[โน๊ต] ใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต?


ประเด็นที่พอนึกออกเรื่อง Internet ownership

  • ความเป็นเจ้าของของพื้นที่ต่างๆ บนเน็ต ก็ส่งผลต่อสิทธิเสรีภาพในพื้นที่นั้นๆ และพื้นที่ที่เชื่อมต่อด้วย
  • เจ้าของส่วนประกอบต่างๆ ของอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่คือเอกชน ทั้งเจ้าของพื้นที่เว็บบอร์ด เจ้าของเว็บไซต์ เจ้าของพื้นที่เว็บที่แบ่งเช่า (โฮสติ้ง) เจ้าของเซิร์ฟเวอร์ เจ้าของศูนย์ข้อมูลที่เซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ เจ้าของสายส่งข้อมูล ฯลฯ
  • ในฐานะเจ้าของ บุคคล/นิติบุคคลที่ควบคุมพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตจริงๆ ก็เป็นเอกชน
  • ทั้งการอนุญาตให้เข้าถึงบริการหรือเนื้อหาอะไรได้บ้าง (net neutrality & censorship)
  • ทั้งการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (surveillance) โดยเอกชนเอง หรือที่ร่วมมือกับรัฐ เช่นโครงการ PRISM ของ NSA สหรัฐอเมริกา
  • ทางหนึ่งที่รัฐจะบังคบให้เอกชนทำเรื่องที่อยากให้ทำได้ คือ intermediary liability กำหนดภาระความรับผิดให้กับตัวกลาง พร้อมกับกำหนดข้อยกเว้นความรับผิด เพื่อจูงใจให้ให้ความร่วมมือ
  • ซึ่งพอเป็นเอกชนทำ (ไม่ว่าทำเองหรือรัฐกดดัน/กำหนดให้ทำ) กลไกความรับผิด การตรวจสอบได้ และความโปร่งใส (accountability/transparency) แบบที่มีกับรัฐ (เช่นกฎหมาย freedom of information อย่างพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการของไทย) ก็อาจจะไม่มี
  • หรือกรณีที่รัฐใช้วิธีกดดัน “ขอความร่วมมือ” ให้เอกชนทำ รัฐเองก็หลุดออกจากความรับผิดชอบตามกฎหมายไปด้วย
  • กรณีการเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็น พื้นที่ที่ดูเหมือนเป็นพื้นที่สาธารณะ ก็ยังเป็นของเอกชนอยู่ดี ซึ่งก็อาจจะทำให้ไม่มีหลักประกันว่า เจ้าของที่เป็นเอกชน จะยอมแบกรับความเสี่ยงเพื่อรักษาพื้นที่ให้คงความเป็นสาธารณะ พูดหรือแสดงอะไรก็ได้ เพราะเขาเองก็มีความเสี่ยงทางกฎหมาย หรือไม่มีแรงจูงใจเพียงพอทางเศรษฐกิจ
  • ในหลายประเทศที่รัฐเป็นเจ้าของ ISP หรือโครงข่ายโทรคมด้วย จะมีกรณีสั่งปิดอินเทอร์เน็ต ในกรณีมีเหตุการณ์ทางการเมือง
  • บางทีเราอาจจะลองใช้แนวคิด privately-owned public space จากการผังเมือง มาคิดกับเรื่องพื้นที่อินเทอร์เน็ตได้
  • อินเทอร์เน็ตอาจจะคล้ายเมืองใหญ่ ที่พื้นที่สาธารณะจริงๆ ลดน้อยลงเรื่อยๆ แต่มีพื้นที่คล้ายๆ พื้นที่สาธารณะที่เอกชนเป็นเจ้าของเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน เช่น ลานหน้าห้างสรรพสินค้า โถงกลางของศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ พื้นที่หน้าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
  • กรณีการชุมนุม Occupy Wall Street ก็เป็นการชุมนุมบนพื้นที่แบบนี้
  • มีอีกประเด็นคือ Internet access as constitutional/civil rights เช่นในประเทศกลุ่มนอร์ดิก ซึ่งกรณีนี้แปลว่ารัฐจำเป็นต้องการันตีว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงเน็ตได้ ถ้าเกิดว่าเอกชนเห็นว่าไม่คุ้มที่จะลงทุนในพื้นที่ไหน รัฐหรือผู้กำกับดูแลก็ต้องทำเอง หรือบังคับให้เอกชนต้องทำ
  • กับอีกประเด็นคือ Internet as Infrastructure ซึ่งต่อเนื่องจากตะกี้
  • มีข้อเสนอว่า ถ้ารัฐบาลท้องถิ่น เป็นเจ้าของถนนหรือท่อประปาได้ (ใช้เงินภาษีสร้าง-บำรุง) ก็น่าจะเป็นเจ้าของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตได้
  • แต่ทั้ง Internet access as constitutional rights และ as Infrastructure นี้จะเน้นเรื่องการเข้าถึงข้อมูลและโครงข่ายเป็นหลัก (pipes) ไม่ได้พูดถึงพื้นที่สำหรับเนื้อหาหรือเซิร์ฟเวอร์
  • การเปรียบเทียบอินเทอร์เน็ตกับโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนน ทำให้เชื่อมโยงแนวคิด net neutrality กับแนวคิด carrier must carry เข้าด้วยกันได้บ้าง

ค้นลิงก์เร็วๆ วันนี้

 


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.