me(dia)


มีเพื่อนส่งลิงก์นี้มาให้ดู น่าเสียดาย…เว็บประชาไท (ผู้จัดการออนไลน์) ในนั้นเขาว่า เขา “เปิดโปง” เบื้องหลังคนสนับสนุนประชาไท

ผมก็งง ๆ ข้อมูลทั้งหมด เขาก็มีเผยแพร่ไว้ใน เกี่ยวกับประชาไท ตั้งนานแล้วนี่นา อย่างน้อยก็มากกว่าหนึ่งปีล่ะ ที่ผมเคยกดดู – มันเรียกว่าเปิดโปงตรงไหนนะ

เรื่องรสนากับปลื้ม ผมก็งง ๆ – เอ เขานับ “ส่วนใหญ่” กันยังไงนะ ลองอ่านดูในความเห็นท้ายข่าว มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่านี่นา เรื่องมีคนมา “รุมด่ารสนามากกว่าปลื้ม” (แน่นอนว่ามีคนตั้งคำถามต่อท่าทีกระทบกระเทียบของรสนา ว่าไม่จำเป็นต้องพูดไปถึงวงศ์ตระกูลของปลื้มเขาเลย)

ผมก็คงบอกแทน คิดแทนคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็ลองดูข้อมูลจากหลาย ๆ ที่ละกันครับ

สื่อ/แหล่งข่าว/บล็อก ๆ หนึ่งไม่สามารถมีข้อมูลที่รอบด้านได้ และก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น

แต่สื่อหลาย ๆ ที่ หลาย ๆ มุมมอง รวมกัน ก็สามารถที่จะให้ข้อมูลที่รอบด้านขึ้นได้

นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงต้องรักษาเสรีภาพและความหลากหลายของแหล่งข่าวเอาไว้ ให้สามารถเสนอหลายมุมมอง เสนอหลายแนวคิดที่แตกต่างกันได้

ผมคิดว่าสำหรับสื่อต่าง ๆ ในฐานะสื่อ ๆ หนึ่ง ของแต่ละที่
เขาก็มีสิทธิที่จะให้น้ำหนักและเสนอประเด็นอะไรที่เขาเห็นว่าสำคัญน่าสนใจได้ และเนื่องจากประเด็นที่สำคัญน่าสนใจนี้ อาจมีอยู่มาก เขาก็อาจจะเลือกเสนอประเด็นที่ยังไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูด เพื่อให้ในภาพรวมมันมีความครอบคลุม

เช่น ทีวีแต่ละช่อง เมื่อพิจารณาเฉพาะช่อง อาจจะมีสัดส่วนรายการที่พิกลพิการ อันนั้นข่าวน้อยไป อันนี้บันเทิงน้อยไป อันนี้เน้นกลุ่มผู้ชมวัยนั้นน้อยไป อันนี้เน้นกลุ่มผู้ชมระดับนี้มากไป … แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว เราอาจพบว่า สัดส่วนมันอาจจะกลมกล่อมพอดีก็เป็นได้ (ในทางกลับกับ การพยายามบังคับช่องไม่กี่ช่องให้อยู่ในสัดส่วนกลมกล่อมพอดี แต่ไม่สามารถไปปรับช่องอื่น ๆ ได้ ในภาพรวมมันก็อาจจะยังคงบิดเบี้ยวพิกลพิการอยู่ก็เป็นได้) คนเราดูทีวีแค่ช่องเดียวเสียทีไหน

กล่าวคือ ถ้าเขาเห็นว่า ประเด็นอะไรมีสื่อแหล่งอื่นพูดถึงไปแล้ว เขาก็อาจจะเลือกไปเสนอประเด็นอื่น ๆ ที่เขาเห็นว่าสำคัญเช่นกัน-แต่ยังไม่คนพูดถึง

นั่นแปลว่า การไม่ได้เสนอประเด็นอะไร อาจไม่ได้แปลว่าเขาเห็นว่าประเด็นที่เขาไม่เสนอเองนั้นไม่สำคัญ – เขาอาจเห็นว่ามันสำคัญ เพียงแต่คนอื่นเสนอไว้ดีแล้ว ก็เลยไม่รู้จะเปลืองพื้นที่ไปเสนอซ้ำอีกทำไม ถ้าไม่สามารถเสนอแง่มุมมองใหม่ ๆ ได้

“องค์กรนั้น บุคคลนี้ ทำเรื่อง x เรื่อง y เอาไว้มากมาย ทำไมไม่พูดถึง ? ทำไมถึงพูดถึงแต่เรื่อง i เรื่อง j ?”

ก็น่าจะถามต่อไปว่า

“ถ้าพื้นที่สื่อจำนวนหนึ่งได้เสนอเรื่อง x เรื่อง y ไปแล้ว ก็น่าจะเป็นการสมควรไม่ใช่หรือ ที่พื้นที่สื่ออีกจำนวนหนึ่ง จะเสนอเรื่อง i เรื่อง j ด้วย ? ทั้งนี้เพื่อความรอบด้านยิ่งขึ้นของข้อมูลข่าวสารในภาพรวม”

หรือจะมีใครมีชีวิตด้านเดียวบ้าง ?

