สาระประโยชน์เพียบครับ "ทีวีบริการสาธารณะ" ของไทย เราจะได้ดูแบบนี้นี่แหละในทีวีดิจิทัล ดูกันไปอีก 15 ปีครับ แหม่ กว่าเขาจะจัดสรรใบอนุญาตกันใหม่v
Tag: military
Man of His Words สรรเสริญ แก้วกำเนิด
"ผมอยากขยายความหลักการทำงานนิดหนึ่ง สสารทุกอย่างในโลกมนุษย์ จะมีสนามแม่เหล็กของมัน ซึ่งจะแตกต่างกัน หลักการของการใช้เครื่อง GT200 ก็คือ เราจะตรวจหาอะไร เราก็เอาสารชนิดนั้นมาทำเป็นเซ็นเซอร์การ์ดแล้วใส่เข้าไปในนี้ ซึ่งก็จะมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้น สมมติว่าเราใส่เรื่องของยาเสพติด ยาไอซ์เข้าไป เมื่อเครื่องทำงานก็จะไปตรงกับยาไอซ์ ซึ่งอยู่ในภูมิประเทศที่เรากำลังหา เนื่องจากมีสนามแม่เหล็กที่ตรงกัน ตัวเสาสัญญาณจะเบนไปหา" -- สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก
ปฏิรูปกองทัพ ขยายงานบริการ สร้างรายได้ เพิ่มดาวน์ไลน์ คุณเองก็ทำได้
(บันทึกจากการไปนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่ลำปาง เมื่อหลายเดือนก่อน)
ที่พักที่อยู่นี่ มีพลทหารสองนายดูแลด้วย ประมาณว่าเจ้าของเป็นทหาร (ขับรถมีสติกเกอร์ กอ.รมน.) เลยมาเรียกมา “ปฏิบัติราชการ” ช่วยนายเสียหน่อย ปัดกวาดเช็ดถู ยกเก้าอี้ และเสิร์ฟเบียร์ลูกค้า :p
รักทหาร รัฐทหาร
ข่าวร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ….
คปส. รายงาน วุฒิฯผ่านกม.คลื่น-เปิดทหารคุม กสทช.
วุฒิสภาไม่ถึงครึ่งผ่านร่างพ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพิ่มกสทช.ฝ่ายความมั่นคง ศาสนา จาก 11 เป็น 15 คน เปิดให้องค์กรรัฐ-เอกชนด้านความมั่นคงและบริหารราชการคัดเลือกกันเอง และต้องจัดคลื่นเพื่อความมั่นคงอย่างพอเพียง
A Coup for the Rich, Creative Thailand, #GT200
ตอนนี้ในเน็ตมี ใบปลิวตั้งคำถามหลายข้อถึงความชอบธรรมในการจัดซื้อจัดจ้างงานต่าง ๆ ในห้วงระยะเวลาที่คมช.ครองอำนาจสูงสุด (จาก ไทยอีนิวส์)
หนึ่งในคำถามเหล่านั้น ตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ของ
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข รักษาการประธาน คมช. / รองหัวหน้าคปค.คนที่ 1 กับ
พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ / สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และ
นายอนุวัฒน์ วัฒนกิจ เจ้าของบริษัท เอ วิ เอ แซทคอม จำกัด (ผู้แทนจำหน่าย เครื่องตรวจจับระเบิด
GT200)
Thailand’s Corruption Perceptions Index 2002-2009: Thaksin, Coup, Military, Abhisit
อัปเดต: คำอธิบายกราฟงบประมาณกองทัพ: แก้ไขหน่วยเงินเป็นเหรียญสหรัฐ (USD), เดิมใส่ผิดเป็นบาท (THB). เพิ่มลิงก์ เอแบคโพลล์, นายกตอบคำถามเรื่องปัญหาคอร์รัปชัน (วิดีโอ)
จากข้อมูลของ Transparency International นี่คือกราฟแสดงดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) จากปี 2545-2552:
Burmese Anti-Blogging Measures
Niknayman (ต้องลงฟอนต์พม่าก่อน ถึงจะอ่านได้) บล็อกพม่าที่รายงานเหตุการณ์ลุกฮือในพม่าเมื่อกันยาปีที่แล้ว รายงานว่า:
รัฐบาลทหารพม่า ใช้เทคนิควิธีหลายอย่าง เพื่อสกัดกั้นบล็อกเกอร์/ผู้สื่อข่าวพลเมืองในอินเทอร์เน็ต
วิธีมีตั้งแต่การปิดกั้นให้เข้าบล็อกไม่ได้
การแทรกคำต่าง ๆ เข้าไปในบล็อก
การเปลี่ยนทางลิงก์ในบล็อก (ไปโผล่เว็บโป๊แทน)
ไปจนถึงการพยายามทำให้อินเทอร์เน็ตช้าลง เพื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะได้เข้าถึงบล็อกและเว็บไซต์เหล่านั้นไม่ได้
On National Security Act (1)
“ ถ้ากฎหมายนี้ผ่านจะมีรัฐซ้อนรัฐในประเทศ รัฐธรรมนูญก็หมดความหมาย ”
— นายพิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
“ ขณะนี้รัฐบาลมีกฎหมายความมั่นคงอยู่แล้ว 2 ฉบับ คือ กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ที่แก้ไขเมื่อปี 2546 เพิ่มเติมเรื่องภัยคุกคาม และพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้าพูดตรงไปตรงมาคือการเปิดบทบาทให้กองทัพเข้ามาจัดการบ้านเมืองได้หลายเรื่อง เช่น มาตรา 9 ให้จัดตั้งกอ.รมน. มาตรา 10 ให้กอ.รมน.จัดการเรื่องความมั่นคงทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติอย่างเต็มที่ ทั้งที่มีกฎหมายที่จะประกาศใช้ตรงไหนก็ได้ ห้ามการชุมนุมได้อยู่แล้ว
National Security – Nation of Who ?
พ.ร.บ. ความมั่นคง (ยังเป็นร่างอยู่ กำลังจะผ่าน) จะสร้าง ‘ความถูกต้องและชอบธรรมทางกฎหมาย’ ให้กับกองทัพ ในการใช้อำนาจกดขี่ประชาชน ซึ่งรวมถึง:
- อำนาจในการโยกย้ายข้าราชการ
- อำนาจในการจับใครคุมขังก็ได้โดยไม่ต้องพึ่งหมายศาล — โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน รวมถึงขยายเวลาควบคุมต่อได้อย่างไม่สิ้นสุด
- อำนาจในการห้ามมิให้มีการชุมนุม
- อำนาจในการกักกันบริเวณ
“ สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นฝันที่เป็นจริง หากประชาชนไม่สามารถต้านทานพลังทหารและพวกเชลียร์ทหารได้ในอนาคตอันใกล้ ใครก็ตามหากถูกทหารจับไปซ้อมสักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็อาจสามารถพูดอะไรก็ตาม ที่ทหารอยากให้ ‘สารภาพ’ ก็ได้ ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องแปลกและคาดไม่ถึง และคงจะเกิดขึ้นหาก พ.ร.บ. นี้ประกาศใช้ ”
— ประวิตร โรจนพฤกษ์
Democracy under Martial Law ?
“….ใน ภาวะของการประกาศกฎอัยการศึก จะมีประชาธิปไตยได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่มีโอกาสได้คุยกันและทำความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ และปล่อยให้ สสร. ได้รณรงค์ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อยู่แต่ฝ่ายเดียว…มิพักต้องกล่าวถึง ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ล้มไปได้เลย….”