-
เอดูเขต
pay it forward
-
ข่าวปลอมคือข่าวที่ทำให้คล้ายข่าวจริง
แบงก์เกมเศรษฐีไม่ใช่แบงก์ปลอม ปลอมคือมันไม่เคยจริง *และ* มีความพยายามทำให้เข้าใจผิดว่ามันจริง ไปรู้จักกับ mis-information, dis-information, และ mal-information ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความปั่นป่วนของข่าวสาร (information disorder)
-
สำรวจภูมิทัศน์และอนาคตของการจัดการสื่อในยุคหลอมรวมข้ามพรมแดน
ศึกษาแนวทางการกำกับดูแลสื่อใหม่ ภายใต้ปรากฏการณ์การหลอมรวมและบรรจบกันของสื่อ ซึ่งทำให้เส้นแบ่งระหว่างประเภทของสื่อพร่าเลือนไป สภาวะเช่นนี้ทำให้การออกแบบการกำกับกิจการที่มองพรมแดนของสื่อในแบบเดิมประสบปัญหาในการกำกับดูแล งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษานโยบายเชิงเปรียบเทียบ โดยมีโจทย์สามประการสำคัญ คือศึกษาความหมาย ปัจจัย และองค์ประกอบของสื่อใหม่, ทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกลไกการกำกับกิจการสื่อใหม่โดยใช้กรณีตัวอย่างในต่างประเทศ, และรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องกลไกการกำกับกิจการสื่อใหม่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยเฉพาะข้อเสนอในการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง
-
ข่าวลือ
ข่าวลือจึงสามารถเป็นกลไกที่ผู้มีอำนาจน้อยใช้ส่งเสียงและตรวจสอบเพื่อให้อำนาจใหญ่เปลี่ยนได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่ผู้อยู่ในอำนาจนำ มีอำนาจมาก ใช้ได้อย่างสะดวกมือ(กว่า) เพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง
-
การร่วมสร้างอัตลักษณ์ “คนดี” โดยมวลมหาประชาชน: กรณีศึกษาสื่อส่วนบุคคล
อาจินต์และอาทิตย์ ใช้แนวคิดเรื่อง “มีม” (meme) ศึกษาการมีส่วนร่วมในขบวนการทางการเมืองในประเทศไทยช่วงปี 2556-2557 ผ่านการผลิตมีมของผู้สนับสนุนขบวนการ โดยใช้นิยามของมีมว่า “หน่วยของการส่งผ่านวัฒนธรรม”
-
Science Communication สื่อสารวิทยาศาสตร์ให้สาธารณะเข้าใจ
สิ่งที่ทำให้วงการวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศก้าวหน้า ไม่ใช่เพียงทรัพยากรในการพัฒนาตัวความรู้ แต่มีเรื่องของการสื่อสารความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะด้วย
-
จะเป็นกสทช.ของไทยต้องวัยวุฒิเพียบพร้อม ว่าที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสยังเป็นไม่ได้เลย
ตามพ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ว่าที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่เพิ่งได้รับเลือกไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นกรรมการกสทช.ไม่ได้นะครับ — อายุไม่ถึงน่ะ
-
The Crown
The Crown ในชื่อซีรีส์ ไม่ใช่มงกุฎ แต่หมายถึงหน่วยทางการเมือง เป็น Crown เดียวกับ Crown ใน Crown prosecutor, Crown Estate หรือ Crown Property Bureau (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)
-
media and information literacy & citizen science: พลเมืองที่อ่านเขียนสารสนเทศเป็นกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่าน “วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง”
คำแปล “literate” ในภาษาไทย มีใช้กันอยู่ว่า “อ่านออกเขียนได้” เทียบได้อย่างตรงไปตรงมากับภาษาอังกฤษที่นิยามว่า “literacy” คือ “ability to read and write” คำว่า “รู้เท่าทัน” มันตก “การเขียน” ไป / ถ้าอำนาจในสังคมปัจจุบัน มาจาก ข้อมูล และ วิธีการให้เหตุผล พลเมืองเจ้าของอำนาจ ก็ควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมได้มากขึ้น ในการสร้างข้อมูลและวิธีการให้เหตุผลพวกนั้น
-
#มาตรา37 #กสทช. สื่อ กับสังคมโคตรอ่อนไหว อยากจะร้องไห้
ที่เคยทำงานเคยเรียนกันมาแล้วเห็นว่าดีว่าเหมาะ ตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1980 หรือ 1990 คำถามคือมันยังเหมาะกับวันนี้ไหม? สังคมไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลยหรือ? ไม่มีปัญหาอะไรถ้าเราจะเป็นอนุรักษ์นิยม แต่ถ้ามาอยู่ในสาขาเหล่านี้ ช่วยเป็นอนุรักษ์นิยมของปี 2030 หน่อย อย่าเป็นอนุรักษ์นิยมของปี 1980 เลย