Bangkok Pundit: PPP – the Anti-military Party


Bangkok Pundit ยกตัวอย่างคำสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิออกเสียงหลายคน จากหลายแหล่งข่าว

โดยชี้ว่าผู้มีสิทธิจำนวนหนึ่ง ต้องการโหวตเพื่อต่อต้านรัฐประหาร
และคิดว่าการเลือกพลังประชาชน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการนี้มากกว่า “no vote”

อย่างไรก็ดี Bangkok Pundit ไม่คิดว่าจะมีคนคิดเช่นนี้มากนัก โดยคะเนไว้ว่าน่าจะอยู่ที่ 3-4% เท่านั้น

Bangkok Pundit: PPP – the Anti-military Party

(ในจำนวนนั้น อาจจะมีผมด้วย)


เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ประชาไท prachatai.com เข้าไม่ได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4:30 น. ของวันนี้ (อาทิตย์ 23 ธ.ค. 2550 – วันเลือกตั้ง) และจนถึงขณะนี้ 8:38 น. ก็ยังไม่สามารถเข้าได้ — เข้าได้แล้วนะครับ (เว็บมาสเตอร์แจ้งว่าเข้าได้ตั้งแต่ประมาณ 9:05 น. ของวันที่ 23 ธ.ค.) — ใครเข้าได้/ไม่ได้ ช่วยแจ้งไปที่ FACT ด้วยครับ

technorati tags:
,
,


11 responses to “Bangkok Pundit: PPP – the Anti-military Party”

  1. การแสดงความต่อต้านรัฐประหารโดยการเลือกพรรค พปช เป็นแนวความคิดที่ขาดตรรกะโดยสิ้นเชิง เพราะการเลือกตั้งรัฐบาลประหารประเทศ คือ การเลือกคนที่ดี และมีความสามารถเข้าไปบริหารประเทศ การเลือก พปช ไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อทหาร จะมีก็แค่เสียหน้านิดหน่อย ซึ่งลงทุนทำปฏิวัติไปแล้ว เรื่องเสียหน้าถือว่าเรื่องจิ๊บจ๊อยมาก เทียบกับถ้าปฏิวัติผิดพลาดนั่นอาจจะเสียทั้งศีรษะ ที่น่าจะเสียมากกว่าคือรัฐบาลชุดปัจจุบันที่บริหารประเทศจนทำให้คนอยากได้รัฐบาลเก่าอย่างไรก็ตาม ด้วยตรรรกะของคุณทำให้คุณเลือกไปเช่นนั้น ซึ่งคนเดียวก็ไม่เท่าไหร่ แต่ว่าการเขียนบทความชี้ชวนให้คนไขว้เขว และใช้ตรรกะในทางเดียวกับคุณ ทำให้คนจำนวนมากอาจจะอ่านและเลือกตามคุณ ทำให้ไปเลือก พปช ทั้งๆ ที่ไม่ได้เห็นด้วยในนโยบาย และ ตัวบุคคล และโดยไม่ได้ล่วงรู้ถึงความริยำต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งตรงนี้ถือว่าผิดจุดประสงค์การเลือกตั้งอย่างมาก ถ้าคุณเขียนเชียร์ พปช ด้วยความดีงาม ฝีมือและความสามารถของเขา และคนเข้าใจยอมรับเห็นด้วย นั่นไม่ใช่ปัญหา เขาเลือกเพราะว่าเชื่อว่าพรรคนี้จะบริหารบ้านเมืองได้ดีจริง แต่ว่าการที่ทำให้คนไปเลือกเพียงเพราะเกลียดทหารนั้น ถ้าสุดท้ายถ้ามันทำให้เราได้รัฐบาลเมถุน+ดาวเทียม ซึ่งถ้าโจรกลับตัวกลับใจเป็นคนดีได้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าทำอย่างที่พูดหาเสียง จะฟอกผิดพ่อแม้วและบ้าน 111 และสุดท้ายกลับมาโกงกิงทั้งโคตรกันอีก จนทำให้ประเทศชาติฉิบหายขึ้นมาล่ะก็ คุณจงรับรู้ไว้ด้วยว่าคุณมีส่วนทำลายประเทศชาตินี้ โดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามส่วนที่คุณแสดงจุดยืนออกมาอย่างแน่ชัดนั้น คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้อ่านและตัวคุณเองด้วย การไม่เห็นด้วยกับผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญซึ่งแต่งตั้งและ approve โดยพระมหากษัตริย์นั้น (คนที่ด่าว่าผู้บารมีรัฐธรรมนูญเสียหาย แล้วเดี๋ยวก็สักพักมาอ้างความจงรักภักดีนั้น คุณว่าเป็นคนที่มีจุดยืนไหน หรือว่าทำไม่รู้ว่าตำแหน่งนั้นถูกแต่งตั้งโดยใคร?) รวมถึงการปล่อยให้มีความคิดเห็นในเชิงต่อต้านพระมหากษัตริย์ทางอ้อมในเว็บคุณ จะหมายความโดยนัยว่าคุณต่อต้านระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยหรือไม่นั่นตรงนี้ยังไม่ชัด แต่ก็เข้าใจอยู่ว่าคุณอาจจะไม่สามารถหรือไม่กล้าที่จะแสดงจุดยืนตรงนี้ให้ชัดด้วยรูปลักษณะของสังคมไทยที่เป็นในปัจจุบัน แต่ผมคิดว่ายังไงก็ควรจะแสดงให้ชัดเจน ถึงเวลาแล้วที่เมืองไทยควรจะสามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้กันได้ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับแนวคิดของคุณ จริงๆ แล้วส่วนใหญ่ผมเห็นตรงข้ามกับคุณ แต่ก็คิดว่าสังคมหนึ่งๆ ไม่จำเป็นที่ทุกคนต้องเห็นด้วยกันหมด และมันสำคัญมากที่เราจะสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ โดยแต่ละฝ่ายมีเหตุผลของตนเองที่ชัดเจน ไม่มีการแอบแฝง ไม่มีการสร้างตรรกะที่สับสนให้คนคล้อยตาม และทั้งสองฝ่ายมีเป้าสุดท้ายตรงกัน คือทำให้ประเทศ, โลก,และมนุษยชาติของเราดีขึ้น

  2. fatro: เราพยายามคิดว่าเราไม่ได้โหวตให้ลุงหมัก แต่เหมือนเป็นของพ่วงที่ติดมาด้วยanonymous: ขอบคุณครับสำหรับตัวผมนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ใช่การเลือกรัฐบาลมาบริหารประเทศอยู่แล้วครับ (ผมไม่ดิดว่ารัฐบาลที่กำลังจะได้นี้จะมีอำนาจอะไรมาก และภารกิจหลักก็คงเป็นเรื่องแก้ปัญหารายวัน ปัญหาระยะสั้น ที่ด้วยเงื่อนไขที่ถูกรัดเอาไว้ ใครจะมาทำก็คงไม่ต่างกันมาก)จึงไม่ได้พิจารณาเรื่องนั้นเลยการเลือกตั้งครั้งนี้ สำหรับตัวผม จึงเป็นเวทีสำหรับบอกว่า รัฐประหารเป็นเรื่องสูญเปล่า(หรือถ้าอยากจะให้มันเป็นการเลือกรัฐบาลเลือกผู้นำจริง ๆ ก็ไม่ควรจะเป็นแค่การเลือกรัฐบาลตามรูปแบบกันไปให้จบ ๆ แต่ต้องเป็นการเลือกรัฐบาลที่จะไปต่อสู้กับอำนาจเหนือรัฐบาลในขณะนี้ได้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมีรัฐบาล — การที่เราเลือกรัฐบาล ก็คือการที่เรามอบอำนาจของเราให้กับรัฐบาล แล้วทำไมเราจะต้องยอมให้มีอำนาจอะไรที่เราไม่ได้เลือกมามีอำนาจอยู่เหนือรัฐบาลอีก??)เมื่อการรัฐประหารถูกทำให้เป็นเรื่องสูญเปล่า ต่อจากนี้ไป ใครจะไปขัดแข้งขัดขา ขั้วอำนาจไหนจะไปสู้กับขั้วอำนาจไหน ก็ไปสู้กันที่อื่น แข่งกันทำเรื่องดี ๆ เรื่องสร้างสรรค์ อะไรก็ว่าไป แล้วมาตัดสินกันที่หย่อนบัตร อย่าได้ทำรัฐประหารอีก เพราะยังไง(ในพันธะที่ไทยทำกับโลกปัจจุบันไว้)คุณก็เลี่ยงหย่อนบัตรไปไม่ได้เอาเข้าจริง ๆ แล้ว สำหรับรัฐบาลที่กำลังจะมีนี้ ส่วนตัวผมนะ พปช.จะตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ได้ ผมก็ไม่ค่อยสนเท่าไหร่ยิ่งวุ่นวายการตั้งรัฐบาล ผมกลับยิ่งชอบเพราะในระหว่างนั้น ภาพจะได้ชัดยิ่งขึ้นว่า มันมีขั้วอำนาจอื่น นอกเหนือจากที่พวกเราทุกคนเลือกตั้งกันเข้ามาด้วยทหารที่ว่าไม่เกี่ยวไม่เกี่ยวจริงไหม ฯลฯอีกเรื่องที่ผมชอบก็คือ เมื่อได้เห็นชาติไทยกับเพื่อแผ่นดิน ประกาศจับมือกันทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้เลย ว่าจะไปอยู่กับข้างไหน พปช. หรือ ปชป.ตอกย้ำให้เห็นได้ถึงความ "ยังไงก็ได้ ขอให้อยู่ข้างคนชนะ" ของสองพรรคนี้ (และแกนนำพรรค) ได้ดีและหวังว่าอีกไม่นานพรรคประเภทนี้จะได้หายไปเสียที(ในกรุงเทพ ที่ได้ส.ส.จากสองพรรค ปชป. และ พปช. เท่านั้น น่าจะเป็นสัญญาณ)การได้รับรู้สิ่งเหล่านี้ (อำนาจที่มองไม่เห็นในการจัดตั้งรัฐบาล, พรรคการเมืองพันธุ์ "ยังไงก็ได้") จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองในภาคประชาชน และการเลือกตั้งครั้งหน้า (ที่หลายคนบอกว่าไม่เกิน 2 ปีแน่) ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติเสียด้วยซ้ำและไม่ใช่ว่า ผมไม่สนเรื่องตัวบุคคล หรือนโยบายแต่ผมเห็นว่าทำไปทำมาครั้งนี้ มันก็เหมือน ๆ กันไปหมด ไม่มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเลย แต่ละพรรคก็มีคนเก่ง ๆ ทั้งนั้น (แต่ก็ย้ำคำถามเดิมจากข้างบน แต่จะมีใครกล้า ๆ บ้าง?)ผมไม่ต่อต้าน ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขพระมหากษัตริย์มีหน้าที่สำคัญด้านรัฐพิธีส่วนเรื่องการบริหารแผ่นดินก็เป็นเรื่องของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบ่งกันชัดเจนอยู่แล้วแบบนี้ในรธน.ผมไม่รู้จะต่อต้านทำไม(ส่วนพรบ.ความมั่นคงนั้น ทำตัวเหนือรธน.ชัดเจน แถมยังไม่ต้องรับผิดชอบอะไรอีก ผมจึงต่อต้าน)สุดท้ายผลลัพธ์เลือกตั้ง จะออกมาเป็นอย่างไร ผมก็ยินดีอยู่กับมันและทุกคนก็น่าจะยินดีรับมันด้วย ห่วยหรือดีในมุมมอง ก็อย่าไปโทษใคร เพราะที่ได้แบบนี้ ก็เพราะเลือกกันมาแบบนี้ ทั้งเลือกในคูหา เลือกนอกคูหา ก็พวกเราเลือกกันเองยอมกันเองทั้งนั้น

  3. และขอแก้ข้อกล่าวหาว่า ผมชี้ชวนให้คนไป "เลือกพปช." ซึ่งผมไม่ได้ทำ และไม่มีความตั้งใจจะทำสิ่งที่ผมเขียนคือ แสดงความคิดเห็นว่าผมเลือก "ไม่เอารัฐประหาร"ซึ่งทำได้โดยการไม่เลือกพรรคที่เกี่ยวข้อง/สนับสนุน/ยอมรับ/ประนีประนอมกับการรัฐประหารส่วนใครที่เห็นด้วยกับวิธีนี้ เมื่อตัดตัวเลือกเหล่านั้นออกไปแล้ว จะเลือกพรรคอะไรก็ว่าไปเลยซึ่งหากจะลดรูปลงมาเป็นภาษาเดียวกับที่คุณ anonymous อ้างนั้นก็คงต้องบอกว่า ที่ผมทำคือ ชี้ชวนให้คนไป "กาช่องไม่เลือกใคร" หรือ "เลือกพรรคxxx" (โดยที่ xxx เป็นพรรคที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐประหาร เช่นอาจจะเป็นพปช. หรือพรรคเล็ก ๆ อื่น ๆ อีกประมาณสามสิบพรรคก็ได้) (ส่วน "ไม่ไปเลือกเลย" นี่ แม้ผมจะรับได้ แต่คงไม่ชี้ชวนให้ทำ)(อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้เขียน และไม่ได้ชี้ชวนแต่ผมก็เห็นด้วยกับที่ Bangkok Pundit สรุปมาว่าการเลือกพปช.นั้นมีประสิทธิภาพเพื่อการส่งสัญญาณนี้ มากกว่าการไม่ไปโหวต โหวตโน หรือโหวตให้พรรคเล็กพรรคน้อย — แต่ถ้าใครจะทำสิ่งเหล่านั้น ก็ไม่ได้เท่ากับว่าสนับสนุนรัฐประหารแต่อย่างใด)

  4. ดังนั้นที่ผมเขียนไปทั้งหมด (รวมถึงโพสต์ก่อน ๆ หน้านี้ด้วย) จึงไม่ใช่การชี้ชวนให้ไปเลือกใคร แต่เป็นการเชิญชวนให้ไม่ไปเลือกใคร(และต้องไม่ลืมว่าการ "กาช่องไม่เลือกใคร" ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนที่เราไม่อยากเลือกได้เข้ามาด้วย)นิติรัฐ แสดงความเห็นเรื่องนี้ไว้:—-๖. ควรไม่เลือกใคร?สำหรับผู้ต่อต้านรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานของ คมช. และองค์กรอันเป็นผลิตผลของ คมช. ตลอดจนไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ในการเลือกตั้ง ๒๓ ธันวาคมที่จะถึงนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเขาเหล่านั้นต้อง “ไม่เลือก” พรรคการเมืองที่มีพฤติกรรม ดังต่อไปนี้หนึ่ง พรรคการเมืองที่ไม่ประณาม ไม่ต่อต้าน แต่กลับสนับสนุนหรือนิ่งเฉยกับรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙สอง พรรคการเมืองที่มีส่วนสนับสนุนหรือทำให้เกิดรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมสาม พรรคการเมืองที่สนับสนุนแนวทางไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น สูตรนายกรัฐมนตรีพระราชทานมาตรา ๗สี่ พรรคการเมืองที่ไม่วิจารณ์หรือวิจารณ์อย่างกระมิดกระเมี้ยนพอหอมปากหอมคอต่อการดำเนินงานของ คมช. และองค์กรผลิตผลของ คมช.ห้า พรรคการเมืองที่สนับสนุนให้ลงประชามติรับรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐—-พร้อมกันนี้ยังได้แสดงความเห็นว่าการเลือกตั้ง 23 ธันวา เป็นเลือกตั้งเฉพาะกิจ“ผู้เขียนเห็นว่า ความสำคัญของการเลือกตั้ง ๒๓ ธันวาคมนี้ อยู่ที่ “เอาหรือไม่เอารัฐประหาร ๑๙ กันยา” “เอาหรือไม่เอา คมช. องค์กรผลิตผลของ คมช. และรัฐบาลของ คมช.” และ “เอาหรือไม่เอารัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐” มากกว่าเรื่องนโยบาย”อ่านทั้งหมดได้ที่http://etatdedroit.blogspot.com/2007/12/blog-post

  5. จริงๆ ผมจะเข้ามาคอมเมนต์แค่ว่า Bangkok Pundit เป็น source หลักที่ผมใช้ติดตามข่าวเลือกตั้งรอบนี้ (เพราะสื่อไทยอื่นๆ ไม่ค่อยมีสาระ)แต่พอมาเจอความเห็นข้างต้น ก็เลยอยากแสดงตัวว่าเรื่องนี้ผมเห็นด้วยกับ bact' ครับ

  6. แน่นอนว่ารัฐประหารอยู่โดดๆ มันไม่ดีแน่ มันต้องดู context ด้วยการต่อต้านรัฐประหาร ได้ดูถึง context สถานการณ์ความจำเป็นในตอนนั้นด้วยหรือเปล่า ก่อนอื่นต้องถามว่าทราบปัญหาของประเทศในช่วงรัฐบาลชุดที่แล้วหรือเปล่าครับ ถ้ามองว่าไม่มีปัญหา นี่คือสิ่งที่ควรจะเป็นแล้ว ก็แน่นอนรัฐประหารเป็นสิ่งที่ผิดเต็มประตู ก็จบการสนทนาแน่นอนถ้าเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เข้าใจถึงรูปแบบของประชาธิปไตยแต่ปาก และเข้าใจวิธีการ abuse ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นแล้วขอถามต่อว่า ถ้าคุณมีหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านเมืองจะทำเช่นไร และคุณเสนอแนวทางที่ยังอยู่ภายใต้ประชาธิปไตยที่จะมาแก้ปัญหาการ abuse ประชาธิปไตยนี้อย่างไรถ้าเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่คุณบอกว่าคุณไม่แคร์ คุณแคร์หลักการประชาธิปไตยมากกว่าประเทศไทย ก็จบการสนทนาได้เหมือนกัน

