Science Communication สื่อสารวิทยาศาสตร์ให้สาธารณะเข้าใจ


สิ่งที่ทำให้วงการวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศก้าวหน้า ไม่ใช่เพียงทรัพยากรในการพัฒนาตัวความรู้ แต่มีเรื่องของการสื่อสารความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะด้วย

  • ทำให้คนทั่วไปเข้าใจมากขึ้นว่าตอนนี้โลกมันไปถึงไหนแล้ว
  • ทำให้ความคิดทางวิทยาศาสตร์เป็นที่พูดถึงกันทั่วไปในสังคม (อาจจะได้ความเห็นที่มีคุณภาพระดับต่างๆ กันไป แต่ก็มีการพูดคุยกันในมุมมองที่กว้างขวางกว่าในวงการวิทยาศาสตร์กันเอง)
  • ต่อจากประเด็นก่อนหน้า มันทำให้ความคิดทางวิทยาศาสตร์มีโอกาสไปอยู่ในนโยบายสาธารณะได้มากขึ้น ผ่านบุคคลที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องเอานักวิทยาศาสตร์ตรงๆ ไปทำเรื่องนโยบายสาธารณะ (ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องถนัด)
  • สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนนอกวงการ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งเยาวชนหรือคนที่ทำงานในสายอื่น ให้เข้ามาทำงานในแวดวงวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็จะได้ทั้งจำนวนและมุมมองหลากหลาย มีโอกาสทำงานข้ามศาสตร์มากขึ้นด้วย
  • พูดง่ายๆ คือ มันทำให้สังคมกับวิทยาศาสตร์ มีโอกาสคุยระหว่างกันมากขึ้น ด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนน้อยลง

….

ในไทยเห็นเพจ Science Communication Thailand สื่อสาระวิทยาศาสตร์ไทย พูดถึงวิชา Science Storytelling ที่บางมด ก็น่าสนใจดี เหมือนจะเป็นการเอานักวิทยาศาสตร์มาเล่าเรื่อง?

ข้อควรระวังหนึ่งของ science communication, science journalism นอกจากการตีความข้อค้นพบอย่างผิดพลาดหรือพูดอย่างตีขลุมเกินไปแล้ว ก็คือการเป็นกระบอกเสียง (โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว) ให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างที่ชัดเจนคืออุตสาหกรรมอาหารเสริมและยา หรือที่เป็นประเด็นมากขึ้นตอนนี้คืออุตสาหกรรมพลังงาน (ว่าด้วยเรื่องโลกร้อนไม่ร้อน อะไรปล่อยคาร์บอนมากกว่า ฯลฯ)

บางที่หลักสูตรพวกนี้ก็ไปอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ บางทีก็คณะวารสารศาสตร์/นิเทศศาสตร์

….

เว็บไซต์ Knight Science Journalism at MIT https://ksj.mit.edu/ รวมทรัพยากรและสถานศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ใครสนใจไปกดดูได้ครับ (อยู่ในหน้า Resources)

(โพสต์ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 28 เม.ย. 2018)


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.