เป็นครั้ง แรกทีเดียวที่นักเลือกตั้งประเมินว่า นโยบายและชื่อชั้นของพรรครวมทั้งคนหรือบุคลากรหรือผู้นำของพรรค เป็นตัวชี้วัดความนิยม นั่นหมายความว่า นักเลือกตั้งเหล่านี้ไม่เชื่อมั่นในเงินของตัวเองว่าจะซื้อคะแนนได้อีกต่อ ไปแล้ว นี่คือดอกผลของการออกแบบระบบการเลือกตั้ง เพียงช่วง 5 ปี กับการเลือกตั้งเพียงสองครั้งเท่านั้น การซื้อเสียงกำลังจะหมดความหมายไปจากสังคมไทย
…
การยกเลิกระบบปาร์ตี้ลิสต์ไป แล้วกลับไปย้อนยุค รังแต่จะเพิ่มวิกฤติและแรงกดดันให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ในแบบไม่ยอมปรับตัว) เสียเปล่าๆ
ลืมคุณทักษิณ ชินวัตรไปบ้างไม่ได้หรือครับ อย่าให้เขามาหลอกหลอนและกำหนดชะตาชีวิตที่เหลือของคนไทยที่ต้องถูกบังคับ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่เลย
พฤติกรรมของคุณทักษิณที่ผ่านมาเป็นข้อยกเว้น เพราะให้ทุกอย่างเหมือนเดิม ใช้รัฐธรรมนูญ 2540 มี การเลือกตั้ง มีคุณทักษิณเป็นนายกฯ อีกครั้ง สังคมการเมืองไทยก็ไม่เหมือนเดิมแบบที่คุณทักษิณจะมาเผด็จอำนาจได้อีกแล้ว นั่นก็เพราะระบบตรวจสอบทำงานแล้ว และนั่นคือหัวใจ
เราต้องเพิ่มระบบตรวจสอบให้เข้มแข็งขึ้น ติดอาวุธให้กับกลไกตรวจสอบ เพิ่มอำนาจประชาชน ประชาชนฟ้องคดีทุจริตได้ เข้าชื่อถอดถอนได้ง่ายขึ้น ทำสื่อให้เป็นอิสระและฉลาด กระจายอำนาจออกไป แต่อย่าลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาล
เพราะการลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาล ประชาชนจะเสียประโยชน์ที่นโยบายที่พรรคการเมืองหาเสียงไว้ก็ทำไม่ได้ ต้องกลับไปวัดค่า ส.ส. ด้วยการขายเสียงเหมือนเดิม
ขณะที่ประโยชน์ของการลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาลจะไปอยู่ที่ข้าราชการและอำมาตย์ทั้งหลายที่ร่วมกันทำรัฐประหาร
ที่สำคัญที่สุดคือศักดิ์ศรีของชาติและประชาชน ในฐานะที่ชาติและประชาชนเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 แต่หลงลืมทุกอย่าง หลงลืมบทเรียน ประวัติศาสตร์ และย้อนกลับไปรอยเดิม ให้คนรู้เรื่องไม่ค่อยมาก หรือรู้มากแต่มีอคติ หรือไม่ก็รู้มาก แต่กลัวทักษิณเสียจนขาดสติ พาชาติและการเมืองไทยถอยหลังไปหลายสิบปี
ใต้เท้าขอรับ : เลือกนายกฯโดยตรง? — ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
International IDEA
International Institute for Democracy and Electoral Assistance
technorati tags:
electoral system,
Thailand
7 responses to “Electoral System Design / IDEA”
เข้าประชาไทไม่ได้ซักระยะนึงแล้วBad Request ตลอดป.ล.ใช้เน็ตทรู
🙁 ประชาไทช่วงนี้เข้ายากแต่ไม่เกี่ยวกับทรูหรอก
เข้าไป download ตามลิงค์นี้ไม่ได้ครับhttp://siit.net/members/art/searchplugins/รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
Strong priminister บทสรุปจากข้อเขียนของ อ.อมร จันทรสมบูรณ์ ผมนั่งอ่านตั้งแต่เพิ่งเรียนจบ ตีพิมพ์ในผู้จัดการรายวัน (ยุคคุณภาพ)ประมาณปี 37-38 มั้ง ผมว่ามันตอบโจทย์ความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลผสมยุคนั้นได้ตรงมากแต่ตอนนี้เรากำลังเจอโจทย์ใหม่ครับ นายกเข้มแข็งเกินไปรึเปล่า ผมคิดไปคิดมา อาจจะไม่ใช่ก็ได้นะ ผมกลับคิดว่า เราไปพยายามสนับสนุนให้พรรคการเมืองใหญ่ๆ เท่านั้นอยู่ได้ ภายใต้อคติแห่งทฤษฎี2พรรคใหญ่แบบอเมริกา เราอยากให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง แต่ในความเป็นจริงของการเมืองไทย พรรคส่วนใหญ่มันเป็นของคน หรือกลุ่มคนเล็กๆ ที่มีอำนาจเงินควบคุมพรรค เลยกลายเป็นพรรคของนายทุน สมาชิกเลยไร้ความหมาย ส.ส.ก็ไร้ความหมายเพราะต้องยกมือตามมติพรรค ถ้ามองจากความเป็นจริง 5 ปีที่ผ่านมามันเป็นความอ่อนแอของระบบสภานิติบัญญัติยาวครับ อีกสักอาทิตย์หน้า ผมจะเขียนความคิดและข้อเสนอใน blog ของผม ช่วยไปอ่านกันหน่อยนะ (แฮะ ขอโปรโมตหน่อยนะครับ)
o,g: ผมเข้า *.wordpress.com ไม่ได้เลยเว็บอื่น ๆ ก็ช้าใช้ csloxinfoa: เอ ดาวน์โหลดอะไรไม่ได้เหรอครับ ? ผมลองกดลิงก์ติดตั้งปลั๊กอินดู ก็ใช้ได้ทุกอันนะครับt: รออ่านครับ 🙂
เขียนอยู่ 4 วัน ยาวเหยียดครับ เรื่อง strong prime-minister but weak parliamentชวนอ่านที่ http://innerfreedom.blogrevo.com
โอ้ย ขยันสุดยอด ! :Dกดเข้าไปดูแล้ว จะทยอยอ่านครับ 🙂