ในอุดมคติแล้ว เราทั้งหมดสมควรที่จะเสนอทั้ง x, y, i และ j (อาจในน้ำหนักต่างกันไป ตามความลำดับสำคัญที่แต่ละคนเชื่อ)

แต่หากพื้นที่สำหรับ x และ y กำลังล้นทะลัก มองไปทางใดก็มีแต่ข้อมูลด้านนี้

จำเป็นแค่ไหน สิ้นเปลืองเท่าใด ที่จะต้องเสนอ x และ y ซ้ำ ๆ อีก ?

บกพร่องแค่ไหน เสียหายเท่าใด หากไม่ได้เสนอ i และ j ให้สังคมได้รับรู้ด้วย ?

การจะให้น้ำหนักว่าประเด็นอะไรสำคัญนั้น เป็นสิทธิ

ส่วนการจะต้องไม่ปกปิดบิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น เป็นหน้าที่

technorati tags: , ,


14 responses to “me(dia)”

  1. ประเด็นหนึ่งที่เว็บประชาไทนำมาเล่นคือกรณี "คุณโชติศักดิฺ์" ผมว่ามันหมิ่งแหม่เกินไป ผมยอมรับในความคิดต่างที่เป็นธรรมดาที่คนเราจะสามารถคิดได้ แต่มันต้องตั้งอยู่บนประเพณีวัฒนธรรมของเรา ความกตัญญูรู้คุณ เพราะกฏหมายที่ตราขึ้นมาก็ใช้ประเพณีวัฒนธรรมเป็นที่ตั้ง การกระทำที่หมิ่นแล้วยังเอามาโหนกระแสเพื่อประโยชน์ของตนผมว่ามันออกจะเกินเลยไปหน่อย อย่างเชิญสื่อต่างชาติมาทำข่าวเพื่อเพิ่มความดัง แสดงว่าไม่มีความสำนึกอยู่ในสมองเลย ผมว่าถ้าคุณโชติศักดิ์และบุคคลที่เกี่ยวข้องเกิดในอาชีพเกษตรกรหรือชาวเขาอาจจะซาบซึ่งมากกว่านี้ ชีวิตคงจะสบายเกินไป

  2. เขาเปิดโปงไม่ใช่เพื่อเปิดโปง เขาเปิดโปงเพื่อให้มีคนจากฝั่งเขาเข้าไปอ่านเยอะ ๆ แล้วหวังผลหลังจากนั้น โดยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าปัจจุบันของประชาไทมันแตกต่างจากเมื่อก่อน สุดยอดมากที่ใช้คำว่าเสียดาย เพราะการที่ข่าวประชาไทมันไม่หลากหลายเนี่ยแหละ ล่อเป้าได้ง่ายมาก

