รวมลิงก์บทความเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล
- ห้างสรรพสินค้ารู้ความลับของคุณได้อย่างไร? (แปลจากบทความของ Charles Duhigg)
- ระบอบเจ้าที่ดินและความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต (แปลจากบทความของ Bruce Schneier)
- ทำไมต้องกลัวถูกดักฟัง แม้คุณจะไม่มีอะไรต้องซ่อน? (แปลและเรียบเรียงบางส่วนจากบทความของ Daniel J. Solove)
- วัยรุ่นอเมริกันห่วงชื่อเสียงมากกว่าความเป็นส่วนตัว เลือกแชร์-ลบ-คบเพื่อนบนโซเชียลมีเดีย (สรุปจากการบรรยายโดย Urs Gasser)
- คน อินเทอร์เน็ต และความเป็นส่วนตัว: สำรวจสถานการณ์การละเมิดความเป็นส่วนตัวออนไลน์ในสังคมไทยช่วงครึ่งปีแรก พ.ศ. 2556 (รายงานโดย ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์)
- กูเกิลกับยุโรป: เมื่อ “สิทธิในการได้รู้” ปะทะ “สิทธิในการถูกลืม”
พลเมืองสเปน 90 รายยื่นคำร้องให้กูเกิลลบข้อมูลของตนจากการค้นหา สหภาพยุโรปเตรียมออกกฎกติกาเกี่ยวกับสิทธิในการถูกลืม ด้านกูเกิลแสดงความเป็นห่วงว่าการกำหนดให้มองข้ามข้อมูลบางอย่างจะกระทบเสรีภาพในการแสดงออก - เยอรมนีห่วงละเมิดสิทธิ สั่งห้ามเฟซบุ๊กค้นหาใบหน้าในรูปถ่าย
รัฐบาลเยอรมนีประกาศ การจดจำใบหน้าในรูปถ่ายโดยอัตโนมัติของเฟซบุ๊กผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลของทั้งเยอรมนีและสหภาพยุโรป และละเมิด “สิทธิในการไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ใช้” สั่งเฟซบุ๊กลบข้อมูลทันที - ปากีสถานแบนการเข้ารหัส เปิดทางรัฐดักฟัง
Privacy International รายงานข่าว รัฐบาลปากีสถานสั่งห้ามใช้ซอฟต์แวร์เข้ารหัสข้อมูล หวังบังคับใช้กฎหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่เข้มข้นขึ้น ให้รัฐดักฟังข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตสะดวกกว่าเดิม กลุ่มสิทธิห่วงการละเมิด - อียูจะปรับปรุงกฎการแจ้งเตือนประชาชนเมื่อข้อมูลส่วนตัวรั่ว
คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังพิจารณาว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเพิ่มเติมกฎระเบียบ เกี่ยวกับการแจ้งเตือนเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล โดยจะขยายให้ครอบคลุมไปถึง ธนาคารออนไลน์ เกมออนไลน์ การซื้อสินค้า และโซเซียลเน็ตเวิร์ก - ข้อความขยะ … อะไรคือมาตรการ “เลือกรับ” และ “เลือกไม่รับ” ?
มาตราการและกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ถูกรบกวนจากข้อความโฆษณาที่ไม่พึงประสงค์หรือ SPAM กรณีศึกษาจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา และความคืบหน้าของเรื่องนี้ในประเทศไทย - นิวส์ออฟเดอะเวิลด์ ติดสินบนตำรวจ ตามรอยโทรมือถือ
นักข่าวนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ยอมรับว่าเคยติดสินบนตำรวจให้ขอตำแหน่งโทรศัพท์มือถือของบุคคลที่นักข่าวต้องการติดตาม คณะกรรมการเผย 10% ของคำร้องไม่ได้ถูกตรวจสอบอย่างที่ควรจะเป็น ตั้งคำถามถึงรูโหว่ในกฎหมาย - ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว (Right to privacy)
รายงานวิจัยโดย บรรเจิด สิงคะเนติ (ที่ปรึกษาโครงการ), นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ (หัวหน้าโครงการ), เรวดี ขวัญทองยิ้ม (นักวิจัย) เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ใครสนใจประเด็นเหล่านี้ ขอเชิญร่วมงานประชุมวันที่ 25 กันยานี้ด้วยครับ
การประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองครั้งที่ 2
2nd Technology and Civil Rights Conference
พุธ 25 ก.ย. 2556 08:30-16:30
ห้อง 5303 อาคาร 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต [แผนที่] [Facebook]
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเครือข่ายพลเมืองเน็ต โดยการสนับสนุนของมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไพรเวซีอินเทอร์เนชันแนล และอินเทอร์นิวส์ ขอเชิญพลเมืองเน็ต นักวิชาการ ผู้ประกอบการ องค์กรประชาสังคม องค์กรกำกับดูแล และสื่อมวลชน ร่วมการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองประจำปี 2556 ในหัวข้อ “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร (Online Privacy and Communications Surviellance)”
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://thainetizen.org/2013/09/tech-civil-rights-conf-2013-online-privacy-communications-surveillance/