My first piece on horizon scanning. Examples used in the article are from my travelling around Southeast Asian countries in recent years, particularly Cambodia and Indonesia.
@PACEyes ชวนเขียนบทความส่งนิตยสารว่าด้วยการมองภาพอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมก็เขียนเรื่องที่ผมพอเขียนได้ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญอะไร แต่ก็เล่าเรื่องที่เดินทางและพบเห็น พร้อมกับข้อสังเกต รวม ๆ ทั้งหมดมันตั้งอยู่บนธีมหลักที่ผมสนใจ คือ “mobility”
ชื่อวารสารคือ Trendnovation Southeast Newsletter ตีพิมพ์ไปแล้วเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา มีให้โหลดออนไลน์ ตามลิงก์ข้างล่าง
Suriyawongkul, Arthit. 2011. “It’s moving”: Digital Migrations and Identity Transformations in Southeast Asia. In Trendnovation Southeast Newsletter, Issue 8 (June 2011). [PDF]
การเดินทางไปเจอคนต่าง ๆ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ที่ส่วนหนึ่งถูกนำเป็นข้อมูลในงานชิ้นนี้ มีทั้งงานของโอเพ่นดรีม แม่โขงไอซีทีแคมป์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต และที่เรียนมานุษยวิทยาที่ท่าพระจันทร์
เป็นครั้งแรกที่ได้รู้จักกับวิธีการที่เรียกว่า horizon scanning ก็ได้คนจาก Noviscape ช่วยโค้ชให้ พร้อมกับปรับกรอบการนำเสนอ (ข้อมูลภาคสนามจำนวนหนึ่งเคยใช้ในงานอื่น ๆ มาก่อนแล้ว แต่ไม่ได้อยู่ในกรอบของ horizon scanning) ก็สนุกดี ได้ลองอะไรใหม่ ๆ
ผมอ่านดูบทความอื่น ๆ ในเล่ม วิธีการเขียนนี่คนละแนวเลย ที่ผมเขียนจะเป็นลักษณะเรื่องเล่ามากกว่า และมันไม่ใช่การศึกษาแบบสเกลใหญ่ แต่เป็นกรณีย่อย ๆ มากกว่า ข้ออ่อนของมันคือ เราจะสามารถทำให้สิ่งค้นพบย่อย ๆ เหล่านั้น กลายเป็นข้อสังเกตในแบบทั่วไปได้หรือไม่ ? (generalization) ความคิดเห็นจากกองบรรณาธิการระหว่างการเขียนก็คือ ต้องเพิ่มการอ้างอิงแหล่งข้อมูลหรือเอกสารให้บทความมันแข็งแรงขึ้น หลังจากแก้ ๆ ไปหลายรอบ ก็ได้รับความเห็นเพิ่มเติมมาจากทีมว่า น่าสนใจ เป็นวิธีการเขียนที่ไม่เคยมีมาก่อนในวารสารนี้ — และผมเองก็ไม่เคยเขียนแบบนี้มาก่อนเหมือนกัน นี่คือที่บอกว่าสนุก
รู้สึกมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า โค้ชชิ่งเป็นเรื่องสำคัญ
อะไรคือ Horizon Scanning ? ดูตามสไลด์ละกันนะครับ ผมก็ไม่แม่น