“ ถ้ากฎหมายนี้ผ่านจะมีรัฐซ้อนรัฐในประเทศ รัฐธรรมนูญก็หมดความหมาย ”
— นายพิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
“ ขณะนี้รัฐบาลมีกฎหมายความมั่นคงอยู่แล้ว 2 ฉบับ คือ กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ที่แก้ไขเมื่อปี 2546 เพิ่มเติมเรื่องภัยคุกคาม และพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้าพูดตรงไปตรงมาคือการเปิดบทบาทให้กองทัพเข้ามาจัดการบ้านเมืองได้หลายเรื่อง เช่น มาตรา 9 ให้จัดตั้งกอ.รมน. มาตรา 10 ให้กอ.รมน.จัดการเรื่องความมั่นคงทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติอย่างเต็มที่ ทั้งที่มีกฎหมายที่จะประกาศใช้ตรงไหนก็ได้ ห้ามการชุมนุมได้อยู่แล้ว
ขอบเขตความมั่นคงในราชอาณาจักรหรือภัยคุกคามกว้างมาก เป็นความมั่นคงในทรรศนะที่แปลก ให้มีอำนาจจัดการทั้งในยามปกติและไม่ปกติ ซึ่งพ.ร.บ.นี้สร้างบทบาทให้กองทัพมีอำนาจล้น และตรวจสอบไม่ได้ ถือว่าท้าทายหลักนิติธรรมของประเทศอย่างมาก ขัดต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน หากโครงการของรัฐที่ประชาชนได้รับความเสียหายมาเรียกร้องจะถือว่ากระทบต่อความมั่นคงหรือไม่
พ.ร.บ.นี้ยังขัดกับการกระจายอำนาจ เป็นสิ่งย้อนยุค ผบ.ทบ.เป็นผู้มีอำนาจและใช้ดุลยพินิจสูงมาก แม้นายกฯจะเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน แต่ไม่มีอำนาจ จึงไม่ควรออกกฎหมายในยุคนี้ ควรประเมินการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่าใช้ได้หรือไม่ ไม่ใช่รวบอำนาจให้กอ.รมน. กองทัพบก เพราะเป็นการสร้างอำนาจซ้อนรัฐ
ยิ่งรัฐบาลชุดใหม่อ่อนแอเพราะเป็นรัฐบาลผสม กอ.รมน.จะมีบทบาทสูงเรื่องความมั่นคง ผมไม่เห็นด้วยที่จะออกกฎหมายนี้ ”
— นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ชำแหละร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงภายใน ‘อำนาจ ผบ.ทบ. เหนืออธิปไตยไทยทั่วประเทศชั่วชีวิต’
รวบรวมความคิดเห็นจาก
ไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมสิทธิและเสรีภาพเพื่อประชาชน
นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมชาย หอมลออ อดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ
พิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
สิทธิเสรีภาพที่กล่าวอ้างว่ามีเพิ่มขึ้นใน ร่างรธน. 2550 เป็นเรื่องเหลวไหล เพราะเอาเข้าจริง ก็จะถูกจำกัดโดย พ.ร.บ.ความมั่นคงอยู่ดี
นี่บอกถึงเจตนาของกลุ่มผู้ผลักดันร่างรธน.นี้ได้เป็นอย่างดี ว่าหมกเม็ดสิ่งต่าง ๆ เอาไว้ บอกความจริงเพียงครึ่งเดียว
technorati tags:
national security
One response to “On National Security Act (1)”
เฮ้อออ อ่านแล้วก็เครียดแต่ขอบคุณค่ะที่เอามาให้อ่านเผื่อได้เอาไปสนทนาต่อ