  3. q0022: อย่างที่ได้เรียนไว้หลายโอกาสครับผมไม่ได้มองเรื่อง "โชติศักดิ์และชุติมา" เป็นเรื่องบุคคล ว่ากระทำอะไรไป ผิดกฎหมายข้อไหนอย่างไรสิ่งที่ผมสนใจคือ เราจะมีท่าทีกับพวกเขาอย่างไรทั้งคนอย่าง "โชติศักดิ์และชุติมา" และ ทั้งคนที่คิดไม่เหมือนพวกเขาท่าทีของสังคมส่วนหนึ่ง ที่เยาะเย้ยสมน้ำหน้า-เป็นศาลเตี้ย-ทำร้ายร่างกาย-หรือยั่วยุให้ทำร้ายร่างกาย เป็นท่าทีที่เหมาะสมหรือไม่ ?(การทำร้ายร่างกาย อย่างน้อยที่สุดก็ที่แสดงให้เห็น คือการที่ผู้ชมจำนวนหนึ่งขว้างปาสิ่งของใส่สองคนนั้นในโรงหนัง – ส่วนการยั่วยุให้ทำร้ายร่างกาย ก็โดยวิทยุผู้จัดการ – หรือกระทั่งคุณ q0022 เอง ที่ว่า "การกระทำที่*หมิ่น*แล้วยัง…" ตรงนี้ผมไม่แน่ใจ ถ้าเป็นแค่ความเชื่อนั่นก็โอเค ทุกคนมีสิทธิ์เชื่ออย่างไรก็ได้ แต่ถ้าเป็นการตัดสินไปแล้ว นั่นก็อาจจะเข้ากรณีศาลเตี้ยเองด้วย – จะหมิ่นหรือไม่หมิ่น ก็รอศาลว่าไป ถ้าคุณบอกว่าคุณเชื่อกฎหมาย)ท่าทีของสังคมส่วนหนึ่ง (โดยเฉพาะสื่อค่ายผู้จัดการ) ที่หยิบยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นการเมือง โจมตีป้ายสี บิดเบือนโยงเรื่องให้มั่วกันไปหมด เพียงเพื่อจะทำลายฝ่ายตรงข้าม มันเหมาะสมไหม ? – พูดอย่างเป็นธรรมที่สุด มันแฟร์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ไหม ?ถึงพรุ่งนี้ "โชติศักดิ์และชุติมา" จะเปลี่ยนใจเปลี่ยนอุดมการณ์ ไปเป็นคนตอแหล ปลิ้นปล้อน (อย่างที่คุณ fat dog father เคยถาม)แต่หลักการสิทธิมนุษยชน การต้องเคารพความเห็นต่างตรงนี้มันก็ยังไม่เปลี่ยนถ้าเราสู้เพื่อบุคคล เราก็จะเขวไปกับบุคคลการรณรงค์ทั้งหลาย อย่างน้อยผมคนหนึ่ง ไม่คิดว่านี่เป็นการทำเพื่อบุคคล ไม่ว่าจะโชติศักดิ์ ชุติมา หรือว่าใคร – แต่เป็นการทำเพื่อหลักการพื้นฐาน ความเป็นมนุษย์และสุดท้ายเราไม่ได้ทำไปเพื่อใคร หรืออะไรแต่เพื่อความเป็นมนุษย์ของตัวเราเองไม่ใช่แม้แต่ตัวเราของเรา แต่เพื่อ "ความเป็นมนุษย์" – เท่านั้นส่วนเรื่องที่ว่า "มัน*ต้อง*ตั้งอยู่บนประเพณีวัฒนธรรมของเรา" ผมก็เห็นว่า "เรา" ก็มีประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ไม่ได้มีเพียงอย่างเดียวอันเดียวครับสำหรับผมแล้ว เรื่องนี้อาจจะไม่เฉพาะเจาะจงกับเรื่องหมิ่นหรือไม่หมิ่น หรือสถาบันด้วยซ้ำแต่เป็นเรื่องทั่วไปมาก ๆ ที่ว่า"เราจะเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนที่คิดเห็นแตกต่างกระทั่งไม่เห็นด้วยกับเราเลย อย่างสงบสุขได้อย่างไร"อย่างสงบสุขนั้นคือ การคิดเห็นแตกต่างนั้น ไม่ได้ไปริดรอนสิทธิของใคร ไม่ได้ไปทำให้ใครต้องลำบากเดือดร้อนการที่ใครสักคนบอกว่า "คุณคิดต่างได้นะ แต่ห้ามเกินกรอบนี้"ผมคิดว่านั่นก็คือเท่ากับ คิดต่างไม่ได้เพราะคนที่กำหนด "กรอบ" นั้น เป็นคนอื่น ที่ไม่ใช่คนที่คิดใครเห็นว่าโลกกลมก็จับไปฆ่าหรือเราจะกลับไปอยู่ในยุคนั้น ?

