจจะต้องดีใจในบางขณะ ที่เราอยู่ในสถานะถูกควบคุมคุกคามเช่นนี้ เพราะนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า เรายังเป็นสื่อทางเลือกอยู่ และไม่ได้ลืมความเป็นตัวตนของเราไป บางทีการเป็นสื่อทางเลือก อาจจะหมายถึง การทำให้ตัวเองอยู่ในฐานะหมิ่นเหม่ ท้าทาย “เป็นตัวปัญหากับความคิดกระแสหลัก” อยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ก็เป็นได้ เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าย ไม่ได้เป็นสิ่งจำเพาะใด ๆ เป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นศาสนจักร สถาบัน วิทยาศาสตร์ ท้องถิ่น หรือโลกาภิวัฒน์ แต่สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าท้าย ก็คือสิ่งที่เป็น “ปกติ” “ธรรมชาติ” ในสังคม ในวันที่ศาสนจักรมีอำนาจเหนือสังคม สื่อทางเลือกคือเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้กล้าตายที่ประกาศว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างโลก มนุษย์กำหนดชะตากรรมตนเองได้ พวกเขาเป็นตัวปัญหาของสังคม หลายคนถูกตราหน้าว่าเป็นพวกนอกศาสนานอกรีต และถูกเผาทั้งเป็น เวลาผ่านไป ในวันหนึ่ง วันที่วิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นวาทกรรมที่มีอำนาจเหนือสังคม สิ่งที่สื่อทางเลือกเสนอก็จะไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกต่อไป แต่เป็นคุณค่าที่วิทยาศาสตร์ได้กดทับมัน ในชื่อที่ผู้คนเหล่านี้สร้างคุณค่าใหม่ให้มันอีกครั้ง ในชื่อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” และในวันที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ได้กลายเป็นวาทกรรมหลักในสังคม ก็เป็นหน้าที่ของสื่อทางเลือกนี้แหละ ที่จะท้าทายภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ด้วยชุดวาทกรรมท้าทายใหม่ ๆ ทั้งหมดนี้เพราะอะไร ก็เพราะภารกิจของสื่อทางเลือกนั้น ไม่ใช่อะไรมากไปกว่า การเสนอทางเลือกให้กับสังคม “นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้าม นักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน”…

  • Two Bits (book)

    หนังสือ Two Bits: The Cultural Significance of Free Software โดย Christopher M. Kelty อาจารย์มานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยไรซ์ อ่านฟรี (PDF – ครีเอทีฟคอมมอนส์ by-nc-sa) คำบรรยายสรรพคุณ จากใบปลิว: Drawing on ethnographic research that took him from an Internet healthcare start-up company in Boston to media labs in Berlin to young entrepreneurs in Bangalore, Kelty describes the technologies and the moral vision that…