Tag: privacy

  • รวมบทความภาษาไทยเรื่องความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิในการถูกลืม

    รวมลิงก์บทความเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล และชวนไปงานประชุม “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร (Online Privacy and Communications Surviellance)” ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 25 ก.ย. 2556

  • [jobs] โครงการวิจัยความเป็นส่วนตัวออนไลน์ รับสมัครงาน 2 ตำแหน่ง

    เครือข่ายพลเมืองเน็ต รับสมัครเจ้าหน้าที่วิจัย 2 ตำแหน่ง ประจำโครงการ “Thai Online Services’ Privacy Policy and Security Measures: Evaluation and Public Understanding” โครงการนี้จะสำรวจนโยบายความเป็นส่วนตัว (privacy policy) และมาตรการรักษาความปลอดภัย (security measures) ของบริการออนไลน์ในประเทศไทย และทำการจัดระดับในรูปแบบเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการ

  • Naked Security แนะนำเรื่องความปลอดภัยทางไอที

    Naked Security เป็นบล็อกเกี่ยวกับความมั่นคงทางไอที (IT security) ซึ่งก็รวมถึงความมั่นคงของระบบ ความเชื่อใจได้ของข้อมูล และความปลอดภัยของบุคคล กลุ่มคนเขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไอที ในบริษัท Sophos ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางด้านนั้น ไม่นานมานี้ Naked Security เพิ่งจะส่งจดหมายเปิดผนึกหา Facebook เสนอแนะข้อปฏิบัติ 3 ข้อ ให้ Facebook ช่วยทำหน่อย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ โดยสรุปก็คือ “Privacy by Default” – ให้ตั้งการแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวเป็น ‘ไม่แชร์’ โดยปริยาย (ถ้าจะแชร์อันไหน ค่อยเลือกว่าจะแชร์ทีละอัน) สกรีนนักพัฒนาแอพพลิเคชัน – ไม่ใช่ให้ใครก็ได้เผยแพร่แอพ ทำให้เกิดแอพจำนวนมากที่หลอกเอาข้อมูลส่วนตัวไปจากผู้ใช้ หรือแอพที่ไม่ได้ทำตามข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัย ใช้ HTTPS ในทุกที่ที่ทำได้ – เพื่อให้ปลอดภัยมากขึ้นจากการถูกดักข้อมูลส่วนตัว การถูกขโมยบัญชี และ session hijack แม้จดหมายดังกล่าว จะส่งถึง Facebook แต่อันที่จริง มันสื่อสารกับพวกเราทุกคน ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการเว็บไซต์ ให้พิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย…

  • การเมือง ว่าด้วย คลิปหลุด

    จากเสวนา การเมืองว่าด้วยคลิป: พื้นที่ส่วนตัว/สาธารณะ ในงานคลิปคิโนะ เมื่อ 18 ธ.ค. 2553 คุยกับนักวิชาการด้านวัฒนธรรม ด้านสื่อ และคนที่อยู่ในวิชาชีพสื่อสารมวลชน เรื่องคลิป ๆ และเรื่องหลุด ๆ กับการเมืองของความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าทั้งสองคำมีความหมายว่าอะไร ? มากเท่ากับเส้นแบ่งขอบเขตที่เป็นประเด็นปัญหามากกว่า เรานิยามสิ่งหนึ่งให้เป็นคู่ตรงข้ามของอีกสิ่งหนึ่ง เราจะนิยามเส้นแบ่งว่ามันคืออะไร ซึ่ง ณ เวลานี้คิดว่ามันเริ่มพร่ามัวขึ้น — วันรัก สุวรรณวัฒนา Social Media มีความทับซ้อนพอสมควร ว่าเรื่องส่วนตัวหรือสาธารณะคืออะไร บางสิ่งเราอาจอยากนำเสนอสำหรับคนไม่กี่คน แต่บางทีมันกระจายออกไปได้วงกว้าง ซึ่งในบางครั้งเราไม่สามารถจำกัดขอบเขตการรับรู้ได้ มันมีการ tag ต่อไปเรื่อย ๆ — มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คนสามารถแสดงความเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะได้ ในทางกลับกันทำให้สาธารณะมาสู่พื้นที่ส่วนตัวได้ … สื่อไม่ได้มีหน้าที่ในแง่การกระจายข่าวอย่างเดียว แต่มีเรื่องของการสร้างมิติความสัมพันธ์ให้มากขึ้น — เกษม เพ็ญภินันท์ สื่อหลักไม่ได้กลัวรัฐบาล เรากลัวความสัมพันธ์กับคนหลายฝ่าย ทั้งเพื่อนเราหรือคนในองค์กร เราจะจัดการอย่างไร — ปราบต์…