  4. พ่อหมาอ้วน: อืม ผมเห็นด้วยนะ ที่ว่า ประชาไท ข่าว "ไม่หลากหลาย"* สู้ผู้จัดการหรือกรุงเทพธุรกิจไม่ได้ มองเฉพาะบนเว็บไซต์นะ"ไม่หลากหลาย" ข้างบนนั่น หมายถึง หลากหลายไม่เท่าเว็บไซต์อื่นในแง่หัวข้อข่าว เช่น ขาดเรื่องเทคโนโลยี นวัตกรรม บันเทิง อาชญากรรม การตลาด ธุรกิจการเงิน อะไรพวกนี้ ที่เว็บไซต์อื่น ๆ เขามีกัน – ประชาไทที่มีเยอะจะเป็นพวก สังคม เศรษฐกิจ การเมือง รายงานสัมมนาวิชาการที่เกี่ยวข้อง ข่าวปัญหาจากการพัฒนา ข่าวชาวบ้านเรียกร้องต่าง ๆคือถ้านับจำนวนหัวข้อข่าวแล้ว ประชาไทหลากหลายน้อยกว่ามาก — แต่ก็ใช่ว่าหัวข้อข่าวของประชาไทจะเป็นซับเซตของสื่อเจ้าอื่น ๆ – เพราะหัวข้อข่าวอย่าง รายงานสัมมนาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคม ข่าวปัญหาจากการพัฒนา ข่าวชาวบ้านเรียกร้องต่าง ๆ นั้น มีพื้นที่น้อยมากในสื่อกระแสหลักอื่น ๆอันนั้นเป็นความหลากหลายในแง่ หัวข้อข่าวส่วนความหลากหลายในแง่มุมมองต่อข่าวชิ้นเดียวกันผมคิดว่าอันนี้น่าสนใจ กรุงเทพธุรกิจ ในฉบับหนังสือพิมพ์ ยังเคยให้พื้นที่บางส่วน อาจจะเป็นลักษณะคอลัมน์หรือบทความพิเศษ สำหรับความเห็นที่แตกต่างจากกองบรรณาธิการ – เคยมีอันหนึ่งตั้งคำถามแรง ๆ ถึงกองบรรณาธิการและสุทธิชัย หยุ่น เองเสียด้วยซ้ำ – แม้จะนาน ๆ มีที แต่ก็เคยมี (ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องไม่ลืมว่ากองบรรณาธิการ The Nation ในเครือเดียวกัน ก็เซ็นเซอร์ตัวเอง ไม่ลงบทความของนักข่าวตัวเองอยู่หลายครั้ง)สำหรับประชาไท ผมเห็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนจากสาขาอาชีพต่าง ๆ (ส่วนใหญ่ก็เอ็นจีโอ นักเคลื่อนไหว นักวิชาการ อาจารย์มหาลัย) ได้เสนอความคิดของตนที่แตกต่างกัน ผ่านทางรูปแบบบทความ สัมภาษณ์ หรือรายงาน อยู่บ่อยครั้งเช่นกรณีแฟลตดินแดง ก็มีทั้งรายงานจากชาวบ้าน สัมภาษณ์เอ็นจีโอ และ บทความจากนักประเมินอสังหาริมทรัพย์ (ที่เห็นต่างกับเอ็นจีโอไปคนละเรื่อง)สำหรับ ผู้จัดการ ในปัจจุบัน ผมไม่เห็นการเปิดพื้นที่เห็นต่างในลักษณะประชาไทหรือลักษณะกรุงเทพธุรกิจถ้าสรุปตรงนี้ ผมคิดว่าในแง่ความหลากหลายของมุมมองแล้ว ประชาไทพยายามทำตรงนั้นยิ่งถ้าถอยออกมามองว่า ประชาไทเป็นส่วนหนึ่งของสื่อทั้งหมดที่เรารับแล้ว ผมคิดว่ามันจะยิ่งสมบูรณ์ขึ้น แต่ละสื่อก็เสริมกันคานกันทำอย่างนี้ ไปคานชาวบ้าน สวนกระแส แล้วจะเป็นเป้าให้เขาล่อไหม ผมคิดว่าทีมที่ทำเขาก็คงต้องรับไป คงทำใจกันแล้ว ไม่งั้นคงไม่มาทำกันในฐานะคนอ่าน ที่อยากจะยังรับสารอะไรที่มันกลมกล่อมพอดี (เท่าที่จะทำได้) ก็คงต้องพยายามรักษาน้ำปลาในพวงเครื่องปรุงนี้ไว้ เหมือน ๆ กับพริกน้ำตาลและเครื่องปรุงอื่น ๆ

  5. การที่ใครสักคนบอกว่า "คุณคิดต่างได้นะ แต่ห้ามเกินกรอบนี้"ผมคิดว่านั่นก็คือเท่ากับ คิดต่างไม่ได้เพราะคนที่กำหนด "กรอบ" นั้น เป็นคนอื่น ที่ไม่ใช่คนที่คิดผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับอันนี้นะ การที่มีคนตะโกนด่า (ไม่ควรทำร้ายร่างกาย) ก็เป็นสิทธิเขา เขาฟ้องหมิ่นก็สิทธิของเขา ในเมื่อกฎหมายมันอนุญาตให้เขาทำได้กรณีนี้ใครผิด ถ้าเราถือว่าระเบียบสังคมอยู่ภายใต้กฎหมาย ใครละเมิดกฎหมายมันก็ไม่ถูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร1. ถ้าจะทำให้ถูกก็ต้องแก้กฎหมายก่อน 2. ถ้ากฎหมายไม่ดี กฎหมายผิด ก็ต้องแก้ก่อน ทางที่ดีก็ต้องถวายฎีกาโดยตรง ในหลวงท่านเปิดช่องไว้แ้ล้วผมว่า ทรงบ่นมาหลายทีแล้ว อย่างที่เคยบอกไม่มีรัฐบาลไหนกล้าเสนอหรอก แต่เลือกเวลาหน่อยตอนนี้ท่านยุ่งกับเรื่องน้ำผมเห็นด้วยที่คนเขาพูดว่า คิดต่างได้ แต่ต้องถูกที่ถูกเวลา และการแสดงออกก็ต้องสมควรแก่เหตุ ถ้าเราเคารพสิทธิในการพูด เราก็ต้องเคารพสิทธิในการที่คนอื่นบอกว่าตอนนี้ไม่ให้พูดด้วย ประเด็นสื่อ ผมว่าขบวนการของผู้จัดการเนี่ย ไม่ธรรมดานะครับ เปิดประเด็นด้วยชัยอนันต์ แบบทีเล่นทีจริง แต่เน้นคำว่ามีขบวนการ มีองค์กร ก็แบบที่เขาว่าแหละ ขวาพิฆาตซ้ายแบบปี 2008

