เสน่ห์ของระบบไร้ตัวแทน ที่สวนลุมฯ
ทฤษฎีเกม + เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมสังคม
สองบทความจาก Thai Friend Forum
“ตัวนำ” หรือ “ตัวแทน” ?
“ปกครอง” หรือ “คุ้มครอง” ?
“เปลี่ยนแปลง” หรือแค่ “เปลี่ยนอำนาจ” ?
บทความเกี่ยวกับ ระบบที่จัดการตัวเอง (self-organizing system) โดยไม่ต้องมีผู้นำหรือศูนย์กลาง
แม้ไม่มีหลักประกันว่าจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น ด้วยประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (optimal)
แต่ด้วยความเป็นระบบที่มีพลวัตรสูง เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย
จึงมีความทนทาน สามารถรับมือกับปัญหาได้หลากหลาย รวมทั้งปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน
และมีความเป็นไปได้สูงที่จะแก้ปัญหาใดใด ได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้จุดสูงสุด (near-optimal) เมื่อระบบสามารถปรับตัวได้แล้ว
ถ้าวันนี้เราทำได้แค่ “เปลี่ยนอำนาจ” จากคนนึง ไปอยู่ที่มืออีกคนนึง
อีกไม่นาน เราก็คงต้องทำแบบนี้อีก ซ้ำไปซ้ำมา ไม่รู้จักจบจักสิ้น
จนกว่าเราจะสามารถ “เปลี่ยนแปลง” ให้อำนาจนั้นกลับมาอยู่กับทุกทุกคนอย่างแท้จริง
“การกระจายอำนาจ” ไม่ใช่การที่ ผู้ปกครองยอมแบ่งอำนาจการตัดสินใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปให้กับทุก ๆ คน
แต่คือการที่ ยอมรับว่า ผู้คนต่าง ๆ กลุ่มต่าง ๆ ในสังคม สามารถที่จะตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในสังคมของเขาได้ด้วยตนเอง โดยผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องเห็นชอบ หรือกระทั่งรับรู้
นั่นคือ ผู้ปกครองเปลี่ยนบทบาทจากผู้กระทำการต่าง ๆ ทุกอย่างด้วยตนเอง มาเป็นผู้คอยให้การสนับสนุนแทน
สุดท้ายนี้ ขอยกคำพูดจากบทความที่สอง:
ประวัติศาสตร์ของการโค่นล้มผู้นำที่คดโกงเอารัดเอาเปรียบครั้งแล้วครั้งเล่า ก็เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า ตราบเท่าที่สัญชาติญาณในการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมยังคงดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังพร้อมที่จะร่วมมือกันลงโทษผู้นำอีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน
คำถามที่สำคัญคือ เมื่อใดพวกเขาจะรำลึกได้ว่า ในเมื่อร่วมมือกันเองได้ แล้วทำไมต้องให้คนอื่นมาปกครอง
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา
ปาฐกถา 14 ตุลา ประจำปี 2548 โดย ธงชัย วินิจจะกูล
3 responses to “decentralised, again”
ทำได้เหรอ ดูเบอร์ลินก็ได้ กิจกรรมต่าง ๆ นั้นออกมาจากไหน ลูกบ้าน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือ คณะกรรมการ
"กิจกรรม"ของลูกบ้านเยอะกว่าแฮะ ปาร์ตี้ทุกอาทิตย์ 😛
เหมือนจะเกี่ยว