-
BEHAVE! – Big Brother Is Watching You!
รายงาน จับตา ไอซีที : ออก กม.ลูก บังคับเก็บประวัติคนเล่นเน็ต เลข 13 หลัก เลขบัญชี เลขบัตรเครดิต (ประชาไท) ประกาศกฎกระทรวง เกี่ยวกับข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (เพื่อประกอบใช้กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) ข้อ 6 ผู้ให้บริการ มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ดังนี้ (1) ข้อมูลที่สามารถระบุและติดตามถึงแหล่งกำเนิด ต้นทางของการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ (2) ข้อมูลที่สามารถระบุปลายทางของการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ (3) ข้อมูลที่สามารถระบุพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่น วันที่ เวลา ปริมาณการติดต่อ และระยะเวลาของการติดต่อสื่อสารระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ให้บริการเก็บเพียงเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการของตน พี่ใหญ่เค้าอยากจะรู้ทุกอย่าง ดูข่าวเพิ่มเติม ฐาน, blognone, ประชาไท หลักพื้นฐานทั่วไปอันหนึ่ง ที่น่าจะใช้เป็นแนวทางพิจารณาตรวจสอบขอบเขตอำนาจกฏกระทรวงอันนี้ได้ ว่าล้ำเส้นเกินไปหรือไม่ คือ หลักการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ OECD ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ (อ้าง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ…
-
Free Thai Cinema – Revise the Film & Video Act
Free Thai Cinema Movement ความเป็นมา และการเคลื่อนไหวเรียกร้อง ให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ฉบับ พ.ศ…. [ ลิงก์ filmsick ] technorati tags: films, Thai
-
Big Brother State
ข้อความจาก คณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (จัดตั้งตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544) แผนการดำเนินงานและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ ที่ควรเร่งผลักดัน คณะอนุกรรมการฯ มีแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นลำดับ โดยการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลใช้บังคับ ทางคณะอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาและพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความพระราชบัญญัติฯ แล้วเสร็จ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำพระราช บัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับ พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. …. รวมถึงการพิจารณายกร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหน่วยงานธุรการและผู้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการ และการร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่อยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. …. , ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พ.ศ. …. จากข้อมูลในหน้าเว็บนั้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย สำหรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้น ประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับ…
-
personal is personal
ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เป็นของเรา เราต้องการ พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. เดินเข้าร้านกาแฟ ต้องลงเวลาเข้าออก เดินเข้าโรงหนัง บันทึกว่าดูเรื่องอะไร เดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ขอดูบัตรประชาชน จะเก็บนั่นเก็บนี่ ตรวจตราสอดส่อง(แส่)ไปทุกเรื่อง – แล้วคุ้มครองป้องกันอะไรให้เราไหม ? มีหลักประกันอะไรให้เราไหม ? ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ technorati tags: privacy
-
Military Justice Is to Justice as Military Music Is to Music
“Il suffit d’ajouter ‘militaire’ à un mot pour lui faire perdre sa signification. Ainsi la justice militaire n’est pas la justice, la musique militaire n’est pas la musique.” “It is enough to add ‘military’ to a word to make it lose its significance. Thus military justice is not justice, the military music is not the…
-
Internet regulation conference at US Embassy (15 Mar 2007)
