-
“อินเทอร์เน็ตภิบาลกับประชาสังคม” / “ยกเลิกกฎหมายความมั่นคง”
ประชาสัมพันธ์สองงาน พรุ่งนี้ (เสาร์ 4 กันยา) 12:30 ที่ร้านกาแฟวาวี ซอยอารีย์ มี เวิร์กช็อปและแลกเปลี่ยน “อินเทอร์เน็ตภิบาลกับประชาสังคม” กลางเดือนนี้ วันที่ 14-17 ก.ย. จะมี Internet Governance Forum ครั้งที่ 5 เป็นที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลระดับโลก คุยกันเรื่องการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต และประเด็นท้าทายใหม่ ๆ ที่ต้องรับมือ จะมีผู้เข้าร่วมจากภาคประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปร่วมด้วย ถึงจะไม่กี่คน แต่ก็พยายามจะให้มันมีอินพุตมีเสียงจากชายขอบของชายขอบอีกทีบ้าง (คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มันก็ชายขอบในวง IGF อยู่แล้ว แล้วภาคประชาสังคมมันก็ชายขอบของชายขอบไปอีกที) สำหรับประเทศไทยจะตัวแทนจากเครือข่ายพลเมืองเน็ตไปด้วย เขาก็เลยนัดกันว่า วันเสาร์นี้ เจอกันที่วาวีละกัน มาคุยกัน ใครสนใจอยากจะแลกเปลี่ยน เผื่อฝากประเด็นอะไรไปที่เวทีนี้ ก็ฝากได้ หรือใครอยากจะเข้าร่วมแบบทางไกล ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ IGF เขาจะเตรียมไว้ให้ วันเสาร์นี้ก็มีเวิร์กช็อปเล็ก ๆ แนะนำเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ด้วย เป็นการเตรียมตัวเตรียมพร้อม ใครสนใจก็เชิญนะครับ อีกเรื่อง อย่างที่เราก็ได้เห็นมาแล้ว ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาในกรุงเทพ […]
-
computer crime?
ความผิดตามกฎหมายนั้น มีทั้งที่เป็น ความผิดอาญา (crime) และความผิดที่ไม่ใช่อาญา หากจะพิจารณาว่า อะไรควรจะนับเป็น อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime) และอะไรที่จะนับเป็นเพียง ความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เราจำเป็นจะต้องพิจารณาว่า อะไรคือ ความผิดอาญา และอะไรที่ไม่ใช่ บางส่วนจากบทความ การกำหนดความผิดอาญา ตามกฎหมายเยอรมัน – สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์ ที่ BioLawCom.de เพื่อการศึกษาแนวคิดในการกำหนดความผิดอาญา ในประเทศอื่น ในการถกเถียงเกี่ยวกับข้อปรับปรุงกฎหมายอาญาเมื่อสิบปีก่อนนั้น ประเด็นที่ว่า กฎหมายอาญาควรที่จะมีไว้เพื่อคุ้มครองนิติสมบัติเท่านั้น เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมาก กล่าวคือ กฎหมายอาญาควรที่จะมีไว้เพื่อคุ้มครองเฉพาะ “สมบัติ” (บางประการที่กำหนดไว้เท่านั้น อย่างเช่น ชีวิต (มาตรา 211 เป็นต้นไป), ความปลอดภัยของร่างกาย (มาตรา 223 เป็นต้นไป), ชื่อเสียง (มาตรา 185 เป็นต้นไป) การที่กฎหมายอาญามีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองนิติสมบัติ หรือสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองนั้น ทำให้ความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นจริงขึ้นมาได้ จึงกล่าวได้ว่ากฎหมายอาญาเป็นระเบียบแห่งการคุ้มครองและระเบียบสันติภาพ ที่มีรากฐานมาจากระเบียบแห่งคุณค่าในทางจริยศาสตร์สังคมของรัฐธรรมนูญ จากรากฐานความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้กฎหมายอาญามีภารกิจในการที่จะให้ความคุ้มครองแก่คุณค่าพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม, การคงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคม และ […]
-
Thai laws and regulations on official document/information administration and archives
กฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของรัฐ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและการทำลายเอกสาร – เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 — มี หมวด 3 ว่าด้วย การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548— แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ พ.ศ. 2526 ที่สำคัญคือ: เพิ่มนิยามคำว่า อิเล็กทรอนิกส์ (การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น) และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) ลดอายุเอกสารก่อนที่จะให้ส่วนราชการส่งหนังสือเข้าหอจดหมายเหตุ จากเดิม 25 ปี เหลือ 20 ปี (=จัดส่งเข้าหอฯเร็วขึ้น) […]
-
อันล่วงละเมิดมิได้ the Untouchable ?