  6. fat dog father: ผมก็คิดว่า ถ้าใครเห็นว่าอะไรผิดกฎหมาย ก็ฟ้องไปเลยครับ เขาทำได้ แล้วก็รอศาลตัดสิน ให้กระบวนการยุติธรรมมันทำหน้าที่ไปถ้าผิดก็ลงโทษไปกฎหมายทำได้แค่นั้นครับ ลงโทษ(แต่บอกให้เลิกเชื่อไม่ได้นะครับ-ถ้าคนเขายอมรับการลงโทษ ยอมรับว่านี่คือราคาที่ต้องจ่าย ก็ต้องปล่อยให้เขาเชื่อครับ)หรือถ้าฝ่ายไหนเห็นว่า กฎหมายมันควรเลิก หรือกฎหมายมันควรแรงกว่านี้ด้วยซ้ำ ก็รณรงค์กันได้ นำเสนอข้อมูล ทำความเข้าใจกัน ถกเถียงกัน และการกระบวนการพวกนี้ ก็อาจจะนำไปสู่การเข้าชื่อขอแก้กฎหมายในที่สุด – ผมเห็นว่าการรณรงค์นั้นสำคัญ และต้องทำอย่างหนักก่อนการเข้าชื่อใด ๆ ไม่งั้นการเข้าชื่อกันก็ไม่มีความหมาย คนอาจจะไปเข้าชื่อกันด้วยอารมณ์ก็เป็นได้ โดยยังไม่รู้ว่าตัวเองลงชื่อไปเพราะอะไร เพื่ออะไร แล้วอะไรจะเกิดขึ้นผมคิดว่าสุดท้ายสำหรับผู้จัดการ ประเด็นโชติศักดิ์และชุติมา ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าตัวละครที่เขาจะสามารถเล่านิทานพยายามเชื่อมโยงให้ได้ว่า กลุ่มการเมืองที่เขาไม่สนับสนุน(และสื่อจำนวนหนึ่งที่พยายามจะจับผิดนิทานของเขา)นั้นต้องการล้มล้างสถาบันฯ – เพื่อเรียกคะแนนนิยมในฝั่งผู้จัดการและพันธมิตรที่ตกต่ำลงหลังรัฐประหาร (ไม่มีใครเขาเอาด้วย) – ก็คือตัวผู้จัดการและพันธมิตรเองนั่นแหละ ที่ใช้สถาบันเป็นเครื่องมือ (ซึ่งการทำแบบนี้ ก็คือการไม่เคารพสถาบันในตัวมันเอง แต่ตัวผู้จัดการเองก็เที่ยวไปยัดข้อหานี้ให้คนอื่น)

  7. และถ้าจะมีความรุนแรงใด ๆ เกิดขึ้นก็อย่าเอาแต่โทษรัฐอยู่ฝ่ายเดียวอยู่ร่ำไปใช่ รัฐต้องร่วมรับผิดชอบในแง่ที่ว่า ถ้าตนอยู่ในฐานที่สามารถควบคุมสถานการณ์ไม่ให้รุนแรงได้ แต่ไม่ทำ อันนี้รัฐก็ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยแต่ที่ต้องรับผิดชอบมากที่สุด ก็น่าจะเป็น พวกเราประชาชนกันเองนี้ไม่ใช่หรือ ?ที่ยอมให้เกิดบรรยากาศเช่นนั้นขึ้นมาได้ ?การคุกคามโดยรัฐนั้น แม้จะน่ากลัวแต่ก็ไม่เท่ากับการคุกคามโดยประชาชนด้วยกันเองไม่มีอะไรจะน่ากลัวไปกว่าการที่ไม่สามารถอยู่บ้านของตัวเองได้ เพราะกลัวจะถูกเพื่อนบ้านทำร้าย(ตรงหรืออ้อม)อีกแล้ว(หลายครั้งที่ผมนึกถึงหนัง Das Leben der Anderen – The Lives of Others ที่เพื่อนบ้านบอกข่าวเพื่อนบ้านด้วยกันเองให้กับ Stasi)ถ้าเราไม่ยอมที่จะรับผิดชอบ เราก็จะไม่เคยจำเหมือนกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ที่เราเรียกร้องอยู่เสมอให้รัฐรับผิดชอบ แต่น้อยครั้งที่จะเรียกร้องความรับผิดชอบจากพวกเราประชาชนด้วยกันเองความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวันนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากประชาชนด้วยกันเองด้วย (เพราะ "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป" เป็นต้น)แต่เราก็ไม่เคยจำและเราก็อาจจะกำลังทำมันซ้ำ

  8. … ถ้าท่านตีความว่า การรณรงค์อย่างแข็งขันคือ การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผมก็คิดว่า วิจารณญาณของท่านบรรณาธิการมีปัญหาเห็นด้วยกับข้อความนี้ครับ

