Tag: cultural politics

  • hauntedness management

    ว่าจะไปอยู่ ท่าจะเจ๋ง เชิญร่วม เสวนา “ศิลปะร่วมสมัยกับการจัดการประวัติศาสตร์” (กรณี 6 ตุลา 19) อาทิตย์ 6 ก.ค. 2551 9:30-17:00 น. @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ และ นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “อดีตหลอน” (’76 Flash Back) 2-23 ส.ค. 2551 @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ งานนี้ริเริ่มโดยศิลปินภาพถ่าย มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย/การแสดงชุด “Pink Man” (ตัวอย่าง) รายละเอียดเพิ่มเติม ดูที่บล็อกคนป่วย technorati tags: contemporary arts, October 6, history

  • Language is What Culture Looks Like

    Typographics อนิเมชันโดย Boca (a.k.a. Marcos Ceravolo) และ Ryan Uhrich หลักสูตรออกแบบดิจิทัล Vancouver Film School ในตอนต้นของหนัง มีคำพูดนี้: “Typography is What Language Looks Like” — Ellen Lupton Ellen Lupton เป็นนักออกแบบกราฟิก นักเขียน ภัณฑารักษ์ และนักการศึกษา เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มนักออกแบบ 33 คน ที่ร่วมลงชื่อในคำประกาศ First Things First 2000 manifesto (อ่าน) ซึ่งเป็นการตั้งคำถามถึง คุณค่า ของการออกแบบ นักออกแบบควรจะคำนึงถึงคำถามทางสังคมการเมืองหรือไม่ นักออกแบบควรจะวิพากษ์และประกาศจุดยืนในงานของตัวเองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น จะไม่โฆษณาสินค้าหรืออุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายต่อสังคม ซึ่งนี่คือคำถามที่นำไปสู่คำถามในเชิงต่อสู้ที่ว่า นักออกแบบและการออกแบบ จะต้านทาน cultural hegemony การครอบงำผูกขาดทางวัฒนธรรม หรือไม่ อย่างไร Thinking with…

  • culturalpolitics

    วัฒนธรรม(ภาพยนตร์) กับการเมือง Cultural Politics ตอนนี้พื้นที่ในทางสื่อไม่ได้เปิดโอกาส ให้กับบทความเชิงวิเคราะห์ที่เกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์มากนัก ยิ่งถ้าเป็นบทความที่สวนกระแสระเบียบรัด ด้วยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ หนำซ้ำดูเหมือนกระทรวงวัฒนธรรมจจะบีบคั้นจัดระเบียบความดีงามมากขึ้นทุกที แต่ยิ่งไปก้ยิ่งไกลกว่าความดีงามทุกทีเหมือนกัน เลยมาลองคิดดูว่าถ้าเราสามารถเปิดพื้นที่ที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้หนัง หนังสือ ละคร เพลง และปรากฏการณ์ทางสังคม เป็นกระจกสะท้อน ถ้าหลายๆคนช่วยกันเขียนเอามารวมกันคงจะพอสร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมได้บ้างไม่มากก็น้อย แล้ว BLOG นี่ก็ดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดี ฟรี และเปิดกว้างสำหรับทุกคน นี่จึงเป็นที่มาของการเปิด BLOG CULTURAL POLITICS มองการเมืองผ่านทางวัฒนธรรม โดยบลอกนี้รวบรวมเอาบทความ บทสนทนา ของหลากหลายผู้คน ในหลายมุมมอง ที่มีต่อความเป็นไปในสังคม โดยยึดหลักจากการปรากฏผ่านทางภาพยนตร์ ดนตรี หรือปรากฏการณ์อื่นๆ คำว่าcultural politics นั้น อาจารย์เกษียร เตชะพีระ เคยเสนอคำแปลไว้ว่า “การเมืองวัฒนธรรม” อันหมายถึง “การต่อสู้ทางการเมืองในปริมณฑลวัฒนธรรม โดยปัจเจกบุคคลและกลุ่มสังคม เพื่อนำเสนอ สื่อสาร ประชันขันแข่งและช่วงชิงยึดครองพื้นที่แห่งนิยามความหมายและคุณค่าต่าง ๆ” ขอเรียนเชิญทุกท่านที่นไปผ่านมาติดตามชมไปด้วยใจระทึกครับ [ผ่าน filmsick] technorati…

  • If You Tolerate This Your Children Will Be Next

    (จาก คนป่วย/จิต(ร์ทัศน์) :P) เพลง ถ้าคุณทนสิ่งเหล่านี้ ลูกคุณจะเป็นรายต่อไป โดย นักเทศน์ข้างถนนคลุ้มคลั่ง อัลบั้ม นี่คือความจริงของฉัน บอกของคุณสิ   อนาคตสอนคุณ ให้อยู่โดดเดี่ยว ปัจจุบัน ให้หวาดกลัว และเลือดเย็น หากว่าฉันยิงกระต่ายได้ ฉันย่อมยิงฟาสซิสต์ได้ กระสุนที่สมองคุณวันนี้ แต่เราก็จะลืมมันหมดอีก อนุเสาวรีย์ ผ่านปากกา กระดาษ ทำฉันเป็นสิ่งประหลาด ที่ขี้ขลาด และถ้าคุณทนสิ่งเหล่านี้ ลูกคุณจะเป็นรายต่อไป และถ้าคุณทนสิ่งเหล่านี้ ลูกคุณจะเป็นรายต่อไป รายต่อไป รายต่อไป รายต่อไป แรงดึงดูดยังกดหัวฉัน หรือมันอาจจะอับอาย ที่ทั้งแสนหนุ่ม และทั้ง แสนไร้ประโยชน์ รูในหัวคุณวันนี้ แต่ฉันผู้รักสันติ ฉันเคยเดินรัมบลาจอแจ แต่อย่างไม่ได้ตั้งใจ และถ้าคุณทนสิ่งเหล่านี้ ลูกคุณจะเป็นรายต่อไป และถ้าคุณทนสิ่งเหล่านี้ ลูกคุณจะเป็นรายต่อไป รายต่อไป รายต่อไป รายต่อไป และบนถนนคืนนี้ ชายชราเล่น กับชิ้นหนังสือพิมพ์ จากวันรุ่งโรจน์เคยเป็น และถ้าคุณทนสิ่งเหล่านี้ ลูกคุณจะเป็นรายต่อไป…

  • Language and Politics

    ถ้าการเมืองเป็นเรื่องโต้วาที (ประชด) … แบบนี้ ภาษา ก็สำคัญน่ะสิ พิชญ์​ ​พงษ์สวัสดิ์: ครอบครัว​ ​ภาษา​ ​กับ​การเมือง​ไม่​ใช่​เรื่องที่​ไกล​กัน​ ​จอร์จ​ ​เลคคอฟ​ (George Lakoff) การเมืองอเมริกัน รีพับลิกัน เดโมแครต ระบบคุณค่า ภาษา และ การกำ​หนดกรอบ​ความ​หมาย ชาวมะกันนั้นมิได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามผลประโยชน์ของตัวเอง แต่การลงคะแนนมีความหมายว่าเขา “เลือกที่จะเป็นใคร” โดยที่เขาเหล่านั้นเลือก “คุณค่า” บางอย่าง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่บรรดาชาวมะกันหัวก้าวหน้าจะต้องกล้าพูดและสื่อสารในเรื่องของคุณค่า และคุณธรรม ของพวกเขา มิใช่พูดแต่เรื่องข้อมูลและข้อเท็จจริง ด้วยวิธีคิดเช่นนี้ การยึดครองสื่อนั้นจึงไม่สำคัญเท่ากับความสามารถใน “การสื่อสารคุณค่า” ซึ่งสำคัญกว่า “การสื่อสารความจริง” เพราะความจริงจะไม่มีความหมาย ถ้าเราไม่มี “กรอบ” ให้ความจริงนั้น “ถูกแปลค่า” ออกมา ตะกี้เจอโดยบังเอิญ: ที่นิด้า มีอาจารย์ที่สนใจเรื่อง ภาษาศาสตร์/การเมือง ด้วย — Dr. Savitri Gadavanij Sangma — ตัวอย่างงานตีพิมพ์:…

  • Democracy is in the Eye of the Beholder (?)

    เริ่มจาก อ่าน ขอสนับสนุนฟ้าเดียวกัน และบทบาทของศิลปะในสังคมประชาธิปไตย โดย เคโกะ เซ anpanpon ก็บล็อกเรื่องนี้ … Process Art: ความหมายโดย Tate Online | ความหมายโดย Guggenheim Museum (NY) — ที่หลังนี่ เริ่มต้นให้ความหมายว่า: “ศิลปะกระบวนการ เน้น “กระบวนการ” การสร้างงานศิลปะ (แทนที่จะเป็นการจัดวางหรือผังที่วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว) และความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงและสภาพที่ไม่ถาวร” แล้วก็พูดถึงศิลปินคนสำคัญในแนวนี้ ยกตัวอย่างวิธีการสร้างสรรค์ของแต่ละคน … แต่เหมือนมันจะเกี่ยวกับ(คุณสมบัติของ)วัสดุซะมากกว่า … อืม ถ้าจะโยงไปหาบทความข้างบนสุดนั่น ซึ่งอ้างถึง Process Art ตอนที่ว่า: ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐสภาเยอรมันทำให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับงานศิลปะอย่างดุเดือด เมื่อปีค.ศ. 1994 ตอนที่สภากรุงบอนน์มีการอภิปรายว่า จะอนุญาตให้ศิลปินคริสโตห่อหุ้มรัฐสภาเป็นงานศิลปะได้หรือไม่ งานนี้เป็นโครงการที่ศิลปินเลื่องชื่อท่านนี้ได้วางแผนไว้ตั้งแต่ปี 1975 ผลงานของคริสโตเรียกกันว่าเป็นโพรเซส อาร์ต (Process Art – ศิลปะกระบวนการ) ซึ่งหมายถึงประสบการณ์ในศิลปะของคนดูไม่ใช่เพียงแค่ชื่นชมผลลัพธ์ แต่รวมถึงมีส่วนสำรวจกระบวนการสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นความรู้สึกนึกคิดในใจของตน…