The 7th Annual Conference of Anthropology:
“Rethinking Cultural Studies”
26-28 March 2008 at Sirindhorn Anthopology Centre, Bangkok, Thailand
การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7
“ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา”
26-28 มีนาคม 2551 ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพ
การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 7 จะเน้นที่การศึกษาศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่กว้างขวางมาก เนื่องจากคำว่า วัฒนธรรม เป็นคำและมโนทัศน์ที่ใช้กันทั้งในวงการวิชาการ ทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในวงราชการ สื่อ และในชีวิตประจำวัน ทำให้มีปริมณฑลของความหมายที่หลากหลาย ซ้อนทับกันบ้าง ขัดแย้งกันบ้าง และปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
ในการประชุมครั้งนี้ เราจะเริ่มด้วยสิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมศึกษา” ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นหลักสูตรที่เปิดกันอย่างครึกโครมในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เรียกได้ว่าเป็น สาขาใหม่ ที่ “ดึงดูดลูกค้า” ได้อย่างกว้างขวาง
ดูกำหนดการแล้ว ที่เล็ง ๆ ไว้ก็มี: ความเข้าใจ “วัฒนธรรม” ในงานวิจัยสังคมไทย (อานันท์ กาญจนพันธุ์), วัฒนธรรมศึกษาฉบับไทย ๆ เป็นวัฒนธรรมศึกษา หรือการศึกษาวัฒนธรรม (ฐิรวุฒิ เสนาคำ), เมื่อมานุษยวิทยาพบกับวัฒนธรรมศึกษา : สัมพันธภาพที่น่ากระวนกระวาย (ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี), สถานภาพองค์ความรู้สถาปัตยกรรมไทย การสำรวจเชิงวิพากษ์ (ชาตรี ประกิตนนทการ — คนนี้ผมชอบ), มองประวัติศาสตร์ไทยในเชิงวัฒนธรรม (ธีระ นุชเปี่ยม), วัฒนธรรมข้ามพรมแดน (รัตนา โตสกุล), วัฒนธรรมศึกษาในประเทศอังกฤษ : จากซ้ายใหม่ถึงสจ๊วต ฮอลล์ (วสันต์ ปัญญาแก้ว), ความโกลาหลของวัฒนธรรมศึกษา (เกษม เพ็ญภินันท์), ได้อะไรบ้างจากเนื้อหาการประชุม (สายพิณ ศุพุทธมงคล, ยุกติ มุกดาวิจิตร) — ดาวน์โหลดบทคัดย่อ
เล็งไว้เยอะ ไม่รู้จะได้ฟังจริงแค่ไหน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ผมจะปั่นเปเปอร์ที่ต้องส่ง 30 นี้ ได้เร็วแค่ไหนด้วยอ่ะนะ อยากส่งอ่ะ – -“