  9. oakyman: เรื่องไม่ยืนนี่ เกิดขึ้นก่อนการรณรงค์นะครับ น่าจะครึ่งปีได้แล้วการรณรงค์นี่เกิดขึ้น *หลังจาก* คู่กรณีฟ้องกลับข้อหาหมิ่นพระบรมฯ(เพราะโชติศักดิ์ไม่ยอมถอนฟ้องข้อหาทำร้ายร่างกายกับคู่กรณี — เอาเข้าจริง เราก็จะเห็นว่าแม้แต่ในระดับเล็กสุดแบบนี้, โดยยังไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้องเลย, กฎหมายหมิ่นพระบรมฯ ก็ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรอง — เงื่อนไขคือ ถ้าโชติศักดิ์ไม่ฟ้องเขาข้อหาทำร้ายร่างกาย เขาก็จะไม่ฟ้องข้อหาหมิ่นพระบรมฯ — อย่างน้อยเราก็สามารถเห็นได้ว่า ถ้าอยากจะมองในระดับบุคคล เรื่องนี้ได้เป็นเรื่องของจากแสดงความจงรักภักดีแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกฟ้องประกอบอยู่ด้วย — พูดง่าย ๆ ก็คือ นี่ก็เป็นอีกครั้งที่ กฎหมายหมิ่นพระบรมฯ ถูก abuse – ใช้ขู่คนอื่น เพื่อกันไม่ให้ตัวเองถูกฟ้อง)ส่วนเรื่องไม่ยืนจะเป็นการรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น ก็คงแล้วแต่จะมองกัน ว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์สำหรับอะไร (รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าผิดกฎหมาย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าจะถูกนำมาใช้เป็นเกมการเมือง ฯลฯ) — บก.ประชาไทเองก็เขียนไม่ชัดในเรื่องนี้ ก็น่าจะถึอเป็นความบกพร่องของเขาด้วยในการใช้ภาษาไม่ชัดเจนแต่เรื่องที่เป็นข้อเท็จจริงคือ การไม่ยืนในวันนั้น กับการรณรงค์สิทธิ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างเวลากันครับ

  10. "(แต่บอกให้เลิกเชื่อไม่ได้นะครับ-ถ้าคนเขายอมรับการลงโทษ ยอมรับว่านี่คือราคาที่ต้องจ่าย ก็ต้องปล่อยให้เขาเชื่อครับ)"อันนี้ก็ไม่ใช่แล้วครับ ถ้ามีคนยอมติดคุกโดยการฆ่าคนที่ไม่ชอบหน้า โดยเชื่อว่าเป็นการทำเพื่อผู้มีพระคุณ ทำแล้วผู้มีพระคุณจะดีขึ้น มันไม่ถูกแน่นอน

  11. fat dog father: ผมไม่ได้หมายถึงกรณีอาชญากรรมอย่างการฆ่า การทำร้ายร่างกาย ครับทำร้ายร่างกายนี่มันยอมไม่ได้อยู่แล้ว มันละเมิดคนอื่นชัดเจน"(แต่บอกให้เลิกเชื่อไม่ได้นะครับ-ถ้าคนเขายอมรับการลงโทษ ยอมรับว่านี่คือราคาที่ต้องจ่าย ก็ต้องปล่อยให้เขาเชื่อครับ)"ที่ผมพูดอันนี้ เพราะผมเชื่อว่า ความคิดเห็นความเชื่อ และการแสดงออกถึงสิ่งเหล่านั้น อะไรต่าง ๆ พวกนี้ ถึงสุดท้ายแล้วมันจะต้องผิด (จะด้วยเหตุอะไรก็ตาม) มันก็ไม่ได้เป็น อาชญากรรม ครับก็อย่างที่เขารณรงค์น่ะครับ"คิดต่างไม่ใช่อาชญากรรม"

  12. ละเมิดกฎหมายก็คือละเมิดกฎหมาย จะมาบอกว่ามาตรานี้ละเมิดได้ มาตรานี้ละเมิดไม่ได้ มาตรานี้ใช้ในการรณรงค์ได้มาตรานี้ใช้ไม่ได้ มันไม่แปลกไปหน่อยเหรอผมควรหมิ่นใครซึ่งหน้าไหมเล่าหรือฝ่าไฟแดงก็ไม่ใช่อาชญากรรม ยอมเสียค่าปรับได้ไหม ถ้าผมเชื่อว่าไม่ควรมีไฟแดง แล้วตอนนั้นมันดึกไม่มีคนอยู่แล้วอันหลังนี่ไม่ละเมิดใครเลยนะ ผมมีความเชื่อว่าผู้ใดต้องการเปลี่ยนกฎผู้นั้นต้องเข้าใจในกฎและปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด เชื่อได้รณรงค์ได้แต่อย่าทำโดยการฝ่าฝืนกฎแล้วยอมรับโทษ แต่อย่างไรก็ตาม กฎนั้น ๆ ก็ต้องได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่นะ ส่วนน้อยจะขอเปลี่ยนก็ได้ แต่ต้องไม่ละเมิดกฎให้ที่เขาทำมันไม่ใช่คิดต่างน่อ กลับไปอ่านคำอธิบายของทนายทองใบสิ

