Safe is Unsafe


“We reject every form of legislation”
“เราปฏิเสธการออกกฎหมายทุกรูปแบบ”
Mikhail Bakunin บิดาแห่งลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่

ไม่มีป้าย ไม่มีสัญญาณไฟ ไม่มีถนน ไม่มีทางเท้า และไม่มีกฎ — ผู้ใช้เส้นทางเคารพซึ่งกันและกัน
เมือง 7 เมืองในยุโรป ปลดป้ายจราจรทิ้ง

“กฎหลายอย่างได้ฉวยเอาสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งไปจากเรา: ความสามารถในการ คิดถึงความคิดของผู้อื่น.
เราได้สูญเสียความสมรรถภาพในการมี พฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม”
ฮานส์ มอนเดอร์มาน ผู้เชี่ยวชาญการจราจรชาวดัตช์, หนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ, กล่าว
“จำนวนคำสั่งที่ยิ่งมาก ความรู้สึกรับผิดชอบต่อตัวเองของผู้คนยิ่งหดลง”

ผลลัพธ์ก็คือ ผู้ขับขี่พบว่าตัวพวกเขานั้นถูกล้อมรอบไปด้วยคำสั่งต่าง ๆ ที่บีบรัด,
ดังนั้นพวกเขาจึงได้พัฒนา “สายตาแบบท่อ” [tunnel vision – อาการพิการทางสายตา มองไม่เห็นสิ่งรอบข้าง]:
พวกเขาจะค้นหาช่องทางที่จะได้เปรียบอยู่เสมอ และความประพฤติที่ดีก็จะไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขา


แนวคิดเรื่องไม่มีป้ายจราจรนี้ เคยอ่านเจอเมื่อสองสามปีก่อน ในหนังสือชื่อ
Emergence: The Connected Lives of Ants, Brains, Cities, and Software โดย Steven Johnson
เค้าพูดอยู่ตอนหนึ่ง เท่าที่จำได้นะ ถ้าไม่ผิด เขาพูดถึงเมือง ชีวิตของเมือง ข้อเปรียบเทียบระหว่างเมืองที่มีผู้คนเดินไปมา กับเมืองที่มีถนนใหญ่วิ่งผ่าน (และไม่ค่อยมีคนเดิน) แล้วก็มีพูดถึงเมืองเล็ก ๆ (ในเนเธอร์แลนด์?) ที่ไม่มีทางเท้าไม่มีถนน คนและรถใช้ทางร่วมกัน ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ที่สี่แยกก็เป็นวงเวียนแทน ตรงไหนจะให้ขับช้า ก็ทำผิวถนนเป็นอีกแบบ ฯลฯ คือใช้ลักษณะทางกายภาพมาบังคับ/เตือนแทนที่จะเป็นคำสั่ง — แล้วมันก็ทำงานของมันได้ — คุณไม่ต้องไปสร้างกฎอะไรให้ฝูงชนหรอก ขอให้ฝูงชนเหล่านั้นสามารถสื่อสารกันเองได้ ที่สุดฝูงชนก็จะสร้างข้อตกลงเฉพาะหน้า ที่จะทำให้ปัญหาถูกแก้ไขไปได้ทีละเปลาะเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นไปแบบพลวัติ (dynamic)

อ่านเรื่อง “กฎเยอะ ๆ” แล้วนึกถึงบทสัมภาษณ์ อ. เกษม เพ็ญภินันท์ นักวิชาการด้านปรัชญา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ประชาไท: คุยกับนักปรัชญา: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง:

“ผมคิดว่าปัญหาศีลธรรมในสังคมไทยคือ การมีข้อบังคับมากกว่าหลักปฏิบัติ มีข้อบังคับห้ามโน่นห้ามนี่ตลอดเวลา สิ่งที่น่าสนใจคือ เวลาที่คนไทยสอนศีลธรรมหรือสอนเนื้อหาทางศาสนา คุณเน้นศีลมากกว่าธรรม เวลาที่คุณห้าม นั่นหมายความว่า อะไรที่ไม่ถูกห้าม คุณก็ทำไป คุณทำได้ ในขณะที่ธรรม ในความหมายของแนวทางปฏิบัติ กลับไม่ได้ถูกสอน ไม่ได้บ่มเพาะให้กับสังคม”

ผมเห็นด้วย


เกี่ยวข้อง: ทาสของกฎ โดย wonam

[ ผ่าน slashdot ]

updated 2007.05.28: Thai Friend Forum เปลือยถนน จนน่าเดิน (มีรูปถนนเปลือยในลอนดอน)

tags:
,
,
,


3 responses to “Safe is Unsafe”

  1. อึดอัดกับการตั้งกฎเหมือนกันเคยเขียนไว้ทีตอนที่นิสิตชมรมคอม (กลุ่มหนึ่ง) ตั้งกฎกันใหญ่ แต่ตอนนั้นรู้สึกว่าคุยกับพวกเขาไม่รู้เรื่องนะ: ทาสของกฎ

  2. จริงๆ คนไทยชินกับการอยู่ในกรอบในระเบียบรึเปล่า โดนกันมาตั้งแต่เล็กๆ ตั้งแต่เข้าโรงเรียน ผมต้องยังไง เสื้อผ้าต้องยังไง รองเท้าต้องมัน … แต่เหตุผล ไม่มีใครบอก ทุกอย่างเรียนรู้ได้เอง ..แต่เมื่อไรไม่รู้ เช่นเดียวกัน ในเรื่องศีลกับธรรม .. คนสอนอาจจะคิดว่า บอกกฎไป เดี๋ยวมันทำ มันก็สามารถเรียนรู้กันไปเรื่อยๆ ได้เองรึเปล่า ไม่ต้องอธิบายมากหรอก แนวใครแนวมัน แต่จริงๆ คุ้นๆ ว่าตอนเรียนพุทธศาสนาก็มีสอนควบคู่กันไปนะ ศีลกับธรรม แต่รู้สึกว่า แม่ง! จำแค่ศีลก็พอวะ ส่วนธรรม มันเป็น common sense นะ ไม่ต้องไปสนใจ เดี๋ยวก็เนียนไปได้เอง -_-" นั่นก็เป็นอีกสาเหตุด้วยรึเปล่า ???จะว่าไป น่าจะไปลองใช้เรื่องนี้ที่สิงคโปร์แฮะ ..อยากรู้ว่าเค้าจะมีความสุขกันแค่ไหน 😛 ??

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.