-
มากกว่า 112
นอกจากกฎหมาย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” หรือกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว การปกป้องกษัตริย์/สถาบันกษัตริย์ หรือสภาวะยกเว้นของกษัตริย์/สถาบันกษัตริย์นั้น สามารถพบเห็นได้ในกฎหมายอื่น ๆ อีกด้วย (ซึ่งก็ตั้งคำถามได้ ว่ามันซ้ำซ้อนหรือสร้างปัญหาในแง่ระบบยุติธรรมหรือไม่) มีคำถามน่าสนใจว่า หากสถาบันกษัตริย์หรือการอ้างสถาบันกษัตริย์เป็นปฏิปักษ์กับรัฐธรรมนูญ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ จะยังใช้บังคับคุ้มครองสถาบันกษัตริย์หรือการอ้างสถาบันกษัตริย์ในกรณีนั้น ๆ ได้อยู่หรือไม่
-
เมื่อโลกใหม่ดิ้นรนจะบังเกิด และโลกเก่ากำลังตาย ?
Anthropology News Volume 51, Issue 4, April 2010 ปีที่แล้วนี่เอง เป็นฉบับว่าด้วย “มานุษยวิทยาและวารสารศาสตร์” วันจันทร์ที่ผ่านมา [16 พ.ค.] ไปงาน Public forum: Reflection for the Thai Media in the post-2010 political violence เป็นเวทีสาธารณะจัดโดย สมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ร่วมกับสมาคมนักข่าวฯ และสถาบันข่าวอิศรา มีหลายคนพูดถึงจริยธรรมสื่อ ถึงเรื่อง objectivity ที่ “เป็นมาตรฐาน” ของสื่อมวลชน บางคนก็ว่าจริยธรรมมันต้องมีจริยธรรมเดียว จะสื่อเก่าสื่อใหม่ก็ตาม ไม่งั้นก็ไม่ใช่สื่อมวลชน เป็นสื่อเฉพาะกลุ่ม เป็น “สื่อเทียม” บางคน (รวมถึงผมเอง) ก็ว่า อย่าเอาคุณค่าที่สื่อเก่าเห็นว่าดีว่าชอบ มาครอบงำกดทับสื่อใหม่ สมชัย สุวรรณบรรณ กรรมการนโยบาย ThaiPBS ที่เพิ่งเขียนบทความเรื่อง “สื่อชนเผ่า”…
-
ในโซเวียตรัสเซีย: การเลือกตั้งของชนเผ่า กับ ปัญหาของประวัติศาสตร์
การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ กับ ปัญหาสื่อชนเผ่า (partisan press) โดย สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้เขียนเป็นอดีตผู้สื่อข่าว BBC ปัจจุบันเป็นกรรมการ ThaiPBS บทความเรียกสื่อที่แบ่งขั้ว-เลือกข้าง หรือ partisan press ว่า “สื่อชนเผ่า” (ไม่รู้ว่าต้องการให้มี connotation อะไรหรือไม่) และวิพากษ์ “สื่อชนเผ่า” (ซึ่งใช้สื่อใหม่อย่างเคเบิลทีวี ดาวเทียม อินเทอร์เน็ต และวิทยุชุมชน) ว่าไม่ได้ “มาตรฐาน” ของสื่อ และทำลายประชาธิปไตย อ่านบทความนี้เมื่อคืนก่อนใน @thaireform แล้วก็คันไม้คันมือ แต่คอมเมนต์ในนั้นไม่ได้ เขาไม่เปิดพื้นที่ให้แสดงความเห็น เมื่อคืนประชาไทเอามาลง เลยขอหน่อย คอนเมนต์ไปในท้ายข่าว ดังนี้: —- โดยหลักการ พูดแบบรวม ๆ ก็โอเคนะครับ ไม่เอา hate speech เห็นด้วย (ส่วนจะนับว่าอะไรเป็น hate speech เนื่องจากในบทความไม่ได้ระบุเอาไว้ ก็ไม่พูดถึงละกัน แต่โน๊ตไว้ว่า…