  13. พ่อหมาอ้วน: (หมายเหตุอีกครั้ง: รายละเอียดเรื่องโชติศักดิ์และชุติมาจะทำอะไรอย่างไรก็ไม่ได้เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของผมกรณีของพวกเขาอาจเป็นตัวเริ่มการสนทนา และเป็นตัวอย่างหนึ่งในการสนทนาได้แต่ไม่ใช่ประเด็นในการสนทนาของผม– พวกจะเขาทำหรือไม่ทำอะไร ผมก็เชื่อของผมเช่นนี้สิ่งที่ผมสนใจนั้น ไม่ใช่เรื่องของพวกเขา หรือเรื่องเฉพาะเจาะจงอย่างยืนหรือไม่ยืน– แต่คือ เราปฏิบัติกับคนที่คิดต่างจากเราหรือขัดแย้งกับเราอย่างไร ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นใครก็ตามครับ)แน่นอนครับ ผิดกฎหมาย ก็คือ ผิดกฎหมาย ไม่มีข้อยกเว้นที่ผมบอกไปก่อนหน้านี้ ก็ไม่ได้มีอะไรขัดกับสิ่งนี้สิ่งที่ผมบอกนั้นคือ "การคิดต่าง ไม่ใช่อาชญากรรม"จะไม่ผิดกฎหมาย หรือ จะผิดกฎหมาย ก็ได้นะครับ(ถ้าเกิดมันจะต้องผิดจริง ๆ-ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่ามันไม่ผิด แต่ใครจะอ้างเรื่องจารีตประเพณีคนหมู่มาก แล้วบอกว่ามันผิด ก็ได้)แต่ประเด็นหลักคือ ไม่ว่าจะอย่างไร มัน "ไม่ใช่อาชญากรรม"ในตัวหลักกฎหมายต่าง ๆ เอง ตอนกำหนดเรื่องความผิดต่าง ๆ เอาไว้เขาก็ไม่ได้คิดว่าความผิดทุกชนิดนั้นเหมือนกันไปหมดเราจึงมี ความผิดตามกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายแพ่ง ความผิดชนิดต่าง ๆไม่อาชญากรรม กับ อาชญากรรม ต่างกันอย่างไร ?สำหรับผม การกระทำอาชญากรรมมันคือเรื่องของการละเมิดคุณค่าความเป็นมนุษย์เช่น การฆ่ากันอย่างที่พ่อหมาอ้วนยกตัวอย่าง อันเป็นเรื่องยอมไม่ได้การทำร้าย กักขัง พวกนี้ละเมิดสิทธิในการมีชีวิตอยู่ของคนอื่น ละเมิดความเป็นมนุษย์ของคนอื่นความผิดอาชญกรรมเช่นนี้ ตอนลงโทษ เราไม่ได้นำอาชญากรไปลงโทษแต่เพียงอย่างเดียวเราต้องการให้อาชญากรเปลี่ยนพฤติกรรมและเปลี่ยนความคิดด้วยด้วยเหตุผลว่า ไม่เช่นนั้นเมื่อเขาพ้นโทษแล้ว เขาก็จะทำอาชญากรรมอีก ไปละเมิดความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นอีกนั่นคือ เราลงโทษเขาด้วย และเปลี่ยนความคิดเขาด้วยสำหรับกรณี คิดเห็นต่างไปจากผู้อื่นในสังคม ผมไม่คิดว่านี่เป็นการละเมิดคุณค่าความเป็นมนุษย์และการแสดงความคิดเห็นนั้น ถ้าไม่ได้เป็นเหตุให้ใครตกเป็นที่เกลียดชัง(ซึ่งเป็นการละเมิดความเป็นมนุษย์ของคน ๆ นั้น และอาจทำให้คน ๆ นั้นถูกทำร้ายหรือละเมิดในทางอื่น ๆ)ก็ไม่ได้เป็นการละเมิดคุณค่าความเป็นมนุษย์เช่นกันหนำซ้ำ นี่คือการตอกย้ำเชิดชูคุณค่าของความเป็นมนุษย์ต่างหากเพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั่วไปนั่นก็คือ เราสามารถคิดต่างจากตัวอื่น ๆ ในฝูงได้ แล้วก็ยังอยู่ร่วมกันได้เราจะไม่ถูกจ่าฝูงหรือตัวอื่น ๆ ในฝูงทำร้าย หรือถูกกันออกจากฝูงในกรณีความผิดที่ ไม่ใช่อาชญากรรมสิ่งที่เขาละเมิดคือกฎของสังคม ไม่ได้ละเมิดความเป็นมนุษย์ของใครถ้ากฎหมายระบุและศาลตัดสินแล้วว่า เขาผิดเขาก็เป็น ผู้กระทำผิด (culprit) เท่านั้น มากที่สุดเพียงเท่านี้ ไม่ใช่ อาชญากร (criminal คนที่ก่อ crime)จะลงโทษเขาตามกฎหมายอะไรก็ทำไปแต่เราไม่มีสิทธิ์ไปเปลี่ยนความคิดเขา — เขาไม่ใช่อาชญกรเพราะฉะนั้นประเด็นปัญหาใหญ่ที่ผมเห็นในที่นี้คือทำไมพวกเราถึงปฏิบัติกับ คนที่คิดต่าง ราวกับเขาเป็น อาชญากร ?