จาก ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา อีกหนึ่งกฎหมายที่ถูกดัน เข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 (มีกฎหมายจำนวนมากถูกนำเข้าสนช.ในช่วงนั้น กฎหมายจำนวนมากที่ผ่านออกประกาศใช้จากการนำเข้าพิจารณาในช่วงนั้น เป็นกฎหมายที่ในเวลาปกติน่าจะผ่านออกมาลำบาก จะต้องมีการอภิปรายหรือถูกตรวจสอบจากสังคมอย่างมากแน่) มีอยู่ร่างหนึ่งจาก พ.ศ. 2551 มีมาตรานี้: มาตรา 40 ผู้ใดโฆษณาหรือไขข่าวด้วยประการใด ๆ ด้วยภาพ ตัวอักษร หรือข้อความที่ทำให้ปรากฏ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือกระทำการกระจายเสียงหรือกระจายภาพ หรือกระทำการป่าวประกาศโดยวิธีอื่นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายต่อพระพุทธศาสนา หรือเป็นเหตุให้พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี แล้วแต่กรณี เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ปัจจุบัน ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลายร่างจากหลายองค์กร ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เว็บ phrathai.net หลายมาตราถูกเพิ่มเข้าเอาออกหรือแก้ไข อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามาตรา 40 อย่างในร่างข้างต้น สุดท้ายจะไปโผล่ในกฎหมายฉบับจริงหรือไม่ แต่มันก็สะท้อนได้ว่า […]
-
Bangkok Post: Taking time to consider lese majeste law
Report from the seminar last weekend, from today (2009.03.25)’s Bangkok Post http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/13931/taking-time-to-consider-lese-majeste-law (More from this seminar at Prachatai (English): Seminars recount lese majeste law fears, Lese Majeste: Differences of legal opinion aired at forum on defamation of royalty) Thailand: Monarchy and Democracy Taking time to consider lese majeste law by Atiya Achakulwisut, Bangkok Post, 25 […]
-
Democrat, the Consistent
“ปรีดีฆ่าในหลวง!” — เสียงตะโกนของ ‘ไอ้โม่ง’ ในโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง พ.ศ. 2489 20 พ.ค 2551 – เทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยรายชื่อ 29 เว็บไซต์ ระบุ ‘หมิ่นเบื้องสูง’ เรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการ 29 พ.ค. 2551 – เสียงตอบจากพลเมืองเน็ต: “ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง” 1 ต.ค. 2551 – พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) กำกับและติดตามการป้องกันและปราบปรามการกระทำและเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ใน กมธ.ทหาร สภาผู้แทนราษฎร เตรียม เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้เจ้าหน้าที่ไอซีทีฟ้องร้องคดีหมิ่นฯ ได้ทันที ไม่ต้องรอคำสั่งรัฐมนตรี เพิ่มบทลงโทษจำคุก 3-20 ปี ปรับ 3-8 แสนบาท — หนักกว่ากฎหมายอาญา […]
-
rule of who ?
หลังจากคนเริ่มเบื่อกับผลิตภัณฑ์ “ตุลาการภิวัฒน์” ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไทยแลนด์แกรนด์อินโนเวชั่นขอเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่! ที่จะช่วยให้คุณกระชวยหัวใจ… “อัยการภิวัฒน์ 2.0” มาแล้วครับพี่น้องงงง…. (เอ้า ปรบมือ! แก๊ก ๆ ๆ ๆ) อัยการรุ่นใหม่ที่จะช่วยทำหน้าที่แทนศาลให้คุณ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ผสมสารพิเศษอ่านใจคนได้ คนชั่วจะหมดไปจากแผ่นดินไทยอย่างหมดจด ไร้กลิ่นตกค้าง คนดีจะได้ปกครองบ้านเมือง ฮูเรรร!… (เอ้า ปรบมือ! แก๊ก ๆ ๆ ๆ) ด่วน! สั่งซื้อวันนี้ แถมข้าวโพดคั่วเหลือใช้รีไซเคิลทันที อินเทรนด์สุด ๆ กับข้าวโพดคั่วลดโลกร้อนน่ารัก ไม่ฝ่าฝืนมารยาททางสังคมแถมยังรักษาสิ่งแวดล้อมอันดีงามอีกด้วย! อ่าน ไม่ฟ้อง ?! โดย เชกูวารา BioLawCom.de technorati tags: Thailand, law
-
21 should-says about the thing that should be able to say but it is now the shouldn’t
ประวิตร โรจนพฤกษ์: 21 ข้อสังเกตเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ที่ถูกหยิบใช้กันอย่างสะดวกมือ เหมือนวางอยู่ในเซเว่น อย่างกรณี เทพไท เสนพงศ์ ประชาธิปัตย์ เหมา 29 เว็บไซต์ ว่าหมิ่นฯ) technorati tags: lese majeste, Thailand, politics
-
Dissolution will harms Thai legal system … but who cares?
5 อาจารย์นิติ มธ. แถลงคัดค้านยุบพรรค “ กล่าวเฉพาะการตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกับการยุบพรรคการเมืองที่กล่าวมาข้างต้น หากตีความตามถ้อยคำหรือตีความตามความประสงค์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน ก็เท่ากับว่าการกระทำความผิดของบุคคลเพียงคนเดียวย่อมนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่ประกอบไปด้วยสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนมากได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการยุบพรรคการเมืองแล้ว ก็จะต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด ถึงแม้บุคคลดังกล่าวจะไม่ได้มีส่วนผิดในการกระทำนั้น เท่ากับตีความกฎหมายเอาผิดบุคคลซึ่งไม่ได้กระทำความผิดซึ่งขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง การตีความกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ย่อมฝืนต่อสามัญสำนึกของวิญญูชนทั่วไป และเท่ากับทำให้กฎเกณฑ์ทางกฎหมายในประเทศไทยย้อนยุคกลับไปเหมือนกับกฎเกณฑ์การประหารชีวิตญาติพี่น้องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด อันเป็นการฝืนพัฒนาการทางกฎหมายของโลกและจะทำให้สถานะทางกฎหมายของประเทศตกต่ำลงในสายตาของนานาอารยะประเทศด้วย หาใช่ความน่าภูมิใจดังที่มีบางท่านกล่าวอ้างไม่ ” ทรรศนะประชาชนต่อข่าวการยุบพรรค (สวนดุสิตโพลล์) 45.45% มองว่าผลเสียมากกว่าดี 27.44% มองว่าผลดีมากกว่าเสีย 27.11% มองว่าผลดีและผลเสียพอ ๆ กัน technorati tags: laws, politics, political party