ต่อเนื่องจาก วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว – มีข้อสังเกตน่าสนใจจาก เชิงอรรถ ของ มหาวิหารกับตลาดสด (The Cathedral and the Bazaar)
น่าสังเกตพอๆ กัน ว่าในชุมชนโอเพนซอร์สนั้น รูปแบบโครงสร้างชุมชนก็ตรงกับหน้าที่ที่ทำในหลายระดับ เครือข่ายนี้ครอบคลุมทุกอย่างและทุกที่ ไม่ใช่แค่อินเทอร์เน็ต แต่ผู้คนที่ทำงานยังได้สร้างเครือข่ายแบบกระจาย ขึ้นต่อกันอย่างหลวมๆ ในระดับเดียวกัน ที่มีส่วนที่ทดแทนกันได้เกิดขึ้นกลายส่วน และไม่ล้มครืนลงแบบทันทีทันใด ในเครือข่ายทั้งสอง แต่ละกลุ่มจะมีความสำคัญแค่ในระดับที่กลุ่มอื่นต้องการจะร่วมมือด้วยเท่านั้น
ตรงส่วน “ในระดับเดียวกัน” นี้ สำคัญมากสำหรับผลิตภาพอันน่าทึ่งของชุมชน ประเด็นที่โครพอตกินพยายามจะชี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ได้ถูกพัฒนาต่อไปโดย ‘หลัก SNAFU’ ที่ว่า “การสื่อสารที่แท้จริง จะเกิดได้ระหว่างคนที่เท่าเทียมกันเท่านั้น เพราะผู้ที่ด้อยกว่าจะได้รับการตอบแทนอย่างสม่ำเสมอกว่า ถ้าพูดโกหกให้ผู้ที่เหนือกว่าพอใจ เทียบกับการพูดความจริง” ทีมงานที่สร้างสรรค์จะขึ้นอยู่กับการสื่อสารอย่างแท้จริง และจะถูกขัดขวางอย่างมากจากการมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ชุมชนโอเพนซอร์ส ซึ่งปราศจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าว จึงได้สอนเราในทางตรงกันข้าม ให้รู้ถึงข้อเสียของความสัมพันธ์ดังกล่าวในรูปของบั๊ก ผลิตภาพที่ถดถอย และโอกาสที่สูญเสียไป
ข้อสังเกตนี้ ชี้ว่า ในการผลิตแบบเท่าเทียม (peer production) ชุมชนที่จะมีประสิทธิภาพควรจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชุมชนแบบเท่าเทียม/ในระดับเดียวกัน … แล้วความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวิกิืพีเดีย(ไทย)เป็นแบบไหน ?
technorati tags:
Wikipedia,
Thai Wikipedia,
peer production
3 responses to “Does Wikipedia a real peer-to-peer production ?”
ผมเห็น mediawiki แล้วนึกถึง SVN เลยคิดๆว่าจะมีอะไรเหมือน BZR หรือ TLA บ้างหรือเปล่า :-Pทำงานคล้ายๆ blog แต่ว่าเป็น blog ที่แก้มาจาก blog ของคนอื่นอีกทีได้ แตก branch กันอย่างเมามัน (แต่ละ branch ก็ keep revision ของตัวเองไว้) ใครของใครก็ sync กันเอาได้ เอา aggregator วิ่งหาบทความตาม social network ได้
ประเด็นที่ bact' ว่ามา น่าสนใจมากแต่ผมอยู่ห่างจาก thai wikipedia เหลือเกินbact' พอจะเขียนเรื่องเล่าได้มากกว่านี้หรือเปล่า?
นึกไม่ออกว่าจะเล่าอย่างไรดีครับคิดว่าเรื่องหลัก ๆ ตอนนี้มันคงเป็นสองเรื่อง1) กระบวนการดูแลรักษา/แก้ไขปรับปรุง คุณภาพของเนื้อหา2) กระบวนการ {ตรวจสอบ,กระจายอำนาจ,คานอำนาจ} การตัดสินใจ (ไม่ว่าจะเป็นการลบข้อความ บล็อกผู้ใช้ โปรโมตบทความให้ติดดาว ตั้ง/ถอดถอนผู้ดูแล ฯลฯ)ถ้าจะยกคำพูดฮิต ๆ (ฮิตมั้ง, อาจจะเคย) มาใช้คงต้องบอกประมาณว่าโครงการวิกิพีเดีย ควรจะมีสภาพทำนอง "นิติรัฐ"คือต้องมีหลักการอะไรมากำหนดกรอบบ้างไม่ใช่ปล่อยไหลไปตามกระแสนิยม,ประชานิยมปล่อยไปตามการโหวต/การพูคคุยตกลงเพียงอย่างเดียว(หรือเอะอะอะไรก็ 19 ล้านเสียง :P)ฟังดูแล้วขัด ๆ กับเรื่องพลังชุมชน เรื่องความเสรีแต่เป้าของวิกิพีเดียนั้นมันมีอยู่ คือ เป็นสารานุกรมการที่จะบอกว่าอะไรเป็นหรือไม่เป็นสารานุกรมนั้น มันก็ควรจะมีหลักของมันอยู่ — จะเป็นแบบไหนก็แล้วแต่จะตกลงกัน — แต่มันควรจะต้องชัดเจนและค่อนข้างนิ่ง จะได้อ้างอิงได้การที่มีอะไรให้อ้างอิง ให้ยึดได้นอกจากจะทำให้เกิดมาตรฐานในการทำงานแล้ว- ก็น่าจะทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานดีขึ้นด้วยเพราะคนไหนสงสัยอะไร ก็ไม่ต้องรอถาม หรือกล้า ๆ กลัว ๆ ก็ดูหลักเกณฑ์ที่มี ว่าไปตามนั้นและ ไม่จำเป็นจะต้องมาเสียเวลาทำความตกลงเวลามีข้อขัดแย้งกันทุกครั้ง ผิดถูกว่าไปตามหลักเกณฑ์(ถ้าเห็นว่าหลักเกณฑ์มันควรต้องปรับปรุง นั่นก็เป็นอีกเรื่อง ซึ่งก็ทำได้)