Tag: Wikipedia

  • พฤหัด 1 + พบค่ำ 4: สร้างวัตถุดิบเพื่อสังคมความคิด [19 พ.ค. 2555]

    พฤหัด 1 + พบค่ำ 4: สร้างวัตถุดิบเพื่อสังคมความคิด [19 พ.ค. 2555]

    บันทึกจากงาน พฤหัด OpenStreetMap กับ โรงเรียนพ(ล)บค่ำ @nuling บ.ก.ลายจุด คุยเรื่อง online-offline ไปจนถึงวิกิพีเดีย และโครงการช็อปปิ้งบริจาคหนังสือ

  • Wikipedia founder: Censorship is a barrier to Thailand progess

    “Thailand should recognise that censorship is a barrier to progress.” — Jimmy Wales, Wikipedia founder “ประเทศไทยควรสำนึกว่าการเซ็นเซอร์เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้า” — จิมมี เวลส์, ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย สำหรับคนที่ใช้เน็ตทรู หรือเน็ตยี่ห้ออื่น ๆ ที่เข้าวิกิพีเดียไม่ได้ ลอง OpenDNS (อ.มะนาว อธิบายอย่างละเอียดไว้) — ใช้ได้หรือไม่ได้ยังไง อย่าลืมโทรไปบอกศูนย์บริการด้วย ผู้บริโภคอย่างเราก็มีสิทธิ [ ลิงก์ Bangkok Post Database, FACT | ผ่าน blognone ] technorati tags: censorship, Jimmy Wales

  • Jimmy Wales in Bangkok

    ชมบันทึกภาพการบรรยายการสัมภาษณ์ของ จิมมี เวลส์, ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย, ที่งาน Bangkok ICT Expo 2007 ได้ที่เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ technorati tags: Wikipedia, Jimmy Wales, Thailand

  • Thai Wikipedia survey

    ผลการศึกษาจากแบบสอบถามการใช้งานเว็บไซต์วิกิพีเดียไทย การสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หัวข้อ “สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทยกับการสื่อสารความรู้สู่สาธารณะ” โดยนิสิตปริญญาโท ภาควารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์) ดูได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/User:Tummy/finding technorati tags: Thai Wikipedia, survey

  • Thai Wikipedia content policies

    (ต่อเนื่องจาก วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว (?)) ไปช่วยกันดู สามนโยบายหลัก ด้านเนื้อหา ของวิกิพีเดียไทย กันหน่อย 🙂 วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง (WP:NPOV)   en: Wikipedia:Neutral point of view วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ (WP:NOR)   en: Wikipedia:No original research วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ (WP:V)   en: Wikipedia:Verifiability ลบเพิ่มแก้ไข ได้ตามสบาย วิพากษ์วิจารณ์ ให้เหตุผล ตั้งคำถาม อภิปราย ได้ที่หน้า “อภิปราย” ของแต่ละบทความ เกี่ยวข้อง: วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ (WP:RULES) technorati tags: Thai Wikipedia, Wikipedia, style guide

  • Does Wikipedia a real peer-to-peer production ?

    ต่อเนื่องจาก วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว – มีข้อสังเกตน่าสนใจจาก เชิงอรรถ ของ มหาวิหารกับตลาดสด (The Cathedral and the Bazaar) น่าสังเกตพอๆ กัน ว่าในชุมชนโอเพนซอร์สนั้น รูปแบบโครงสร้างชุมชนก็ตรงกับหน้าที่ที่ทำในหลายระดับ เครือข่ายนี้ครอบคลุมทุกอย่างและทุกที่ ไม่ใช่แค่อินเทอร์เน็ต แต่ผู้คนที่ทำงานยังได้สร้างเครือข่ายแบบกระจาย ขึ้นต่อกันอย่างหลวมๆ ในระดับเดียวกัน ที่มีส่วนที่ทดแทนกันได้เกิดขึ้นกลายส่วน และไม่ล้มครืนลงแบบทันทีทันใด ในเครือข่ายทั้งสอง แต่ละกลุ่มจะมีความสำคัญแค่ในระดับที่กลุ่มอื่นต้องการจะร่วมมือด้วยเท่านั้น ตรงส่วน “ในระดับเดียวกัน” นี้ สำคัญมากสำหรับผลิตภาพอันน่าทึ่งของชุมชน ประเด็นที่โครพอตกินพยายามจะชี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ได้ถูกพัฒนาต่อไปโดย ‘หลัก SNAFU’ ที่ว่า “การสื่อสารที่แท้จริง จะเกิดได้ระหว่างคนที่เท่าเทียมกันเท่านั้น เพราะผู้ที่ด้อยกว่าจะได้รับการตอบแทนอย่างสม่ำเสมอกว่า ถ้าพูดโกหกให้ผู้ที่เหนือกว่าพอใจ เทียบกับการพูดความจริง” ทีมงานที่สร้างสรรค์จะขึ้นอยู่กับการสื่อสารอย่างแท้จริง และจะถูกขัดขวางอย่างมากจากการมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ชุมชนโอเพนซอร์ส ซึ่งปราศจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าว จึงได้สอนเราในทางตรงกันข้าม ให้รู้ถึงข้อเสียของความสัมพันธ์ดังกล่าวในรูปของบั๊ก ผลิตภาพที่ถดถอย และโอกาสที่สูญเสียไป ข้อสังเกตนี้ ชี้ว่า ในการผลิตแบบเท่าเทียม (peer production) ชุมชนที่จะมีประสิทธิภาพควรจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชุมชนแบบเท่าเทียม/ในระดับเดียวกัน … แล้วความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวิกิืพีเดีย(ไทย)เป็นแบบไหน…

