การใช้อุปลักษณ์ (metaphor) ‘พ่อ’/’แม่'(-‘ลูก’) เช่น พ่อของแผ่นดิน อาจารย์แม่ บิดาแห่งวงการ… ฯลฯ
ผลที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ (entailment) ในเชิงมโนทัศน์ อย่างหนึ่งก็คือ คนคนนั้นจะมีบุญคุณกับ ‘ลูก’ โดยอัตโนมัติ
เป็นบุญคุณที่ชาตินี้ชาติหน้าก็ทดแทนกันไม่หมด
ทั้ง ๆ ที่คน ๆ นั้นอาจจะไม่เคยทำอะไรให้ชีวิตคุณดีขึ้นมาแม้แต่น้อย ไม่เคยเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตคุณเลย
ผมจึงไม่เห็นด้วยและต่อต้านการมัดมือชก ด้วย metaphor แบบนี้
ผมมีพ่อเดียว แม่เดียว ไม่ต้องเอาใครมาเป็นพ่อเป็นแม่ผมอีก
หรือถ้าจะมี ก็ขอให้ผมเป็นคนเลือกใช้เอง ไม่ต้องมาจับยัดแบบผมไม่ได้เลือก
(ผมเรียก อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ว่า ‘อาจารย์ย่า’ เพราะรู้สึกอย่างมากว่าคนคนนี้เคารพได้
และข้อเขียนและคำปรึกษาของเขา มีค่ากับผมมาก ทั้งในทางวิชาการและกิจกรรมอื่น ๆ
แต่ผมไม่เรียก สุนีย์ สินธุเดชะ ว่า ‘อาจารย์แม่’ แน่ๆ เขาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับผมเลย)
—-
ผู้สนใจเรื่องอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (conceptual metaphor) วิกิพีเดียมีเขียนแนะนำไว้
หนังสือหลักเล่มหนึ่งของเรื่องนี้คือ Metaphors We Live By
โดย George Lakoff และ Mark Johnson
คนแรกนั้นเป็นนักภาษาศาสตร์ คนหลังเป็นนักปรัชญา ทั้งสองสนใจเรื่องภาษาศาสตร์ปริชาน (cognitive linguistics)
Peter Norvig กูรูด้านปัญญาประดิษฐ์ ที่ตอนนี้เป็น Director of Research ที่ Google เคยรีวิวหนังสือเล่มนี้ไว้
ผมขอขอบคุณ ยุกติ มุกดาวิจิตร ที่แนะนำให้ผมรู้จักหนังสือสำคัญเล่มนี้
technorati tags: cognitive linguistics, metaphor, father