[ขึ้นต้นอย่าง ลงท้ายอย่าง ตามอ่านกันดู :P]
ตามเก็บ blog tag กันต่อ – เป็นกิจกรรมเข้าจังหวะที่นัวเนียหนึบหนับซะจริง ๆ
ผมกับพี่ปุ่น แท็กเป็น exponential แฮะ
เพราะ 1) แท็กไปแล้วเงียบก็มี 2) แท็กซ้ำกันก็มี 3) แท็กย้อนกลับมาที่เดิมก็มี (จริง ๆ อันนี้เป็นกรณีพิเศษของ 2)
ลองดูผัง blog tag trace โดย keng
จะเห็นว่ามันเป็น กราฟระบุทิศทาง ไม่ใช่ ต้นไม้
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเกิดว่า ผู้แท็กแต่ละคน ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการแท็กของคนอื่นเลย หรือว่ามีน้อยมาก อาจจะรู้แค่บล็อกแม่ของตัวเอง กับพี่น้องร่วมบล็อกแม่
“ถ้า A แท็ก (ชี้ไปหา) B, C, D, E, F — ให้ A เป็นบล็อกแม่ของ B-F, และ B-F เป็นพี่น้องร่วมบล็อกแม่กัน”
ตรงนี้น่าจะทำให้ลักษณะของกราฟเปลี่ยนไป เพราะสังเกตจากพฤติกรรมการแท็กของหลายคน (รวมทั้งผม) แล้ว พยายามจะแท็กให้ไม่ซ้ำกัน
จากพฤติกรรมตรงนั้น ผมตั้งสมมติฐานว่า หากข้อมูลเกี่ยวกับการแท็กมีจำกัด น่าจะเกิดการแท็กซ้ำมากกว่านี้ (= มีเส้นชี้เข้าหาบล็อกหนึ่ง ๆ มากขึ้น) และลักษณะของกราฟก็จะกระจุกตัวหรือทอกันแน่นขึ้น (วิ่งวนไปมา — มีวัฏจักรเยอะ)
และจากเหตุนี้ ก็น่าจะทำให้ขนาดของกราฟ (จำนวนบล็อกทั้งหมด) มีอัตราการขยายที่ลดลงด้วย (เพราะแทนที่แต่ละบล็อกจะขยายไปบล็อกใหม่ได้ทีละ 5 บล็อก ก็ต้องลดลง เพราะมีซ้ำ)
อย่างไรก็ตาม สมมติฐานข้างต้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า บล็อกแต่ละบล็อก ตัดสินใจแท็กด้วยข้อมูลที่ตนมีอยู่เท่านั้น
— และไม่สามารถคาดเดาการแท็กของบล็อกอื่น ๆ/ไม่เอาการคาดเดานั้น มาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจแท็กของตนเอง
แต่ในความจริงแล้ว เราพบพฤติกรรมที่บ่งถึง การนำเอาการคาดเดาของบล็อกอื่นมาใช้ตัดสินใจการแท็กของตนเอง เช่น “บล็อกนี้น่าจะถูกแท็กไปแล้ว” (กรณีบล็อกคนดัง หรือ รู้ว่าบล็อกนี้สนิทกับบล็อกโน้นต้องแท็กกันแน่ ๆ) หรือ “ปล่อยให้บล็อกนั้นแท็กบล็อกนี้ดีกว่า น่าจะมีโอกาสตอบรับแท็กมากกว่า” (รู้ความสัมพันธ์ระหว่างบล็อก) หรือ “อืม อย่าเลยเค้าไม่ค่อยอัพบล็อก” (รู้ความถี่ของการอัพบล็อก) ฯลฯ
พูดอีกอย่างก็คือ แม้แต่ละบล็อกจะไม่มีข้อมูลการแท็กที่แท้จริงทั้งหมด แต่จากข้อมูลอื่น/ประสบการณ์ อาจจะทำให้สามารถคาดเดาการแท็ก/ตอบรับแท็กของคนอื่นได้ และนั่นอาจมีผลต่อการตัดสินใจแท็กของตน — และมีผลต่อเนื่องไปสู่ลักษณะของกราฟโดยรวมทั้งหมด
เช่น สำหรับกรณีที่คาดเดาได้ถูกต้องว่า “บล็อกนี้น่าจะถูกแท็กไปแล้ว” และตัดสินใจไม่แท็กไป ก็จะทำให้การแท็กซ้ำลดลง
หรือ กรณีที่คาดเดาได้ถูกต้องว่า “ปล่อยให้บล็อกนั้นแท็กบล็อกนี้ดีกว่า น่าจะมีโอกาสตอบรับแท็กมากกว่า” และตัดสินใจให้คนอื่นแท็ก ก็จะลดจำนวน “แท็กตาย” (แท็กที่ไม่ได้รับการตอบรับ) = ต่อโอกาสการขยายออกไปอีก
และในทุกกรณี การแท็กจะยิ่งมีประสิทธิภาพ (แท็กไม่ซ้ำ ไม่ตาย) หากอนุญาตให้มีการสื่อสารระหว่างบล็อกได้ แม้จะอนุญาตให้ทำได้ในวงจำกัดก็ตาม (เช่น ได้เฉพาะพี่น้องร่วมบล็อกแม่เท่านั้น) — “แกไปแท็กบล็อกนี้นะ ฉันจะแท็กบล็อกนี้เอง” “บล็อกนี้ฉันแท็กแล้ว แกอย่าซ้ำนะ”
สรุปได้ว่า การที่แต่ละบล็อกมีข้อมูลมากขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการแท็กโดยตรง หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่จะใช้คาดเดาการแท็กได้) และสามารถสื่อสารระหว่างบล็อกได้มากขึ้น จะช่วยให้ลักษณะของกราฟ มีโอกาสเป็นไปได้อย่างที่บล็อกส่วนใหญ่ต้องการให้เป็น
(เช่น ถ้าบล็อกส่วนใหญ่ อยากให้กราฟขยายตัว ก็จะพยายามแท็กให้ไม่ซ้ำไม่ตาย เพื่อที่จะให้มันขยายได้เยอะ ๆ หรือถ้าบล็อกส่วนใหญ่ อยากให้กราฟมันวิ่งวนเป็นรูปสวย ๆ ก็สามารถแท็กได้)
ถ้าเทียบเคียงกับสังคมเราจริง ๆ แล้ว มันก็คงเหมือน เสรีภาพในการได้รับ/เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และ เสรีภาพในการสื่อสารกัน
ยิ่งมีมาก ก็น่าจะยิ่งทำให้กิจกรรมในสังคมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งหมดนี้ โดยไม่ต้องอาศัยการสั่งการจากใครคนใดคนหนึ่ง
หรือจะพูดกลับกัน ให้ “ก้าวร้าว” หน่อย ก็ต้องบอกว่า
สังคมที่พยายามปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร ปิดกั้นการสื่อสารการแสดงความคิดเห็น เป็นสังคมที่ พยายามจะทำให้เกิด/รักษาความต้องการสั่งการจากคนใดคนหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง — พูดง่าย ๆ ว่า “หวงอำนาจ” นั่นเอง
(ส่วนข้ออ้างที่เขา ๆ ชอบใช้กัน ก็คือ สังคมเรายังไม่พร้อม ยังไม่มีความรู้ หรือ ยังโง่อยู่ นั่นเอง — เราจะฉลาดขึ้นมาได้อย่างไร ? เมื่อเราไม่มีเสรีภาพในการเข้าถึงความรู้ที่อยากรู้ ไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์)
จริงไหม ?
ขอโยนไปให้ อ.มะนาว เปนชู้กับกราฟ พิสูจน์ละกัน 😛
แถม:
- PaePae เขียน ปรากฏการณ์ Blog-Tag เกี่ยวกับอาการแท็กแท็กของวงบล็อกเมืองไทย
- YouFest : YouMedia “งานของคุณ : สื่อของคุณ” สงสัยจะมีคนพูดถึงเรื่องนี้แน่ ถ้าไปได้ ไปกัน เสาร์ 20 มกรานี้
technorati tags:
blog tag,
graph theory,
online social network
5 responses to “taggat – informed players”
ในอีกแง่หนึ่ง ก็ทำให้เราพบความสัมพันธ์ในอีกสายที่เราไม่รู้ เช่น ผมกับ mk ห่างกันอยู่ 2 degree ผ่านคนที่เราคาดไม่ถึงถ้าเกิดว่า distance ระหว่าง vertex ใด ๆ ใน graph มีขนาดไม่เกิน 6 จะบอกได้มั้ยว่า มันคือ six degrees of separation ?
จริง ๆ แล้วถ้า tag โดยไม่รู้อะไรเลย… แล้วการ tag เป็น random จริง ๆ (ถ้าในพิจารณาในกราฟคือหยิบโหนดปลายทางแบบสุ่มแบบกระจายเท่ากันหมด) ระยะห่างระหว่างคนสองคนก็ยังสั้นมาก ๆ อยู่ดีแต่ถ้าไม่สุ่มแบบนั้นล่ะ? กราฟหรือวิธีการสุ่มแบบไหนที่จะรับประกันว่า ระยะทางระหว่างคนสองคนจะสั้นนะ?เนี่ยะ กะว่าจะเอาเรื่องพวกนี้ไปพูดใน YouFest พอดีเลยเห็นภาพกันง่ายดีเลย มี blog tag เนี่ยะ อิ อิ
หมายเหตุ: เกี่ยวข้องกับ expander graphs และ random graphs อ่ะ
สนุกสนาน 😀
ความเห็นส่วนตัวนะ1.ถ้าจะมองอย่างนี้ล่ะว่าฝ่ายได้รับ tag ไม่เต็มใจที่จะเล่นด้วยแล้วจะ…ได้มั้ย…จะทำยังไง มันจะผิดร้ายแรงโทษฐานที่ตัดสาย tag รึเปล่าแต่เท่าที่เห็นเหมือนจะตอบกันหมดนะ ไม่ยักกะมีใครรู้สึกกระอักกระอ่วนเลยแฮะน่าสนใจขบดูเหมือนกันว่าอะไรที่ประคับประคองให้เรา tag กันได้กระจายและรวดเร็วเพียงนี้2.รู้สึกเล็กๆ ว่าการ tag ซ้า แง่นึงมันก็เป็นปัญหา แต่อีกแง่นึงก็…ไงดีล่ะ 5คนที่เราอยาก tag น่าจะเป็น 'somebody' ในความรู้สึกเราใช่มะแล้วถ้ามันซ้ำคนอื่น เรา(เหมือนว่า)ต้องหาคนอื่นที่ยังไม่โดนแล้ว..เจ้าระดับความรู้สึก 'somebody' ที่ว่ามันก็จางลงด้วยตามลำดับ สรุปแล้วเราจะบอกอะไรเนี่ย? คือ ผลลัพธ์มันบิดไปจากจุดสูงสุดที่เราต้องการ หรือ ไม่สามารถตอบสนอง demand ของเราได้ครบถ้วนน่ะ3.น่าจะมีทางออกเรื่องจิ้มคนซ้ำ เช่น (คงเป็นไปไม่ได้)ถ้าเรา tag ซ้ำปุ๊บระบบบางอย่างจะเตือนเราทันที และอาจโชว์ชื่อคนอื่นที่เราสามารถtagได้จะจากmsn list ของเรา favorites..แล้วแต่