  • Thai Wikipedia is Failing

    คุณ Patiwat จุดประเด็นเอาไว้ (ผมขออนุญาตแปลไว้ตรงนี้): บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ที่ชื่อ “Wikipedia is Failing” [วิกิพีเดียกำลังล้มเหลว] ทำให้ผมต้องพิจารณาอย่างหนักว่า วิกิพีเดียไทยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง. ผลลัพธ์นั้นชวนหดหู่. โปรดสังเกตว่าบทความดังกล่าวนั้น ไม่ได้ ชื่อว่า “Wikipedia Can Improve” [วิกิพีเดียยังพัฒนาได้]. ผู้เขียนได้บอกเป็นนัยว่าปัญหาเชิงระบบและปัญหามูลฐานนั้นคือต้นเหตุแห่งความล้มเหลว. นี่คือการพิจารณาชั้นต้นในตัวชี้วัดที่พอเทียบเคียงได้ในวิกิพีเดียไทย. ไปอ่านข้อเขียนนี้+ความเห็นจากชาววิกิพีเดียอื่น ๆ ได้ที่ “วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว” สำหรับผมแล้ว ปัญหา “สองมาตรฐาน” (double standard) คือปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของวิกิพีเดียไทย สองมาตรฐาน เช่น บางครั้งก็เข้มงวดกับกฎเกณฑ์ บางครั้งก็ผ่อนปรน โดยที่ไม่แน่ชัดว่า อะไรคือหลักในการพิจารณาว่าเมื่อไรถึงจะเข้มหรือจะผ่อน หรือเนื้อหาลักษณะเดียวกัน แต่เขียนโดยคนละคน กลับได้รับการเพ่งเล็งปฏิบัติแตกต่างกัน ฯลฯ ความอัปลักษณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในวิกิพีเดียไทยตอนนี้ ผมเห็นว่ามีรากฐานมาจากปัญหา (ทัศนคติ?) ดังกล่าวทั้งสิ้น และปัญหานี้เองที่จะทำให้วิกิพีเดียค่อย ๆ เสื่อมลงได้อย่างเป็นระบบ ทำไมผมจึงเห็นว่า มันเป็นกระบวนการเสื่อมลงอย่างเป็นระบบ ?…

  • Free Encyclopedia, only Free as in Free Beer

    จาก หน้าหลัก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี วันที่ 22 กันยายน 2549 ประกาศ โปรด งดแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในระยะ 2 สัปดาห์นี้ แต่ยังคงเขียนข้อเท็จจริงทางการเมืองได้ตามปกติ โอว งงอ่ะเด่ะ 😛 update: วันนี้ (23 ก.ย.) มีคนเอาประกาศอันนั้นออกไปแล้ว (เข้าไปดูได้ที่ แม่แบบ:ประกาศ กดที่ “ประวัติ” เพื่อดูประวัติการแก้ไข) แต่ ยัง ยังไม่หมด ที่หน้า รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 กับ คปค. มีป้ายนี้ด้วย: โปรดทราบ เนื่องจากมี คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 5/2549 เรื่อง ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยห้ามเขียน บทความ ข้อความ คำพูด หรืออื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นอันขาด หากทางชาววิกิพีเดียเห็นว่าไม่เหมาะสม สามารถดำเนินการลบได้ทันที…

  • Thai Wikipedia Top 100 Edits

    WikiCharts แสดง 100 อันดับบทความวิกิพีเดีย(ภาษาอังกฤษ)ที่มีคนเข้าดูมากสุด หลัก ๆ ก็เป็นพวก ดาราโป๊, เซ็กซ์, มวยปล้ำอาชีพ, เหตุการณ์ปัจจุบัน, การ์ตูน, เกม, เมือง/ประเทศ … อืมมม สารานุกรมเพื่อมนุษยชาติจริง ๆ 😛 สำหรับวิกิพีเดียไทย สถิติอ่านเท่าไหร่นี่ไม่ทราบ แต่ถ้าสถิติเขียน เท่าที่สังเกต ก่อนหน้านี้ซักสามสี่เดือน คงเป็นพวกการ์ตูน/มังงะ แต่ถ้าช่วงนี้ตั้งแต่ใกล้ ๆ งาน 60 ปีในหลวงเป็นต้นมา ก็คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้านายและราชวงศ์ต่าง ๆ สำหรับเมื่อต้นปี ช่วงที่การเมืองไทยทะลักจุดเดือด บทความเกี่ยวกับนายกและนักการเมืองอื่น ๆ นั้นก็ฮอตฮิต (จนแทบจะฟาดปากกัน :P) สถิติวิกิพีเดียไทย จากหน้า บทความที่มีการแก้ไขมากที่สุด เมื่อ 9 ก.ย. 2549 : หน้าสารานุกรม ที่มีการแก้ไขมากที่สุด 100 อันดับแรก แฟนพันธุ์แท้ ‎(478 ครั้ง) คุณครูจอมเวท…

  • Wiki 2.0

    WOS4 Workshop – Wiki 2.0: The Most Powerful Extensions for MediaWiki 14 Sep 2006, Erik Möller, on Wikidata, Semantic MediaWiki, LiquidThreads and more part of Wizards of OS 4 : Information Freedom Rules International conference, 14-16 Sep 2006 @ Columbiahalle, Berlin MediaWiki 2.0 proposals LiquidThreads — a better place to talk about wiki page Wikiflow…