(หรือการทำให้เขาเป็นอาชญากร ในสังคมของเรา ที่นักโทษหรือแม้กระทั่งผู้ต้องหาไม่มีสิทธิอะไรมากนักก็คือการ de-humanize อย่างหนึ่ง ทำให้เขาไม่ใช่มนุษย์และเมื่อเขาไม่ใช่มนุษย์แล้ว เราจะทำร้ายเขาจะฆ่าเขาก็ได้ ? … โดยไม่ต้องรู้สึกผิด ?– "ฆ่าญวนไม่บาป มันไม่ใช่คนไทย" ?)ผมเชื่อว่านอกจากสิทธิตามกฎหมายแล้ว เราทุกคนยังมีสิทธิตามธรรมชาตินะครับถ้าเราละเมิดสิทธิตามกฎหมาย (ซึ่งเปลี่ยนไปตามสังคมและเวลา) ของคนอื่นผมไม่คิดว่ามันเป็นอาชญากรรมมันผิดเพียงกฎหมายของสังคมนั้นในเวลานั้นเท่านั้น(โลกกลมเมื่อก่อนผิด เดี๋ยวนี้ไม่ผิด)ถ้าเราละเมิดสิทธิตามธรรมชาติของคนอื่นผมคิดว่ามันเป็นเรื่องร้ายแรง เป็นอาชญากรรม(ฆ่าคนเมื่อก่อนผิด เดี๋ยวนี้ก็ยังผิด)สิทธิมนุษยชนก็มีพื้นฐานมาจากสิทธิตามธรรมชาตินี้และการปกป้องรักษาสิทธิเหล่านี้ ก็ไม่ได้เพื่ออะไร หรือใครนอกเหนือไปจากการปกป้องรักษาความเป็นมนุษย์ของเราเอง(ด้านล่างหลังเส้นแบ่ง "—-" ผมคัดลอกมาจากที่อื่นที่ผมเคยพิมพ์ไว้ที่อื่นเกี่ยวกับเรื่องนี้)—-สิทธิธรรมชาติ (natural right) เป็นแนวคิดของสิทธิถ้วนหน้า (universal right) ที่ติดตัวมากับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากกฎหมายหรือความเชื่อ เป็นสิทธิที่มีดำรงอยู่แม้จะไม่มีการบังคับ/รองรับสิทธิโดยรัฐบาลหรือสังคมก็ตามสิทธิตามกฎหมาย (legal right) เป็นสิทธิที่สร้างโดยรัฐบาลหรือสังคม เพื่อประโยชน์ของสมาชิกของตนหมายเหตุ: หลักคิดทางกฎหมายของแต่ละประเทศนั้นไม่เหมือนกัน บางประเทศมีแนวคิดเรื่องสิทธิธรรมชาติ บางประเทศไม่มีซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากลักษณะของกฎหมาย คือถ้ากฎหมายมีลักษณะว่า "ห้ามทำอะไรบ้าง"(ส่วนที่ไม่ได้ระบุในกฎหมายนั้น สามารถทำได้หมด)อันนี้มีลักษณะของความเชื่อในสิทธิธรรมชาติคือเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน (หรือสิ่งมีชีวิตทุกตัว) มีสิทธิในการที่จะทำอะไรก็ได้ตามเจตจำนงค์เสรีของตน แต่เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขเป็นสังคม ก็จำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิในการกระทำการบางอย่างส่วนถ้ากฎหมายมีลักษณะว่า "ทำอะไรได้บ้าง"(ส่วนที่ไม่ได้ระบุไว้ในกฎหมายนั้น ห้ามทำทั้งหมด)อันนี้ไม่มีลักษณะของความเชื่อในสิทธิธรรมชาติคือเชื่อว่า เราเกิดมาโดยไม่มีสิทธิอะไรติดตัวมาเลยเลย และเราจะมีสิทธิอะไรก็ตาม ก็ต่อเมื่อกฎหมายกำหนดเท่านั้น และกฎหมายก็สามารถริบสิทธิเหล่านั้นจากเราไปได้ทุกเมื่อ—-

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.