Tag: cultural politics

  • The Crown – กษัตริย์ในฐานะบุคลาธิษฐาน

    ตะกี้อ่านใบตองแห้ง เรื่องว่าเราจะก้าวหน้าไปได้แค่ไหน แนวหน้าก้าวไป 7 ก้าว สังคมพร้อมก้าวด้วย 2-3 ก้าว ก็ต้องเอาตามสังคมไหม เพราะสุดท้ายขบวนมันต้องมีคนสนับสนุนและยังไงก็ต้องอยู่ด้วยกันต่อไป (ดู https://www.facebook.com/baitongpost/posts/3277567832325023) เลยขอโพสต์เรื่อง “The Crown” นี้ใหม่ เพิ่มเติมนิดหน่อยจากที่โพสต์ไปเมื่อคืน เพราะคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในการจัดที่ทางของอำนาจ เพื่อให้สิ่งที่เรียกว่า rule of law สามารถเกิดเป็นจริงได้มากขึ้น กลไกอำนาจทำงานเพื่อประชาชนได้จริงมากขึ้น สังคมประชาธิปไตยที่เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ยังมีประโยชน์กับสาธารณะอยู่ (เช่น สวีเดน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร) เขาจัดที่ทางให้สถาบันกษัตริย์อยู่ตรงไหน ในระบอบที่หลักใหญ่ใจความตามชื่อนั้นหมายความว่า อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน การอภิปรายและพิจารณาถึงที่ทางของสถาบันกษัตริย์นี้มีความจำเป็น เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้อำนาจอธิปไตย (ดังจะได้กล่าวต่อไป) ถ้าจะไม่ให้พูดถึงสถาบันกษัตริย์เลยในบทสนทนาเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย นั่นหมายความว่าเราจะต้องไปใช้ระบอบการปกครองแบบอื่นที่ไม่มีกษัตริย์ ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนต้องการ ในการคิดเรื่องนี้ เราจำเป็นต้องกลับไปที่นิยาม/มโนทัศน์/หรือวิธีในการคิดถึงและเอ่ยถึง กษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ (ใครมีความรู้ความเห็นเรื่องนี้ก็เชิญเพิ่มเติม-แก้ไข-แลกเปลี่ยนนะครับ) (1) อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชน ใน Netflix มีซีรีย์ชื่อ The Crown เป็นรื่องราวในสถาบันกษัตริย์ของบริเตน Crown นี้ไม่ใช่มงกุฎประดับหัวที่เป็นสิ่งของ แต่หมายถึงสัญลักษณ์แทนอำนาจอธิปไตย เป็น…

  • การร่วมสร้างอัตลักษณ์ “คนดี” โดยมวลมหาประชาชน: กรณีศึกษาสื่อส่วนบุคคล

    การร่วมสร้างอัตลักษณ์ “คนดี” โดยมวลมหาประชาชน: กรณีศึกษาสื่อส่วนบุคคล

    อาจินต์และอาทิตย์ ใช้แนวคิดเรื่อง “มีม” (meme) ศึกษาการมีส่วนร่วมในขบวนการทางการเมืองในประเทศไทยช่วงปี 2556-2557 ผ่านการผลิตมีมของผู้สนับสนุนขบวนการ โดยใช้นิยามของมีมว่า “หน่วยของการส่งผ่านวัฒนธรรม”

  • พระราชดำรัสและคติพจน์เหมาเจ๋อตุง

    ไอเดียการเผยแพร่พระราชดำรัส ยกโควตมาออกอากาศช่วงข่าวภาคค่ำ และในโอกาสต่างๆ นี่เหมือนกับการพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “คติพจน์เหมาเจ๋อตุง” (毛主席语录) ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหนังสือขายดีอันดับ 2 ของโลก รองจากไบเบิล

  • การเมืองบนเฟซบุ๊ก / Facebook Politics

    การเมืองบนเฟซบุ๊ก / Facebook Politics

    การศึกษานี้พบว่า การเคลื่อนไหวออนไลน์ในประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยทุนเช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวออฟไลน์ แต่เครือข่ายสังคมออนไลน์อนุญาตให้คนทั่วไปสะสมและแปลงทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมได้สะดวกขึ้น แม้สิ่งที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะไม่ใหม่ไปเสียทั้งหมด แต่ก็เกิดการขยายวงของการสื่อสาร อำนาจในการควบคุมพื้นที่เคลื่อนไปอยู่ในมือคนธรรมดามากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมก็ช่วยในการแสดงออกเรื่องที่โดยทั่วไปทำได้ยากในสังคม ซึ่งท้ายที่สุดแล้วทำให้มีเสรีภาพมากขึ้นในการแสดงออกและรวมตัว

  • คำ “ออกตัว” — มาราธอน เล่มแรก

    คำ “ออกตัว” — มาราธอน เล่มแรก

    ด้านล่างนี้น่าจะเป็น “คำนำ” หนังสือเล่มครั้งแรกของผม วันนี้เพิ่งจะได้จับ ผมเลือกใช้คำว่า “มาราธอน” กับกิจกรรมของเครือข่ายพลเมืองเน็ตนี้ เพราะเห็นด้วยว่าการศึกษาและรณรงค์ประเด็นใดก็ตาม ไม่สามารถสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน มาราธอนคือการวิ่งระยะไกล ข้ามเขตแดนและส่งข่าวสาร หนังสือเล่มวางตำแหน่งตัวเองเป็นจุดสตาร์ท ดังคำออกตัว

  • Angry Angry Birds

    Angry Angry Birds

    เจ้านกเกรี้ยวกราด – พบใน Facebook

  • คำขวัญวันเด็ก

    [title-link] คำขวัญวันเด็ก สมมติประเทศ : รักสนุก มีศีลธรรม ขยันปาร์ตี้ ไม่ดื่มของมึนเมา ซื่อสัตย์ มีมารยาท รักชาติ รักเพื่อนบ้าน ปกป้องประชาธิปไตย มีวินัย ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน คิดนอกกรอบ เชิดชูสถาบัน ทำได้หมดนี้ นับว่าเป็นเทพมาเกิด มีความย้อนแย้งในตัวสูงยิ่ง technorati tags: Children’s Day

  • สื่อและขบวนการทางสังคมในมาเลเซีย: กรณีศึกษา หนังสือพิมพ์ Malaysiakini

    รายงานจากวิชา ขบวนการทางสังคม เรียนเมื่อปีที่แล้ว เทอมนั้นเป็นเทอมที่หนักที่สุด เพราะเทอมก่อนหน้านั้นเกรดห่วยจนติดโปร ก็เลยต้องลงทะเบียนเรียนมันซะ 4 วิชาเลย เพื่อดันเกรด แล้วต้องได้ทุกวิชา B+ อะไรแบบนี้ ถึงจะรอด สุดท้ายก็รอด แบบหืด ๆ (หลุดได้ B มาตัวนึง แต่รอดเพราะได้ A มาช่วยอีกตัว) เทอมนั้นเป็นเทอมที่สนุกดี ได้ไปลงสนามเล็ก ๆ น้อย ๆ (จากวิชานี้และอีกวิชาคือ วัฒนธรรมเมือง) ได้พบกับคนที่ต่อสู้มาทั้งชีวิต และบอกว่า เอ็นจีโอแค่สนับสนุนก็พอ ชาวบ้านจะนำเอง (แปลว่า เอ็นจีโออย่าเสือกเยอะ) เลือกมาเลเชียกีนี เพราะว่ามันน่าสนใจดี ในฐานะที่ตัวมันเองก็เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่ต่อเนื่องมาจากขบวนการเคลื่อนไหว Reformasi (ปฏิรูป) คือไม่ต้องมาบอกว่าสื่อต้องเป็นกลาง สื่ออย่าเลือกข้าง มาเลเชียกีนีก็พูดตรงไปตรงมา ว่าเขา เลือกข้าง คืออยู่ข้างคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความยุติธรรมจากนโยบายของรัฐ แล้วก็ต้องการการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูป แน่นอนว่าด้วยการวางตำแหน่งตัวเองแบบนี้ ก็ย่อมจะมีปัญหากับรัฐบาล กับกลุ่มที่จะเสียประโยชน์ แต่คนก็ให้ความเคารพมาเลเชียกีนีที่เขาเลือกจะ ไม่เป็นกลาง แบบนี้…

  • อย่าลืมฉัน / Don’t Forget Me (short documentary on “Mra bri”) #6OCT

    สารคดีสั้น ว่าด้วย ผีตองเหลือง ผู้ขาดอารยะ ล้าหลัง Remember, Remember, the Sixth of October technorati tags: film, October, Thailand

  • people change ..และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป

    ..และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป เมื่อเราผ่านการต่อสู้ เราย่อมตระหนักรู้ ว่าตัวเราเปลี่ยนไป มันอาจจะเพียงไม่นาน และเราไม่ได้ถูกจ้างวานให้มาโดยใคร เราสุขเราทุกข์มาด้วยกัน ผ่านคืนและวันที่เราต่างลุกเป็นไฟ ไฟบางกองวูบวับดับลง หากที่เหลือยังคงเป็นไฟกองใหม่ แม้ล่วงเข้าปลายฤดูฝน มันยังลุกอยู่บนสิ่งที่ควรลุกไหม้ เพื่อนเอ๋ย..เราไม่อาจปล่อยวาง จุดหมายปลายทางยังอีกยาวไกล……. ระหว่างเส้นทางสายนี้, เราเริ่มรู้ว่ามีเรื่องราวมากมาย มีชุมชน และผู้คนเหล่านั้น ในตรอกซอยตัน และถนนสายใหญ่ บนทางลอยฟ้า หน้าห้างฯ ลานสนามกว้างขวางมีเวทีอภิปราย วิทยุ, ทีวี, หนังสือ ฯลฯ บอกเราให้ยึดถือหลักการฯ ทั้งหลาย การเผชิญหน้าปากกระบอกปืน ช่วยให้เราหยัดยืนได้มั่นคงกว่าใครๆ และการล้อมปราบครั้งนั้น ไม่ทำให้เราพรั่นพรึงแต่อย่างใด…….. เพื่อนเอ๋ย เราผ่านมันมา และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป เราเริ่มพูดจาเหมือนกัน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องอะไร คิดและทำสิ่งเดียวกัน ตั้งเข็มมุ่งมั่นโดยมิต้องนัดหมาย ไม่ต้องมัวตั้งคำถาม เพราะทุกอย่างเป็นไปตามชุดคำอธิบาย การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ ทุกเรื่องเราคิดคำตอบได้ง่ายดาย เรารักคนคนเดียวกัน และเกลียดคนคนนั้นเหมือนๆ กันใช่ไหม ? ทุกคน ทุกเรื่องที่เรารัก ทำไมเรามักไม่มีคำถามใดๆ…