การเมืองบนเฟซบุ๊ก / Facebook Politics

แชร์ (เก้าอี้)

(จบแล้วครับ สี่ปีผ่านไป)

การเมืองบนเฟซบุ๊ก: วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือข่ายออนไลน์ไทย พ.ศ. 2553-2555

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ “การเมืองบนเฟซบุ๊ก: วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือข่ายออนไลน์ไทย พ.ศ. 2553-2555” ตั้งคำถามว่า การเคลื่อนไหวออนไลน์เปิดพื้นที่ทางการเมืองใหม่ๆ มากน้อยแค่ไหน สังคมออนไลน์แยกขาดจากออฟไลน์เพียงใด ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขทางวัฒนธรรมและโครงสร้างทางการเมืองของสังคมที่เครือข่ายออนไลน์ตั้งอยู่ มีส่วนสำคัญในการกำกับทิศทางความเคลื่อนไหวทางการเมืองออนไลน์ วิทยานิพนธ์นี้จึงต้องการค้นหาว่า วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของไทยเป็นอย่างไร เชื่อมโยงกับพื้นที่ทางการเมืองออฟไลน์อย่างไร และอะไรคือข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว การศึกษานี้อาศัยการสัมภาษณ์ทั้งผ่านอินเทอร์เน็ตและนอกอินเทอร์เน็ต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือนักศึกษาและคนทำงานที่ใช้เฟซบุ๊กอายุ 20-35 ปี

การศึกษานี้พบว่า การเคลื่อนไหวออนไลน์ในประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยทุนเช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวออฟไลน์ แต่เครือข่ายสังคมออนไลน์อนุญาตให้คนทั่วไปสะสมและแปลงทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมได้สะดวกขึ้น แม้สิ่งที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะไม่ใหม่ไปเสียทั้งหมด แต่ก็เกิดการขยายวงของการสื่อสาร อำนาจในการควบคุมพื้นที่เคลื่อนไปอยู่ในมือคนธรรมดามากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมก็ช่วยในการแสดงออกเรื่องที่โดยทั่วไปทำได้ยากในสังคม ซึ่งท้ายที่สุดแล้วทำให้มีเสรีภาพมากขึ้นในการแสดงออกและรวมตัว

อย่างไรก็ดี ในบริบทของวัฒนธรรม-การเมืองไทย การเคลื่อนไหวออนไลน์เรียกร้องให้ต้องรักษาความสัมพันธ์ในลักษณะหนึ่ง การเป็นเพื่อนเฟซบุ๊กจึงมีเงื่อนไขของความเป็นเพื่อนแบบสังคมไทยเคลือบแฝงอยู่ ส่วนการแสดงออกทางการเมืองซึ่งอาศัยทุนทางวัฒนธรรมที่ยังคงจำกัดกลุ่ม ทำให้คนที่มีทุนเหล่านั้นอยู่เดิมสามารถเข้าถึงและแสดงออกได้ง่ายกว่า กระนั้นก็ตาม ความเข้าถึงง่ายโดยเปรียบเทียบของเครือข่ายออนไลน์ในประเทศไทย ก็ทำให้การแสดงออกทางการเมืองเปิดกว้างขึ้น ผู้เสนอความเห็นทางการเมืองที่ไม่ได้มีทุนทางสังคมมาก่อนสามารถเข้าร่วมได้มากขึ้น

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2555 [ดาวน์โหลด]

Facebook Politics: Culture-Politics on Thai Online Social Network (2010-2012)

Abstract

“Facebook Politics: Culture-Politics on Thai Online Social Network (2010-2012)” studies culture and politics on Thai online social network during the ongoing social and political conflicts of recent years. It investigates how online relationships create political spaces and how online societies and their offline counterparts connected. As the cultural conditions and political structures of the society that the online social network is built upon play important role to shape the direction of online political movement, this study raises the following questions: What are the culture and politics of Thai online social network? How online political spaces connect with offline political spaces? And what are major constraints for online political movement? Informants are university students and young professionals, aged 20-35 years old. Interviews and observations were made both on- and off-line.

It is founded that fundamentally online political movements need the similar set of social and cultural capital as offline movements do. However, online social network is more convenient for the accumulation, transformation, and transactions of capitals. Although online social network is not that entirely new space, as Internet users gain higher power to create and control their communication spaces, freedom to address prohibited issues is increasing.

However, being Facebook friend in the context of Thai culture-politics requires certain kind of relationship, making it a “Thai Facebook friend.” The well-received political expressions require cultural capital that limited to a small group of people. Those who already have the required capital offline can have better access to and are more capable to express their ideas on the online space. Still, the relatively accessible to online social network in Thailand provides higher opportunity for political participation. Hence, those who had not had the social capital can now also join the space.

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Arts Program in Anthropology, Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University, 2012. [Download — Thai language, with English abstract]

การเมืองบนเฟซบุ๊ก: วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ไทย พ.ศ. 2553-2555

ขอบคุณอาจารย์ยุกติ มุกดาวิตร ครับ


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.