(เพิ่งจะค้นเจอครับ หลายคนเคยถามเข้ามา ตอนที่ผมเคยอ้างถึงกรณีพันทิป.คอม ลองกดไปฟังดูได้ครับ) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา, ฝ่ายข่าวสารและประชาสัมพันธ์ สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้จัดการประชุมทางไกลข้ามทวีป (DVC) ในหัวข้อเรื่อง “กฎระเบียบและการตรวจพิจารณาเนื้อหาในอินเตอร์เน็ต” ที่สถานทูตสหรัฐฯ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคือ ศ. จอห์น พัลฟรีย์ จาก Berkman Center for Internet & Society โรงเรียนกฎหมาย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมการประชุมจากเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สำหรับผู้ร่วมการประชุมฝ่ายไทยได้แก่ ผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ นักเคลื่อนไหว และผู้ใช้อินเตอร์เน็ต สำหรับวิทยากรฝ่ายไทยได้แก่ ดร. พิรงรอง รามสูต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต, สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.), มณีรัตน์ ผลิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, วันฉัตร ผดุงรัตน์ เจ้าของเว็บไซต์พันทิป.คอม,…
-
demystifying Compulsory Licensing
คนชายขอบ นำเสนอเรื่อง CL ยาเอดส์ – ตีแตกทีละประเด็น: ความเข้าใจผิดและข้อเท็จจริง กรณีการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (CL) บนยารักษาโรคเอดส์ * CL = Compulsory Licensing = มาตรการบังคับใช้สิทธิ, วิกิพีเดียอธิบายว่า: มาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licensing หรือ CL) หรือ สิทธิเหนือสิทธิบัตร คือการที่รัฐบาลออกมาตรการบังคับต่อเจ้าของสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิผูกขาดอื่นใด โดยให้รัฐหรือใครก็ตามได้รับสิทธิในการใช้สอยงานนั้นๆ โดยชอบธรรม. โดยปกติแล้วเจ้าของสิทธิมักจะได้รับค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิจากกรณีนี้ ซึ่งอาจจะมีระบุไว้ในตัวบทกฎหมายหรือตัดสินโดยผู้ชี้ขาดแล้วแต่กรณีไป. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณี ไทย CL ยาเอดส์ และความขัดแย้งกับบริษัทแอ๊บบอต(-แอ๊บแบ้ว) ดูได้ที่เว็บไซต์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และเว็บข่าวประชาไทมีรายงานเรื่องนี้อยู่ตลอด ร่วมลงชื่อบอยคอต แอ๊บบอต technorati tags: compulsory licensing
-
lèse majesté
คุณ An Observer ได้กรุณาคัดลอกบทความมาให้อ่านกัน: นิธิ เอียวศรีวงศ์, หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, มติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ 13-19 เมษายน 2550 David Streckfuss, Is it time to discuss lese majeste law?, Bangkok Post ข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มักถูกใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการ “ควบคุม/ตัดตอนการแสดงความคิดเห็น” (ของทั้งบุคคลทั่วไปและสื่อ) และเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังเสียด้วย เพราะสังคมเรา (โดยเฉพาะในช่วงเฉลิมฉลองเช่นปัจจุบันนี้) มักจะไม่ค่อยตั้งคำถาม และพร้อมจะเชื่อข้อกล่าวหาทำนองนี้อยู่เสมอ อ่านต่อ: Etat de droit, เมื่อความศรัทธาและขาดสติครอบงำ technorati tags: censorship
-
Taisoc
ที่โอเพ่นออนไลน์มีบทความใหม่ ประเด็นร้อนตอนนี้ merveillesxx : เมื่อกองเซ็นเซอร์ดับ “แสงศตวรรษ” – หนัง เซ็นเซอร์ เรทติ้ง ยูทูบ ซีเอ็นเอ็น ยุกติ มุกดาวิจิตร : Online-phobia – สังคมออนไลน์ รัฐ ชาติ การควบคุม ยูทูบ ไอซีที สนธยา ทรัพย์เย็น : แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) แสงสะท้อนความอัปยศอดสูของชนเผ่าสยาม – ภาษาหนัง (update) เดือนก่อน อ่านภาคผนวกของ 1984, เรื่อง Newspeak (นิวสปีก) เจ๋งดี (ตัวนิยายยังไม่ได้อ่านหรอกนะ ข้ามมาอ่านภาคผนวกเลย) ผมว่ามันทำได้จริง ๆ นะ ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดมาก (อย่างน้อยนักภาษาศาสตร์และนักจิตวิทยาส่วนหนึ่งก็เชื่อเช่นนั้น) เช่นเวลาเราคิด เราคิดเป็นภาษารึเปล่า ? มันอาจจะไม่เสมอไป บางคนอาจแย้ง แต่ส่วนใหญ่แล้ว…
-
rules
ถ้า – กฎเยอะซับซ้อน สะท้อน ความไร้ระเบียบ แล้ว – ศาสนาประจำชาติในกฎหมาย สะท้อน ความไร้ศาสนา ? ข้อเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องบางส่วน จาก ไทยพูด.คอม: หมวดที่ 3 ควรเปลี่ยนชื่อหมวด จาก ‘สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย’ เป็น ‘สิทธิและเสรีภาพของประชาชน’ มาตรา 28 วรรคแรกที่ว่า “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและ เสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน” เสนอให้ตัดเรื่อง ‘ศีลธรรมอันดีงาม’ ออก และควรเพิ่มประโยค ให้เป็น “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและ เสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รัฐไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดว่าอะไรคือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ไม่ว่าจะผ่านหน่วยงานของรัฐหรือกลไกอื่นๆ” มาตรา 38 วรรคหนึ่ง ที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกาย ของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการ ปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” เสนอว่า ควรตัดประโยคเรื่องหน้าที่พลเมืองหรือความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมฯลฯ และเพิ่มความดังนี้ “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา…