-
(keep) watching the Cyber Crime Bill
ดูสิว่าไปถึงไหนกันแล้ว สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ ครั้งที่ 11/2550 technorati tags: Internet censorship, Internet, cyber-crime bill
-
l/awful
กฎหมายที่ถูกใช้ผิดวัตถุประสงค์บ่อย(ที่สุด?) มนุษย์นอกเครื่องแบบ เชิญตัวคนขายหนังสือ ‘ ฟ้าเดียวกัน’ ไปแล้ว! คนขายหนังสือฟ้าเดียวกันถูกตั้งข้อหา ‘หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ ถ้าอยากรู้ว่าเขา ‘หมิ่น’ กันยังไง เชิญสั่งซื้อหนังสือได้ที่ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน หรือลองถามตามแผงหนังสือ ผมเห็นที่ดอกหญ้าสยามสแควร์ กับ บุ๊คเชส สยามเช่นกัน ดูกรณีข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือกันบ่อย ๆ แล้ว ก็นึกไปถึง มาตรา 13 ในร่างพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. …. กลัวจะออกมาอีหรอบเดียวกัน แล้วแต่ท่านเจ้าพนักงานเลย จากวิกิพีเดีย: Lèse majesté: Few countries still prosecute lèse majesté. One exception is Thailand, where social activists like Sulak Sivaraksa were charged with the crime…
-
Forum on Computer Crime Act – 21 Dec
การเสวนารับฟังความคิดเห็น หัวข้อ “ร่วมวิพากษ์ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ….” วันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2549 8.30-16.30 น. โรงแรมดิเอมเมอรัล รัชดา กรุงเทพฯ (แผนที่) จัดโดย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ร่วมกับ 3 ชมรม/มูลนิธิ และ 4 สมาคมผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน เกี่ยวกับเจตนารมณ์และนัยสำคัญของร่างฯ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อสังเกต ข้อห่วงกังวล และข้อเสนอแนะ ร่วมกันจากทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างฯ ในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สมบูรณ์ต่อไป กำหนดการ 9:00-10:00 นำเสนอที่มาของ “คำนิยาม” & “ฐานความผิด” โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล 10:00-10:55, 11:00-12:00 นำเสนอการวิพากษ์ โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ คนที่ 2)…
-
Legalised It!
หากใครลองเปิดเทประหว่าง สนช. และ รมต. ฟังอีกรอบ คงจะหูผึ่ง!!! “ควรมีบทควบคุมไปถึงผู้ที่บรรจุข้อมูลในเซิบเวอร์จากต่างประเทศที่เผยแพร่ในไทย โดยเฉพาะข้อความที่หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเราต้องบล็อกข้อมูลลักษณะนี้ให้ได้ แต่จากที่ดูมาตรา 16 ทั้ง 8 อนุมาตรา ไม่มีตรงไหนสามารถบล็อกได้ จึงเป็นช่องว่างช่องโหว่ในการดำเนินการดังกล่าว” สนช. ท่านหนึ่งอภิปราย ฝ่ายรัฐมนตรีไอซีทีตอบว่า “ที่ผ่านมามีข้อความลงในเว็บไซด์ที่หมิ่นพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรง ทำให้ผมรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ จึงขอพิจารณากฎหมายของกระทรวงไอซีที 4 ฉบับ และนำเสนอเข้า ครม. อาจเป็นเพราะตนเป็นคนใจร้อน จึงขอให้ ครม. พิจารณาร่างกฎหมายนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน” อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ว่า ร่างของรัฐบาลที่ส่งมาเขียนไม่ชัดเจนหรือไม่ได้เขียน เมื่อเข้ามาในสภาก็ดีแล้ว กูจะเขียนให้ชัดแจ่มแจ๋วกว่าเดิมว่า รัฐสามารถ “บล๊อกเว็บไซต์” ได้ สนช. ผู้เปิดประเด็นนามว่า “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” หัวใจสำคัญในการแก้ไขร่างฉบับนี้จึงไม่ใช่การแก้ไขปรับปรุงมาตราใดมาตราหนึ่ง แต่อยู่ที่จะยินยอมเปิดทางให้อำนาจรัฐ “บล๊อกเว็บไซต์” ได้หรือไม่!!! หรืออาจกล่าวได้อีกทางว่า หลังปฏิวัติ 19 กันยา รัฐบาลทหารใช้อำนาจ “สีเทา ๆ ” ไล่ปิดไล่บล๊อกเว็บอุดตลุด ณ…
-
Computer Crime Act forum reports
รายงาน เสวนา ร่าง พรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2549 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายงานโดยประชาไท: ไม่ชอบธรรมตั้งแต่การออกกฎหมายโดย สนช. นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากทม.: “รัฐบาลนี้ควรจะแค่รักษาการ ไม่ใช่ออกกฎหมาย” “เพียงแค่อ่านมาตรา 13 ก็เห็นแล้วว่า เป็นร่างกฎหมายที่จะทำให้เสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต แย่กว่าสื่อสิ่งพิมพ์หลายเท่า” “หากตีความตาม มาตรา 13(2) แล้ว หากเพียงมีข่าวลือในอินเตอร์เน็ต เช่น ข่าวลือว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กำลังจะกลับมาเมืองไทย ก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้ หรือแม้แต่มีข่าวลือว่าจะเกิดรัฐประหารก็มีความผิดตามข้อนี้แล้ว เมื่อพูดว่าเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศนั้น มันกว้างมาก และไม่รู้ว่าความมั่นคงคืออะไร” “มาตรา 13 นี้จะต้องตัดทิ้งไปเลย อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายฉบับนี้จะแก้ที่รายมาตรายากมาก สิ่งที่ต้องทำคือต้องต่อสู้เพื่อคว่ำกฎหมายฉบับนี้ ให้รอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีกระบวนการที่ถามความเห็นวงกว้างในสังคม แต่ทุกกฎหมายที่เข้าสภา กลับทำแบบงุบงิบ ไม่เปิดประชาพิจารณ์” รายงานโดยพลวัต: เรื่องจำเป็นที่ไม่มีใครใส่ใจ นายพิชัย พืชมงคล สำนักกฎหมายธรรมนิติ :…
-
ridiculous 13
แย่แล้วครับ ! พี่น้อง ! ดูนี่ ๆ (จาก ร่าง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) มาตรา ๑๓ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้ … (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน … แปลว่า เราจะ.. อัพ/ดาวน์โหลด การ์ตูน หนัง นิยาย ฯลฯ ไม่ได้แล้ว … ก็มันเป็นเรื่องแต่งหมดอ่ะ — เป็นเท็จ! หนังผี เรื่องผี ยิ่งแล้วใหญ่ … ห้าม — ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน! แล้ว แผ่นดินไหว เนี่ย … ทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ เปล่าหว่า? girl friday: “มีเพลงรัก (น้ำเน่า) ในครอบครอง ก็มีความผิด เพราะทำให้หวั่นไหว เป็นภัยต่อความมั่นคง!” ไปสัมมนาแล้วเครียด…
-
Thailand’s Computer Crime Act
ยังไม่ได้อ่านกันแบบจริง ๆ จัง ๆ ซะที เฮ้อ เรื่อง ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (เดิมชื่อ ร่าง พ.ร.บ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์) ร่างพ.ร.บ.อันนี้ เป็นร่างพ.ร.บ.แรก ที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร 19 กันยา 2549) ผ่านรับหลักการ และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยตรง โดยเฉพาะเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น วันพฤหัสนี้ มีเสวนาเรื่องนี้ ที่คณะนิติ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บ่ายโมงครึ่ง ถึงสี่โมงครึ่ง ไปได้ก็ไปกัน โครงการเสวนา “ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร: ทางมืดหรือสว่างของสิทธิเสรีภาพในโลกไร้พรมแดน ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 เวลา 13.30-16.30 น. อ่านประกอบก่อนไป (ได้ก็ดี) — ผมไป สนช. เปิดประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมายเอาผิดทางคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บไซต์…
-
Wiretapping = Unconstitutional
ศาลกลางสหรัฐอเมริกา (federal court) ตัดสินว่า การดักฟังโดยไม่ต้องมีหมาย (warrantless wiretapping program) ของสภาความมั่งคงแห่งชาติสหรัฐ (National Security Agency) นั้นขัดกับรัฐธรรมนูญสหรัฐ (unconstitutional) และมีคำสั่งให้หยุดโปรแกรมนี้ทันที via slashdot via CNN tags: wiretapping, warrantless, NSA, National Security Agency, USA
-
777
บางส่วนจากบทสัมภาษณ์ รศ.ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : นายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่มาตรา 7 ไทยโพสต์ 12 มีนาคม 2549 “มันขัดกับรัฐธรรมนูญ ยกมาตรา 7 อยู่เหนือกว่าบทบัญญัติทุกมาตราในรัฐธรรมนูญ เป็นไปได้ยังไง… ถ้าจะอ้างก็ต้องอ้างอย่างเดียวว่าขอพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในยามวิกฤติ” “ผมมองว่าเท่ากับยืมมือในหลวงปลดนายกฯ และที่สุดแล้วในแง่ของการเคลื่อนไหวมันจะได้เรียนรู้อะไรล่ะ ในแง่ของประชาธิปไตย ถามว่าที่สุดสังคมเราได้อะไร เราไม่ปฏิเสธว่าเรามีในหลวงซึ่งทรงมีพระอัจฉริยภาพ เรียกว่าในแผ่นดินนี้ไม่มีใครเทียบทาน หรือมีประสบการณ์ในทางการเมืองมากเท่ากับในหลวง แต่ว่าต้องระวัง เพราะตอนนี้ทุกคนก็เรียกร้องหมด กำนันผู้ใหญ่บ้านก็เรียกร้องให้เลือกตั้ง แล้วถามว่าจะให้พระองค์ท่านตัดสินเหรอ ให้ตัดสินก็เท่ากับให้พระองค์เลือกข้าง ไม่ควรเลย” ถามว่าถ้านายกรัฐมนตรีรักษาการลาออก ในทางรัฐธรรมนูญจะมีผลอย่างไร “ตัวนายกฯ รักษาการไม่อยู่ แต่ ครม.ยังมี มันจึงไม่มีพ้นจากการรักษาการได้อีก เมื่อนายกฯ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ พูดง่าย ๆ คือ ครม.ตายไปแล้ว ถ้าทักษิณลาออกจากรักษาการ โดยกลไกก็ต้องเอารองนายกฯ คนใดคนหนึ่งขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี” ถ้าเอาคนนอกมารักษาการได้ไหม “ไม่ได้ เพราะตัว ครม.เขายังอยู่นี่ครับ ถ้า ครม. 36…
-
Public Opinions – Thai Laws
ผู้จัดการออนไลน์ แนะนำ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ร่างกฎหมายใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน และอื่น ๆ สามารถเข้าไปอ่านกฎหมายทุกฉบับ และเสนอความคิดเห็นได้ www.law.go.th ตัวอย่าง: ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ….