Category: Cultures

  • กวาดสายตาที่เส้นขอบฟ้า

    @PACEyes ชวนเขียนบทความส่งนิตยสารว่าด้วยการมองภาพอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมเล่าเรื่องที่เดินทางและพบเห็น พร้อมกับข้อสังเกต รวม ๆ ทั้งหมดมันตั้งอยู่บนธีมหลักที่ผมสนใจ คือ “mobility” เป็นครั้งแรกที่เขียนในกรอบของวิธีที่เรียกว่า “horizon scanning”

  • What Does it Cost to Change the World?

    What Does it Cost to Change the World?

    มีคนบางคนที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง. สำหรับทุก ๆ คนที่เหลือ ? เรายังมีวิกิลีกส์. ไปดูโฆษณาล้อมาสเตอร์การ์ดกัน [vdo]

  • ensogo peel-off-the-day

    ว่าด้วยร้านค้ากับธุรกิจ “ดีลประจำวัน” และความสัมพันธ์อันยุ่งยากระหว่างเจ้าของกิจการกับลูกค้า … นั่งเขียนระหว่างได้ยินเจ้าของร้านนั่งปรับทุกข์กันเอง ในร้านกาแฟเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง แถวสยาม

  • เราวาดพื้นที่สาธารณะ

    เราวาดพื้นที่สาธารณะ

    ในตอนที่ NASA ส่งแผ่นอลูมิเนียมซึ่งมีจารึกรูปหญิงชาย ออกไปกับยาน Pioneer 10 และ 11 มีคนจำนวนหนึ่งบอกว่า NASA กำลังส่งรูปโป๊ไปอวกาศ – ศีลธรรมของมนุษย์วิ่งออกไปได้ถึงสุดขอบจักรวาล เปียโนบนถนน – ทางม้าลายในวอร์ซอว์ โปแลนด์ บันไดเปียโน ที่สถานีรถไฟใต้ดินที่สต็อกโฮล์ม สวีเดน – เดินแล้วมีเสียง คนเมินบันไดเลื่อน เดินแล้วสนุกกว่า กำแพงคือวิหารของศิลปินข้างถนน – งานกราฟิตี้ชิ้นใหม่จาก Banksy เราวาดพื้นที่สาธารณะได้เอง เริ่มที่การเดิน – Walking in the City * รูปประกอบจาก วิกิพีเดีย, redpolkadot, และ Street Art Utopia วิดีโอโดย The Fun Theory

  • [29 พ.ค., 5 มิ.ย.] ซีรี่ส์เสวนา: ชีวิต / ศิลปะ / ออนไลน์

    ริเริ่มโดย @warong อาทิตย์ 29 พ.ค. 2554 15:00 น. @ The Reading Room สีลม 19 “คนยุค’เน็ตกับเพลงและหนัง: ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจากโลกออนไลน์” คุยกับ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (filmsick), ไกรวุฒิ จุลพงศธร, อธิป จิตตฤกษ์ อาทิตย์ 5 มิ.ย. 2554 15:00 น. @ ร้านหนังสือก็องดิด แยกคอกวัว “มุขปาฐะ คัดลอก การพิมพ์ การโหลด: เหลียวมองการเดินทางอันยาวนานของกิจกรรมการอ่าน” คุยกับ ภาณุ ตรัยเวช, วันรัก สุวรรณวัฒนา, กิตติพล สรัคคานนท์ ข้อมูลเพิ่มเติม: http://thainetizen.org/node/2634

  • Angry Angry Birds

    Angry Angry Birds

    เจ้านกเกรี้ยวกราด – พบใน Facebook

  • คิงคอง ๆ

    ละอองฟอง – ต่างใจเดียว ติ๊ก ชีโร่ – รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

  • “ชิงสุกก่อนห่าม” กับธงชัย ณ @thaireform

    วันนี้ [7 พ.ค. 2554] ไปฟัง “ชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” ที่หอประชุมศรีบูรพา ท่าพระจันทร์ มีนักวิชาการที่ข้องเกี่ยวกับชาญวิทย์ในช่วงชีวิตต่าง ๆ มาพูด 5 คน รายละเอียดไปติดตามเอาได้ตามเว็บข่าวต่าง ๆ (เห็นนักข่าวคับคั่ง) และทวีตจาก @iPattt @phichai @siu_thailand @iLawClub @thaireform และ @bact (ผมเอง – เกือบทั้งหมดติดแฮชแท็ก #ck70) ฮ่ะ ฮ่ะ ประเด็นไฮไลต์ของวันนี้ (สำหรับผม) ไม่ได้อยู่บนเวทีปาฐกถา แต่อยู่ในทวิตเตอร์ :p ประมาณเกือบ ๆ ห้าโมงเย็น ระหว่างที่องค์ปาฐกคนสุดท้าย คือ ธงชัย วินิจจะกูล กำลังพูด @thaireform (เป็นบัญชีทวิตเตอร์ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย โดยสำนักข่าวสถาบันอิศรา) ก็ทวีตว่า จบปาฐกถา อ.ธงชัย วินิจจะกูล “มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน”…

  • Francis Ford Coppola: "Who Says Artists Have to Make Money?"

    ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา ผู้กำกับ Godfather ให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ 99%, ถาม ใครบอกว่าศิลปินต้องทำงานเพื่อเงิน? (สัมภาษณ์โดย @Aristonian) คุณต้องจำไว้ว่ามันแค่ไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง, ถ้ามันมากขนาดนั้น, ที่ศิลปินทำงานด้วยเงิน. ศิลปินไม่เคยได้เงิน. ศิลปินมีผู้อุปถัมภ์, ไม่เจ้าเมือง ก็ดยุคแห่งไวมาร์ หรือที่ไหนสักแห่ง, หรือศาสนจักร, หรือโป๊ป. หรือไม่เขาก็มีงานอีกงานหนึ่ง. ผมมีงานอีกงาน. ผมทำหนัง. ไม่มีใครบอกผมให้ทำอะไร. แต่ผมทำเงินจากอุตสาหกรรมไวน์. คุณทำงานอีกงาน แล้วตื่นตีห้าเพื่อเขียนบทของคุณ. ความคิดที่ว่าเมทัลลิกาหรือนักร้องวงร็อคแอนด์โรลอะไรก็ตามจะรวย, มันไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว. เพราะ, ในขณะที่เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่, ศิลปะอาจจะเป็นของฟรี. นักเรียนพวกนั้นอาจจะถูกต้องก็ได้. พวกเขาควรจะโหลดเพลงและหนังได้. ผมจะถูกยิงที่พูดแบบนี้. แต่ใครบอกว่าเราต้องจ่ายเงินเพื่อศิลปะ? และดังนั้น, ใครบอกว่าศิลปินต้องหาเงิน? ในสมัยก่อน, 200 ปีที่แล้ว, ถ้าคุณเป็นนักแต่งเพลง, ทางเดียวที่คุณจะทำเงินได้คือเดินทางกับคณะออเคสตรา และเป็นผู้ควบคุมวง, เพราะนั่นจะทำให้คุณได้รับเงินในฐานะนักดนตรี. มันไม่มีการบันทึกเสียง. มันไม่มีค่าลิขสิทธิ์. ดังนั้นผมจะพูดว่า พยายามแยกความคิดเรื่องภาพยนตร์ออกจากความคิดเรื่องการหาเงินและหาเลี้ยงชีพ. เพราะมันมีทางอื่นอยู่. จาก 99% Francis Ford…

  • คำขวัญวันเด็ก

    [title-link] คำขวัญวันเด็ก สมมติประเทศ : รักสนุก มีศีลธรรม ขยันปาร์ตี้ ไม่ดื่มของมึนเมา ซื่อสัตย์ มีมารยาท รักชาติ รักเพื่อนบ้าน ปกป้องประชาธิปไตย มีวินัย ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน คิดนอกกรอบ เชิดชูสถาบัน ทำได้หมดนี้ นับว่าเป็นเทพมาเกิด มีความย้อนแย้งในตัวสูงยิ่ง technorati tags: Children’s Day