-
นิธิ เอียวศรีวงศ์: กระทรวงไอซีที
มุมมองนิธิน่าสนใจ ที่ว่า “กระทรวง” ก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ให้คุณก็ได้ ให้โทษก็ได้ แต่ถ้าเรามองมันแบบพ.ร.บ.คอมฯ เราคงต้องปิดกระทรวงไอซีที (และกระทรวงอื่น ๆ ทั้งหลาย) ทิ้ง แบบที่ปิดอินเทอร์เน็ต เพราะเมื่อมองด้วยสายตาที่เห็นแต่โทษ มันก็จะไม่เจออะไรดีเลย สรุปศักยภาพของอินเตอร์เน็ตเท่าที่ผมมองเห็นจนถึงทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่สามด้าน 1.คือการเปิดตลาดใหม่ให้แก่สินค้าและบริการ 2.เปิดการศึกษาหรือการเรียนรู้ในแนวใหม่ 3.เปิดพื้นที่ทางการเมืองแบบใหม่ ทั้งสามอย่างนี้อาจเอาไปใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมและบุคคลได้ไพศาล แต่เอาไปใช้ในทางที่เป็นโทษของสังคมก็ได้ไพศาลเหมือนกัน ไม่ต่างจากตลาด, โรงเรียน, และพื้นที่การเมืองแบบเก่า ซึ่งใช้ไปในทางเป็นประโยชน์ก็ได้ โทษก็ได้ พื้นที่ทางการเมืองกลายเป็นเรื่องหลักที่กระทรวงไอซีทีให้ความสนใจที่สุด แต่ก็เป็นความสนใจด้านลบมากกว่าด้านบวก (ตามเคย) นั่นคือจะกำกับควบคุมพื้นที่ใหม่ทางการเมืองนี้ ซึ่งเปิดรับคนแปลกหน้าเข้ามาจำนวนมาก ให้สยบยอมต่อโครงสร้างอำนาจตามประเพณีต่อไปได้อย่างไร เขาหวั่นวิตกแต่ว่าของดีๆ อย่างอินเตอร์เน็ตจะถูกนำไปใช้ในทางเสียหาย (แก่ใครและอะไร… ไม่ทราบได้) ฉะนั้น จึงต้องเข้าไปบังคับควบคุมจนกระทั่งจะทำอะไรดีๆ กับอินเตอร์เน็ตได้ยากขึ้นทุกที กระทรวงไอซีที โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, มติชนออนไลน์, 26 เม.ย. 2554 ความคิดเห็นจากทีมผู้ร่างกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้อง จากการสัมมนาที่เนชั่น [ซึ่งผมไปร่วมด้วย] เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่: เรื่องวุ่นๆ (อีกรอบ)…
-
วารสารศาสตร์ ข้อมูล และคอมพิวเตอร์
สัปดาห์ที่ผ่านมาขยันเขียนบล็อก (ที่อื่น) มีสองอันเกี่ยวกะการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำข่าวและรายงานข่าว วารสารศาสตร์เชิงคำนวณ: จะผลักข่าวไปข้างหน้า คอมพิวเตอร์ต้องเป็นมากกว่าเครื่องพิมพ์ดีด [datajournalism.in.th] (@dr_mana เสริมว่า และนักข่าวต้องเป็นมากกว่าคนจดข่าวหรือคนอัดเทปถอดเทป) 5 เครื่องมือสำหรับสำรวจขุดค้นและแสดงภาพข้อมูล [opendream.co.th/blog]
-
เจฟ แมคกี: วารสารศาสตร์ในยุคของข้อมูล
จาก datajournalism.in.th: นักวารสารพยายามรับมือและจัดการกับภาวะสารสนเทศท่วมท้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยยืมเอาเทคนิคการสร้างภาพข้อมูลมาจากนักวิทยาศาสตร์และศิลปินคอมพิวเตอร์ สำนักข่าวบางแห่งได้เริ่มปรับตัวกันแล้ว เพื่อเตรียมก้าวไปสู่อนาคตที่ข้อมูลจะกลายเป็นสื่อกลาง แต่เราจะใช้ข้อมูลเพื่อการสื่อสารได้อย่างไร ? การเล่าเรื่องแบบเดิม ๆ จะสามารถผสานเข้ากับการแสดงสารสนเทศที่ซับซ้อนและโต้ตอบเคลื่อนไหวได้อย่างไร ? วีดิโอ “วารสารศาสตร์ในยุคของข้อมูล” (Journalism in the Age of Data) โดย เจฟ แมคกี (Geoff McGhee) ซึ่งมีความยาว 8 ตอน (รวม 54 นาที) นี้ พยายามค้นหาคำตอบของคำถามเหล่านั้น ดูวีดิโอ และอ่านสรุปประเด็นของวีดิโอ ได้ที่ เจฟ แมคกี: วารสารศาสตร์ในยุคของข้อมูล (วีดิโอ)
-
พี่จอยถาม
(ของตกค้างจากปี 2004 ไม่ได้โพสต์ต่อ…) ว่า แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าใครดี ใครไม่ดี ดูจากสื่อ? แล้วจะเชื่อสื่อได้เหรอ? แล้วถ้าไม่ดูจากสื่อ จะดูจากไหน? สื่อมีกี่ทาง ดูกันได้ยาวขนาดไหน? ดูเดี๋ยวนี้ เชื่อเดี๋ยวนี้? ดูเช้า เชื่อเย็น? ดูเดือนนี้ ดูเดือนหน้า ดูย้อนไปอีกสองปี แล้วไปเชื่อปีหน้า? ..ก็แล้วแต่ ถ้าไม่ดูจากสื่อ จะดูจากไหนล่ะ? ยังไงก็ต้องดูจากสื่อครับ แล้วก็ต้องช่วยกันตรวจสอบสื่อให้เชื่อถือได้ด้วย ถ้าดูจากสื่อไม่ได้ คนทั้งประเทศก็เหมือนตาบอด เราจะไปรู้ได้ยังไงว่าใครทำอะไรไว้ที่ไหน แล้วตอนเลือกตั้งเราจะเลือกใคร หรือเลือกไปแล้ว เราจะไปถอดถอนเค้าได้ยังไง ไม่อยากบอกว่าใครดี ใครไม่ดี ได้ ถูก แต่เรื่องแสดงความเห็นว่า ใครไปทำอะไรที่ไหน แล้วเราเห็นด้วยหรือไม่ ทำไม เป็นเรื่องควรทำอย่างยิ่ง ทำไปแล้วใครจะมาได้ยิน — นักการเมืองหรือจะมาฟังเรา? เค้าไม่ฟังเราหรอก แต่ที่เราพูดไป เพื่อนเราได้ยิน คนรอบตัวเราได้ยิน คนผ่านไปผ่านมาได้ยิน อย่างน้อย ก็ทำให้เค้ารู้ว่า มีคนคิดแบบนี้ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ประโยชน์? ถ้าเค้าคิดแบบเรา…
-
สมเกียรติ ตั้งนโม กับเว็บที่มาก่อน 2.0
ปรับปรุงจากข้อเขียนเพื่องานเสวนา ความรู้และปฏิบัติการของ สมเกียรติ ตั้งนโม โดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน 28 สิงหาคม 2553 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้อเขียนชิ้นดังกล่าวถูกนำเสนอโดย ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข ร่วมกับข้อเขียนของชูวัสเองและของ เคโกะ เซย์ เพื่อเป็นเกียรติแด่ สมเกียรติ ตั้งนโม ผู้ก่อตั้งและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน