Slow is Beautiful


ไปนั่งแป่ว ๆ (แกร่ว ๆ + เปื่อย ๆ) อยู่ร้านหนังสือสองชั่วโมง
เดินไปชั้นบนสุด แผนกหนังสือภาษาอังกฤษ หยิบหนังสือสามเล่ม แล้วก็ผลุบหายไปในโซฟา …

เบื่อ ๆ

design by committee sucks.
compromisation often bring us all the “ok” things, with a final outcome that nobody likes it.

สามเล่มที่ว่า

The Clash of Civilization .. หยิบมางั้น ๆ แหละ ไม่ได้เปิดอ่านด้วยซ้ำ อยากดูปกเฉย ๆ

The Economist Business Miscellany .. พลิก ๆ ข้ามไปข้ามมา ขำ ๆ ก็ได้รู้อะไรแปลก ๆ เยอะดี อย่างเช่น ชื่อเงิน บาท มันมีที่มาจาก เมื่อก่อน เงิน (แบบ แว๊บ ๆ น่ะ ไม่ใช่แบบ กุ๊งกิ๊ง) ที่มีค่า 1 tical (ชื่อหน่วยเงินไทยสมัยก่อน .. อ่านว่าอะไรอ่ะ ?) มันน้ำหนักประมาณ 1 บาท (15 กรัม) … หรือความรู้อย่าง แม้ market cap ของตลาดหุ้นสิงคโปร์จะใหญ่กว่าเราเกือบ 2 เท่า (ข้อมูลปี 2004) แต่มูลค่าการซื้อขายของตลาดบ้านเราเยอะกว่า … หรือคำว่า boss ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษาดัชต์ bass หมายถึง เจ้านาย .. ก็เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เศรษฐกิจนี่แหละ สนุก ๆ (แต่ก็มีที่ผิดนะ เช่นในหมวดเกี่ยวกับ ชื่อบริษัทมีที่มายังไง เค้าว่าชื่อ Sun Microsystems มาจาก Stanford University Systems .. จริง ๆ มันมาจาก Stanford University Network ตะหาก)

ที่ชอบใจ ก็คงเป็น In Praise of Slow .. แค่ชื่อก็เหมาะกับคนเฉื่อย ๆ เมื่อย ๆ อย่างเราเต็มทีแล้ว

คนเขียนตั้งคำถามว่า เราจะเร็วไปถึงไหน เร็วกว่าหมายถึงดีกว่าเสมอ ? .. [ปลาใหญ่กินปลาเล็ก] ปลาซิ่งกินปลาอืด ทุกครั้งไป ?
เรื่องเริ่มจากที่คนเขียนกำลังต่อแถวขึ้นเครื่องบิน แล้วก็ไม่รู้จะทำอะไรดี จะยืนเฉย ๆ มันก็ดูไม่ productive เอาเสียเลย ก็เลยอ่านหนังสือพิมพ์ละกัน แล้วก็ไปสะดุดกับข่าวที่ว่า มีคนประดิษฐ์ “นิทานก่อนนอนฉบับ 1 นาที” ขึ้นมา เพื่อความสะดวกของพ่อแม่ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาอ่าน …

ทีแรกคุณคนเขียนก็ดีใจไปกับเขาด้วย เพราะตัวเองก็มีลูกชายสองขวบอยู่ที่บ้าน แล้วก็เจอปัญหาลูกชายชอบให้อ่านนิทานก่อนนอน ซึ่งก็ขัดไม่ได้ แต่ใจน่ะก็อยากจะไปไปเคลียร์งานอื่น ๆ ที่ค้าง ๆ อยู่ เป็นอย่างนี้ทุกคืน แล้วจะเร่ง ๆ อ่านให้จบก็ไม่ได้ เพราะถ้าทำงั้น เจ้าลูกชายก็จะร้องไห้โวยวาย บอกว่าพ่ออ่านเร็วไป หรือไม่บางทีอ่านจบเรื่องนึงแล้ว ก็ยังมีขอแถมอีกเรื่อง … ถ้าได้เจ้านิทาน 60 วิ นี่มา ก็คงจะเข้าที เล่าคืนละ 6-7 เรื่องยังได้เลย

แต่ทันใดนั้น เค้าก็นึกอะไรขึ้นมาได้ เฮ้ย นี่มันจะเกิดไปแล้วรึเปล่า เค้าบ้าไปแล้วรึเปล่าเนี่ย …

อันนั้นก็เป็นจุดเริ่ม ในหนังสือเค้ายกตัวอย่างเยอะแยะ พร้อมสถิติ ตัวเลขต่าง ๆ พอหอมปากหอมคอ อ่านข้าม ๆ (ยังไม่ได้ซื้อ) ไปได้ประมาณยี่สิบหน้า … ชักจะอยากได้แล้วล่ะสิ แต่ขอเคลียร์ที่ซื้อ ๆ ไว้เยอะ ๆ เดือนที่แล้วก่อนนะ – -“

ในเล่มยกกรณีของทนายคนนึง ที่เมื่อก่อนนัดเจอลูกความครั้งแรกแค่ 10 นาที รับเอกสาร คุยนิด ๆ หน่อย ๆ แล้วก็จบ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ เขาก็ทำกัน แต่เขาก็พบว่า ไม่นานหลังจากพบกัน เขาก็ต้องโทรกลับไปหาลูกความรายนั้นอีกหลายครั้ง เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือบางครั้งเขาก็พบว่า การได้คุยกันแค่แป๊บ ๆ นั้น ทำให้เขาไม่รู้เลยว่าจริง ๆ แล้วลูกความต้องการอะไร มีแรกบันดาลใจอะไรลึก ๆ ในคดีนี้ หรือมีอุปนิสัยใจคอเป็นอย่างไร ซึ่งสำคัญมากในการทำคดี หลายครั้งที่เขาต้องเริ่มทำคดีใหม่หมด เพราะในตอนแรกเริ่มไปผิดทาง … สุดท้าย เขาตัดสินใจ เปลี่ยนการนัดพบลูกความครั้งแรกใหม่ เป็น 2 ชั่วโมงเต็ม คุยกับลูกความอย่างไม่รีบร้อน ค่อย ๆ เก็บรายละเอียด … แล้วก็พบว่า ในกรณีของเขานั้น การยอมไปอย่างช้า ๆ ทำให้มีผลิตภาพ (productivity) มากขึ้นเสียอีก (ซึ่งคงฟังค้านหูในทีแรก ถ้าเราเชื่อว่า ทำเร็วกว่า ก็ย่อมต้องได้งานมากกว่า)

ถ้าเราตั้งใจเขียนหนังสือขึ้นมาหนึ่งเล่ม แล้วคนอ่านอ่านด้วยวิธี speed reading .. ก็คงเคือง ๆ
… “ระหว่างบรรทัด” เป็นเรื่องเสียเวลา … เศร้านะ

ญี่ปุ่นดูจะเป็นชาติที่มีคนตายจากการทำงานหนักเกินไป (overwork) มากที่สุดในโลก (ในหนังสือเขาว่า มีคำเรียกโดยเฉพาะในภาษาญี่ปุ่นด้วย จำไม่ได้แล้วว่าอะไร kurashi หรืออะไรแนว ๆ นี้แหละ)
ช่วงทศวรรษ 1980 ตอนที่ตลาดหุ้นโตเกียวบูมสุด ๆ มีโบรกเกอร์คนนึง (จำชื่อไม่ได้เช่นกัน รู้แต่ว่าเป็นคนญี่ปุ่น :P) ทำงาน 90 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ได้รับการสรรเสริญจากบริษัท และผู้คนในอาชีพเดียวกัน ยกให้เป็นบุคคลตัวอย่าง
ปี 1989 ตลาดหุ้นโตเกียวตก โบรกเกอร์คนเดียวกันนี้ ทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม ผลคือ วันนึงเขาหัวใจวายเฉียบพลัน ตายทันที … ตอนอายุ 26 ปี (26 ปี)

สงสัยตอนเด็ก ๆ ไม่เคยดูอิคคิวซัง

ชีวิต ยิ่งรีบใช้ ก็ยิ่งหมดเร็วรึเปล่า ?


3 responses to “Slow is Beautiful”

  1. ชีวิต รีบใช้… กับใช้ชีวิต มันเหมือนกันปะ แล้วถ้าพรุ่งนี้มีคนบอกว่าโลกแตก ..ใครที่จะได้ประโยชน์หรือ utility มากกว่ากัน ระหว่างคนที่ชีวิต รีบใช้ ..กับคนที่ใช้ชีวิต ??? (ถามเองงงเองวะ)

  2. เทอมนี้เรียนวิชาเทคนิคการทำงานอาจารย์สั่งให้อ่านเนื้อหาในเว็บนึง เกี่ยวกับการจัดการเวลา ก็มีเรื่องนี้เหมือนกันนะStan Nadolny เขียนหนังสือไว้เมื่อปี1983ชื่อว่า Die Entdeckung der Langsamkeitมีเวอร์ชั่นแปลออกมา คือ The Discovery of Slowness>> market cap ของตลาดหุ้นสิงคโปร์จะใหญ่กว่าเราเกือบ 2 เท่า (ข้อมูลปี 2004) แต่มูลค่าการซื้อขายของตลาดบ้านเราเยอะกว่าตลาดหุ้นไทยมีสภาพคล่องมากกว่า แต่ตลาดหุ้นสิงคโปร์มีเสถียรภาพมากกว่า รึเปล่า???

  3. สภาพคล่องมันคำนวณจาก Current Asset/ Current Liability อะ ก็ลองคิดดูล่ะกันวะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.