หมายเหตุ – แจ้งข่าว ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ผมจะกลับไปเป็นนักเรียน (ในระบบ) อีกครั้ง สาขาที่เรียนก็คือ มานุษยวิทยา นี่แหละ ความตั้งใจก็คือ อยากจะศึกษาวัฒนธรรมออนไลน์ อะไรทำนองนี้ — ตอนสัมภาษณ์ เขาให้เล่าสิ่งที่ตัวเองสนใจ แล้วกรรมการคนหนึ่งก็บอกว่า เอ แล้วทำไมไม่ไปเรียนนิเทศ/วารสาร น่าจะตรงกว่า ผมก็ตอบไม่ถูก 😛 ได้แต่รู้สึกว่า นอกเหนือจากการสื่อสารแล้ว มันยังมีสิ่งที่อยู่รอบ ๆ อีกสิ ก็บอกเขาไปตามนั้น ประมาณว่า ยังไม่รู้ ก็เลยอยากมาเรียนน่ะครับ — สุดท้ายก็ผ่านมาได้ทั้งข้อเขียนและสัมภาษณ์ ด้วยคะแนนในระดับที่พี่เลขาหลักสูตรบอกว่า “คอนเซปท์คุณไม่ได้เรื่องเลยนะ” แงว.. ซึ่งก็ทำนองเดียวกับที่กรรมการอีกคนหนึ่งบอกไว้ตอนสัมภาษณ์ว่า “ถ้าคุณจะเรียน คุณต้องปรับวิธีคิดใหม่ ปรับวิธีพูดใหม่” เหะ ๆ – พี่เลขาทิ้งท้ายไว้ว่า “สงสัยอาจารย์เค้าคงอยากสู้กับคุณ” อ่ะจ๊าก~ – -” — สุดท้ายแล้ววันที่ไปรายงานตัว พี่เขาก็แนะนำให้นักศึกษาใหม่ทุกคน ไปงานประชุมที่ว่าข้างบน ดังนี้เอง (ซึ่งผมก็อยากไปอยู่แล้วแหละ แต่นี่ก็เหมือนเป็นอีกแรงถีบกระตุ้น)
หลายคนรู้ข่าวนี้ (ตั้งแต่ตอนสมัครจนถึงประกาศผลแล้ว) ก็ถามผมว่า เอ๊ะ ทำไมไปเรียนโทอีกใบ ก็อยากรู้ว่ามันเป็นยังไงน่ะ น่าจะเอาอะไรมาใช้ได้บ้างสิ ไอที + มานุษยวิทยา เนี่ย… ไมเคิล โบเวนส์ เป็นนักมานุษยวิทยาคนแรก ๆ ที่ผมรู้จัก เขาคนเดียวกันนี้เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านสารสนเทศ เป็นผู้จัดการศูนย์สารสนเทศ สอนวิชามานุษยาวิทยาสังคมดิจิทัล และก่อตั้งกลุ่มศึกษาทฤษฎี peer-to-peer เมื่อตอนผมกลับมาบ้านเมื่อเกือบสองปีที่แล้ว ไปเชียงใหม่ครั้งแรก ก็ได้ไปเจอเขา นั่งคุยกัน (และทุกครั้งที่คิดถึงเรื่องที่ไปเจอเขาครั้งแรกนี้ ผมก็จะนึกถึงโดยอัตโนมัติว่า มีคนข้าง ๆ เหยียบเท้าผม เพื่อเร่งให้จบการสนทนาซะที) ไปครั้งล่าสุดเมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว ก็ได้ไปอาศัยบ้านเขานอน แถมมอเตอร์ไซด์ให้ขี่ด้วย และได้รู้เรื่อง KaosPilot ก็ครั้งนี้แหละ …เห็นแบบนี้แล้ว ผมเลยมั่นใจว่า มันต้องเกี่ยวได้ดี๊ (ง่ายมั๊ย) 😛
แถม: วันนี้ (26 มี.ค.) เป็น “วันเสรีภาพเอกสาร” Document Freedom Day ครับ
technorati tags:
cultural studies,
conference,
anthropology
4 responses to “Rethinking Cultural Studies”
“ถ้าคุณจะเรียน คุณต้องปรับวิธีคิดใหม่ ปรับวิธีพูดใหม่”น่าสนใจมาก ลุยโลด
ดีเลยครับ anthropology เนี่ยน่าสนใจมาก เค้ามีวิธีคิดที่น่าสนใจ เคยลงเรียนวิชา sociology of culture (แต่ drop ไปซะก่อน) แล้วมีคนจาก anthropology มาเรียนด้วย รู้สึุกความคิดและตรรกะบางอย่างของเค้าก็รู้สึกว่าแปลกดี แต่นั่นก็ไม่ได้หมายรวมถึงคนที่เรียน Anthro ทั้งหมดหรอกครับจริง ๆ ผมก็อยากเรียนพวก sociology + psychology อีก ถ้ามีเวลาก็อยากไปเรียนเหมือนกัน แต่ตอนนี้ขอเอาอันนี้ให้เสร็จเป็นเรื่อง ๆ ไปก่อนยังไงก็โชคดีนะครับ หวังว่าคงจะมีอะไรใหม่ ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน
โชคดี
ตลกดีแฮะ