rent a house = high mobility ?


เวลานั่งรถไฟฟ้า นั่งรถไปไหนมาไหน มองเห็นตึกแถวใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่เยอะแยะมากมายในกรุงเทพ

ตึกแถวต่าง ๆ น่าจะมีการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ากว่านี้ จะได้ไม่ต้องสร้างตึกใหม่ให้เปลืองทรัพยากร
ทำเป็น mixed use ซะ ใช้หลายประสงค์ ถือครองร่วมกันหลายคนหลายครอบครัวหรือเจ้าของตึกแบ่งเช่า

ชั้นล่างให้เช่าเป็นร้านค้า/สำนักงาน
ชั้นบน ๆ แบ่งชั้นให้แต่ละครอบครัวเช่า
ชั้นดาดฟ้าบนสุดใช้ร่วมกัน เป็นลานซักล้าง-ตากผ้า
หรือถ้าตึกข้างเคียงจะตกลงเปิดดาดฟ้าต่อกันก็ได้-ทำเป็นลานนั่งพักผ่อน/ทำกิจกรรม (ข้างล่างไม่มีที่)

ถ้าจะทำ ต้องปรับปรุงเรื่องประตูเข้าออก ทางขึ้นลง ให้สะดวกกับทุกฝ่าย

แบบนี้ ตึกแถวห้องหนึ่งอาจอยู่ได้ถึงสามสี่ครอบครัวเล็ก ๆ ตามลักษณะครอบครัวคนทำงานรุ่นใหม่ในเมือง

อีกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ที่จะทำให้เรื่องข้างบนเป็นไปได้มากขึ้น คือ
ค่านิยมเรื่อง “เช่าบ้าน = ไม่มั่นคงในชีวิต”
น่าจะปรับเปลี่ยนเป็น “เช่าบ้าน = คล่องตัวสูง” มี mobility เคลื่อนย้ายสะดวก
ซึ่งน่าจะเหมาะกับลักษณะชีวิตคนทำงานรุ่นใหม่มากกว่า ที่ย้ายสถานที่ทำงานบ่อยครั้ง (ทั้งจากการย้ายองค์กร หรืออยู่ในองค์กรเดิมแต่ต้องเดินทางเปลี่ยนที่ทำงาน) ทั้งตอบสนองความต้องการที่จะมีบ้านอยู่ใกล้ที่ทำงาน เพื่อความสะดวก ลดค่าเดินทาง ประหยัดเวลา เพิ่มคุณภาพชีวิต (สามารถย้ายบ้านตามที่ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องห่วงเรื่องซื้อขายบ้าน หรือทำสัญญาระยะยาว)

นอกจากนี้ ความคล่องตัว-ไม่ติดกับพื้นที่ น่าจะช่วยเรื่องการย้ายถิ่นฐาน/โยกย้ายบุคลากรที่ขาดแคลนในเขตนอกศูนย์กลาง (กรุงเทพและหัวเมืองใหญ่) เพิ่มโอกาสกระจายงาน กระจายความเจริญได้ด้วย — ไม่ทำให้เมืองหลวงหรือหัวเมืองมันโตเกินไป ซึ่งนำมาสู่ปัญหาการจัดการต่าง ๆ เช่นสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ สร้างยังไงก็ไม่ทัน เช่นที่เชียงใหม่กำลังแย่อยู่ตอนนี้ (ไม่ต้องพูดถึงกรุงเทพ)

ไม่ใช่ว่า ก็ทรัพยากรบุคคลมันอยู่ในกรุงเทพ (หรือหัวเมือง) ย้ายเข้าออกไม่สะดวก บริษัทก็เลยต้องมาตั้งอยู่ในกรุงเทพ แล้วพอบริษัทต่าง ๆ มากระจุกอยู่ในกรุงเทพ คนข้างนอกก็ต้องย้ายเข้ามาเพิ่มอีก เพราะนอกกรุงเทพไม่ค่อยมีงาน ทรัพยากรบุคคลทั้งหลายก็เข้ามากระจุกอยู่ในกรุงเทพ บริษัทต่าง ๆ จะตั้งบริษัท จะขยายงาน ขยายสาขา ก็ต้องอยู่ในกรุงเทพอีกนั่นแหละ ไปที่อื่นมันไม่มีคน ก็วนไปเรื่อย ๆ เป็นงูกินหาง ไก่กับไข่

เรื่อง workforce mobility หรือความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายแรงงานนี้ เป็นนโยบายของสำคัญของการสร้างและรักษาความมั่งคงของสหภาพยุโรป ไม่ให้ความเจริญมันเหลื่อมล้ำ พอคนย้ายได้ง่าย งานก็ย้ายได้ง่ายด้วย ปลดล็อกงูกินหาง

เอกสาร Mobility in Europe [pdf]
โดย มูลนิธิยุโรปเพื่อการปรับปรุงสภาพการทำงานและการใช้ชีวิต
Eurofound – European Foundation for the Improvement of Living and Working Conditions

ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายแรงงานนี้ เกี่ยวหลายเรื่อง
แม้ที่เด่นเป็นข่าว มักจะเป็นเรื่องข้อกฎหมาย ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เช่นเรื่องกฎหมายคนเข้าเมือง กฎหมายแรงงาน
แต่เรื่องสภาพแวดล้อม เรื่องการใช้ชีวิตของแรงงานก็สำคัญ ที่พัก (สัญญาขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ราคาพอรับไหว ไม่ผูกมัดเกิน) ระบบขนส่ง (เมือง-รอบนอก / งาน-ที่พัก) ภาษา (กรณีพูดต่างภาษาควรสื่อสารภาษากลางกันได้) วัฒนธรรม (ที่อดทดอดกลั้น เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่คลั่งชาติ เปิดใจรับความแตกต่าง) คือแรงงานก็เป็นคนน่ะ
นอกจากสภาพแวดล้อมในการทำงานดี ๆ แล้ว ก็อยากได้สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตที่ดี ๆ เช่นกัน

สภาพที่ปราถนา เพื่อเมืองที่มีชีวิต live life :
ที่อยู่อาศัยย้ายเข้าออกคล่องตัว – ระบบขนส่งสะดวก – สื่อสารภาษากลางได้ – วัฒนธรรมเปิดกว้างรับความแตกต่าง
สองอันหลังสำหรับการจะเป็นเมืองระดับภูมิภาค/นานาชาติ

ที่จะให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางโน่นนี่ เป็น hub จะดันเมืองนั้นเมืองนี้เป็นเมืองระดับภูมิภาค ระดับนานาชาติ
แต่ทุกอย่างมันก็ต้องอาศัยคนด้วย ทั้งคนภายในประเทศ ภายนอกประเทศ
จะเป็น hub แต่เขาเดินทางเข้ามาทำงาน/ใช้ชีวิตไม่สะดวก ใครเขาจะอยากมา
แล้วจะเป็น hub ได้ยังไง ? จะมีเมืองศูนย์กลางหลาย ๆ เมืองได้ยังไง ? (แนวคิด mobility นี้ไม่ได้ปฏิเสธเมืองศูนย์กลาง แต่ปฏิเสธการมีศูนย์กลางแต่ที่เดียว อะไร ๆ ก็อยู่ในเมืองนี้ – เช่นกรณีกรุงเทพ)

ในแง่สิทธิโดยทั่วไป-ไม่ได้เจาะจงเรื่องแรงงาน เรื่อง mobility นี้เกี่ยวกับ สิทธิในการเดินทาง/เสรีภาพในการเคลื่อนย้าย mobility rights / rights to travel / freedom of movement

เฮ้ย เริ่มจากตึกแถว มาจบที่เรื่องสิทธิได้ไง

ย้อนกลับไปใหม่ คิดว่า “เช่าบ้าน = คล่องตัวสูง” ไหม ?

กลับไปทำงานต่อดีกว่า

ปรับปรุง 2008.07.04: เพิ่มเรื่อง cosmopolitan

technorati tags:
,
,
,
,


4 responses to “rent a house = high mobility ?”

  1. คิดว่ามันอันตรายอะ ถ้าเป็นคอนโด หรืออพาร์เมนท์ที่มียามอยู่ก็น่าจะดีกว่า แล้วมันก็ไม่ค่อยส่วนตัวเท่าไหร่ เสียงดังมากไม่ได้ (เอ๊ะ ทำอะไร) lol

  2. ใช่เลย ตึกแถวในเมืองมีเยอะมาก บางหลังก็ปิดรั้วไว้เฉยๆ ทั้งที่เป็นย่านเมืองผู้คนจอแจ แบบนี้น่าจะเก็บภาษีสาธานูปโภคแพงหน่อย เพราะมีที่ในเมือง (แถมติดรถไฟฟ้า) ไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ อย่างนี้กรุงเทพขยายไม่หยุดแน่ๆ ระบบคมนาคมก็ไม่มีทางขยายได้ทันทั่วถึง

  3. เห็นด้วยอย่างยิ่ง ครับน่าจะนำเสนอกับผู้ที่กำลังจะลงชิงตำแหน่งผู้ว่า กทม.เพื่อให้พวกเขา คิดแล้วนำเสนอแผน แปลนต้นร่าง ที่สามารถนำมาเป็นแนวทางให้กับเจ้าของตึก บ้าน ในเขตติดทางนำมาปรับเพื่อสร้างรายได้เสริมและลดค่าใช้จ่ายกับผู้มาเช่าผมอยู่ บุรีรัมย์ ไม่ค่อยเกี่ยวด้วยซักเท่าไรปีหนึ่งเข้ากทม.ไม่เกิน5ครั้ง

  4. อื้ม ที่สวีเดนใช้แบบนี้เด๊ะเลยคิดว่าที่เยอรมันก็น่าจะเป็นแบบเดียวกันแต่เค้าตกแต่งภายในและทำระบบต่างๆไว้ดีมากถ้าทำได้ล่ะก็ work เลยเอาค่าเดินทาง และค่าน้ำมันมาเป็นค่าเช่าบ้าน ก็คุ้มอยู่

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.