  • [20-22 ก.ย.] follow #ial2010 ตามงาน Internet at Liberty 2010

    Internet at Liberty 2010 เวิร์กช็อปและสัมมนา สองวันครึ่ง เรื่องเสรีภาพอินเทอร์เน็ต จัดโดย Google และมหาวิทยาลัย Central European University ที่บูดาเปสต์ ฮังการี หัวข้อเกี่ยวข้องถึงนโยบายการกำกับอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาสังคม ประชาธิปไตย และการศึกษา มีนักเทคโนโลยี นักกฎหมาย นักนโยบายอินเทอร์เน็ต นักวิชาการ นักกิจกรรมสังคม บล็อกเกอร์ และนักหนังสือพิมพ์จากทั่วโลก เข้าร่วม โดยเฉพาะจากประเทศและภูมิภาคที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิมนุษยชนถูกคุกคาม ทั้งในพื้นที่ออฟไลน์และรุกเข้าสู่พื้นที่ออนไลน์ ชมสด — 21-22 กันยายน 2553, 14:00-23:15 เมืองไทย (9:00-18:15 UTC+2) ทวีตติดแฮชแท็ก #IAL2010 มีชาวบ้านแถวนี้ไปร่วมอย่างน้อยสามคน @bact (ผม เครือข่ายพลเมืองเน็ต/โอเพ่นดรีม) @jiew (จีรนุช เปรมชัยพร หนังสือพิมพ์ประชาไท) และ @supinya (สุภิญญา กลางรณงค์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ) แถม:…

  • Keeps private data private, keeps public data public? No. Not in Thailand.

    พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนตรวจดูหรือค้นคว้าได้ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องข้อมูลข่าวสารของราชการและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่เว็บ www.oic.go.th ของสขร. หน้า การตอบข้อหารือและวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ สขร.: คลิกเปิดชื่อเรื่อง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หารือการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ลงวันที่ 27/11/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. 2544 คลิกเปิดชื่อเรื่อง กรมการปกครองหารือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 (ลงวันที่ 28/12/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เอกสารต่าง ๆ ไม่สามารถเรียกดูได้ตามชื่อเรื่องเลย แบบนี้เขาเรียกว่า ไม่เปิดเผย ครับ ในขณะที่รัฐ มีความพยายามที่จะดักฟังสอดส่องล่วงรู้ ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน (#ThaiNoSniff) พร้อม ๆ กันนั้น รัฐเอง ก็มีความพยายามจะปกปิดหรือสร้างความยากลำบากในการเข้าถึง…

  • design/social/tech links at late night

    from Tactical Technology Collective: Digital Security and Privacy Toolkit for Human Rights Defenders แนะนำเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะสำหรับผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน Visualizing Information for Advocacy: An Introduction to Information Design รณรงค์ด้วยภาพที่โดน NGO-in-a-box ซอฟต์แวร์เสรีเพื่องานพัฒนาเอกชน Ubuntu Eee ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเล็กให้คุ้มค่า History of Graphic Design 2008 ความเป็นมาของการออกแบบกราฟิกจนถึงปัจจุบัน Design Matrix of the 20th Century (industrial design) ใครอะไรที่ไหนในแวดวงออกแบบอุตสาหกรรม [ via anpanpon ] technorati tags: design+history, tactical technology, information…

  • Trusted Computing ?

    (vdo page link) An animated short story questioning Trusted Computing, created by LAFKON (under Creative Commons Sampling+ license) Can You Trust Your Computer ? by Richard Stallman (of Free Software Foundation) Who Owns Your Computer ? by Bruce Schneier (cryptographer) [ via fringer.org ] technorati tags: trusted computing, against, TCPA, againsttcpa

  • [seminar] Personal Data and Risks from e-Government

    Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University, will held an open seminar on personal data and risks in the age of e-government on Wednesday, July 9, 2008, 13:00-16:30 @ Room 105, Maha Chulalongkorn building, Chulalongkorn University (near MBK). For more info, please contact Soraj Hongladarom +66-2218-4756 ใครสนใจเรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคล (personal data) และความเป็นส่วนตัว (privacy) และร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังไม่ได้เกิดสักที…

  • New German Data Retention Act

    เชกูวาราเขียน เยอรมันสอดแนม ที่ BioLawCom.de เป็นเรื่อง กฎหมายใหม่ของเยอรมนี ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องเก็บข้อมูลจราจรของผู้ใช้บริการ เป็นเวลา 6 เดือน (คุ้น ๆ เหมือนพ.ร.บ.คอมฯ ของบ้านเรามั๊ยครับ ?) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2007 รัฐสภาเยอรมันผ่านกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่าง ๆ เพื่อควบคุมตรวจสอบการติดต่อสื่อสาร และเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนความผิด มาฉบับหนึ่งครับ ท่ามกลางเสียงประท้วงจากคนเยอรมันนับพันนับหมื่นคน เพราะในกฎหมายฉบับดังกล่าว มีบทบัญญัติใหม่ ที่กระทบสิทธิพวกเขาอย่างมากบรรจุอยู่ด้วย “Vorratsdatenspeicherung” (Data-Retention) เป็นคำเรียกรวม ๆ ที่หมายถึง การกำหนดหน้าที่ให้ผู้ให้บริการการโทรคมนาคม ต้องเก็บสำรอง “ข้อมูลจราจรทางการติดต่อสื่อสาร” (Traffic Data) ของประชาชนผู้ใช้บริการทุกคนเอาไว้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนการกระทำความผิด …ก็คือข้อกำหนดเจ้าปัญหาที่ว่า ข่าวจาก European Digital Rights และ Deutsche Welle: German Parliament adopted the data…