  7. "ถ้าเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เข้าใจถึงรูปแบบของประชาธิปไตยแต่ปาก และเข้าใจวิธีการ abuse ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นแล้วขอถามต่อว่า ถ้าคุณมีหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านเมืองจะทำเช่นไร และคุณเสนอแนวทางที่ยังอยู่ภายใต้ประชาธิปไตยที่จะมาแก้ปัญหาการ abuse ประชาธิปไตยนี้อย่างไร"เขาเสนอแนวทางกันจนปากจะฉีกถึงรูหูแล้วพ่อคูณแต่จริง ๆ ผมก็เห็นด้วยนะว่าการต่อต้านรัฐประหารโดยเลือก พปช ดูจะตื้นเขินไปหน่อย เห็นได้จากถ้าพรรครช ได้เสียงสัก 30 ตามที่คาดไว้ อะไร ๆ น่าจะดูดีกว่านี้

  8. “หนึ่ง พรรคการเมืองที่ไม่ประณาม ไม่ต่อต้าน แต่กลับสนับสนุนหรือนิ่งเฉยกับรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙สอง พรรคการเมืองที่มีส่วนสนับสนุนหรือทำให้เกิดรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมสาม พรรคการเมืองที่สนับสนุนแนวทางไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น สูตรนายกรัฐมนตรีพระราชทานมาตรา ๗สี่ พรรคการเมืองที่ไม่วิจารณ์หรือวิจารณ์อย่างกระมิดกระเมี้ยนพอหอมปากหอมคอต่อการดำเนินงานของ คมช. และองค์กรผลิตผลของ คมช.ห้า พรรคการเมืองที่สนับสนุนให้ลงประชามติรับรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐''ห้า พรรคการเมือง ที่พื้นฐานในอดีต เคยแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบขององค์กรอิสระ (ถือว่าเป็นแนวทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไหม?)หก พรรคการเมือง ที่พื้นฐานในอดีต เคยละเมิดสิทธิมนุษยชน ฆ่าตัดตอน (ถือว่าเป็นแนวทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไหม?)เจ็ด พรรคการเมือง ที่พื้นฐานในอดีต เคยแทรกแซงสื่อ (ถือว่าเป็นแนวทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไหม?)—-อานนท์

  9. เขาเสนอแนวทางกันจนปากจะฉีกถึงรูหูแล้วพ่อคูณ < — เช่น แนวทางอะไรบ้างครับ?1. “(ผมไม่ดิดว่ารัฐบาลที่กำลังจะได้นี้จะมีอำนาจอะไรมาก และภารกิจหลักก็คงเป็นเรื่องแก้ปัญหารายวัน ปัญหาระยะสั้น ที่ด้วยเงื่อนไขที่ถูกรัดเอาไว้ ใครจะมาทำก็คงไม่ต่างกันมาก)''2. “แต่ต้องเป็นการเลือกรัฐบาลที่จะไปต่อสู้กับอำนาจเหนือรัฐบาลในขณะนี้ได้ด้วย''ข้อ 1 (ไม่มีอำนาจอะไรมาก) กับ ข้อ 2 (การต่อสู้กับอำนาจเหนือรัฐบาล) มันขัดแย้งกันเองรึเปล่าครับ?หรือว่าจริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะเลือกรัฐบาลพรรคไหนก็ไม่มีอำนาจไปต่อสู้กับอำนาจเหนือรัฐบาลได้,ก็เลยจะใช้ผลการเลือกตั้งเป็นเพียงสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเท่านั้น, ยังดีกว่า ที่จะปล่อยให้มันเปล่าประโยชน์ไปเลย ใช่หรือเปล่า?แล้วมาตัดสินกันที่หย่อนบัตร < — แค่นี้เหรอ? ไม่ตัดสินด้วยอย่างอื่นด้วยเหรอ?ปล. พวกเขารู้ได้ไง ว่า พปช. มีจุดยืนไม่เอา รัฐประหาร ทุกคณะ?ผมคิดว่าหลายคนไม่เชื่อว่า พปช. ไม่ได้มีจุดยืนไม่เอา รัฐประหาร ทุกคณะ.หลายคนเชื่อว่า พปช. ต่อต้านเฉพาะ รัฐประหาร คณะนี้เท่านั้น.ส่วน รัฐประหาร คณะอื่นๆ นั้น พปช. คงจะมาดูกันอีกที ว่า ควรจะต่อต้านหรือไม่ ขึ้นกับว่า พปช. ได้ประโยชน์ หรือ เสียประโยชน์ จากการรัฐประหารครั้งนั้นๆ.

  10. ช่วย ไขข้อสงสัย ต่างๆ ข้างต้น ให้หน่อยสิครับ.ตรรกะข้างต้นขัดแย้งกันเองหรือไม่?—-อานนท์

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.