Tag: people

  • people change ..และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป

    ..และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป เมื่อเราผ่านการต่อสู้ เราย่อมตระหนักรู้ ว่าตัวเราเปลี่ยนไป มันอาจจะเพียงไม่นาน และเราไม่ได้ถูกจ้างวานให้มาโดยใคร เราสุขเราทุกข์มาด้วยกัน ผ่านคืนและวันที่เราต่างลุกเป็นไฟ ไฟบางกองวูบวับดับลง หากที่เหลือยังคงเป็นไฟกองใหม่ แม้ล่วงเข้าปลายฤดูฝน มันยังลุกอยู่บนสิ่งที่ควรลุกไหม้ เพื่อนเอ๋ย..เราไม่อาจปล่อยวาง จุดหมายปลายทางยังอีกยาวไกล……. ระหว่างเส้นทางสายนี้, เราเริ่มรู้ว่ามีเรื่องราวมากมาย มีชุมชน และผู้คนเหล่านั้น ในตรอกซอยตัน และถนนสายใหญ่ บนทางลอยฟ้า หน้าห้างฯ ลานสนามกว้างขวางมีเวทีอภิปราย วิทยุ, ทีวี, หนังสือ ฯลฯ บอกเราให้ยึดถือหลักการฯ ทั้งหลาย การเผชิญหน้าปากกระบอกปืน ช่วยให้เราหยัดยืนได้มั่นคงกว่าใครๆ และการล้อมปราบครั้งนั้น ไม่ทำให้เราพรั่นพรึงแต่อย่างใด…….. เพื่อนเอ๋ย เราผ่านมันมา และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป เราเริ่มพูดจาเหมือนกัน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องอะไร คิดและทำสิ่งเดียวกัน ตั้งเข็มมุ่งมั่นโดยมิต้องนัดหมาย ไม่ต้องมัวตั้งคำถาม เพราะทุกอย่างเป็นไปตามชุดคำอธิบาย การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ ทุกเรื่องเราคิดคำตอบได้ง่ายดาย เรารักคนคนเดียวกัน และเกลียดคนคนนั้นเหมือนๆ กันใช่ไหม ? ทุกคน ทุกเรื่องที่เรารัก ทำไมเรามักไม่มีคำถามใดๆ…

  • We’re Different, We’re the Same.

    ถ่ายตัวเราเอง ผมออกไปถ่ายรูปคนเสื้อแดงสามวันมานี้ ไม่ได้ตั้งใจออกไปถ่ายอะไรเป็นพิเศษ แต่พอเอารูปมาดู ๆ ก็คิดว่ามันคงมีประเด็นไม่กี่อย่าง ผมถ่ายภาพคนกิน คนนอน คนเฮฮา ร้องเพลง เต้นรำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์จนถึงที่ขับถ่าย กิจกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์ทำ ความหมายไม่มีอะไรไปกว่า นี่ พวกเขาก็เป็นมนุษย์ ผมถ่ายภาพป้ายข้อความต่าง ๆ นี่คือสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร ความอัดอั้นตันใจ เราจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็เป็นสิทธิ แต่เราเคยได้ยินมาก่อนบ้างไหม ในทีวีวิทยุที่รัฐครอบนำ ข่าวสารในช่วงนี้มีแต่เรื่องจราจร เรื่องควบคุมชุมนุม แล้วเรื่องที่คนเหล่านี้ อาจไม่ใช่แกนนำ แต่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ต้องการพูด หายไปไหน ผมถ่ายป้ายพวกนี้ เผื่อจะมีคนได้เห็นมากขึ้น แค่การไปเดินในกลุ่มผู้ชุมนุมแบบผ่าน ๆ ได้คุยกับผู้ชุมนุมไม่กี่คน คงไม่อาจทำให้ผมเข้าใจอะไรพวกเขาขึ้นมาได้เสียเท่าไหร่ ความเป็นอยู่ ความเดือดร้อน ความต้องการ ผมไม่สามารถเคลมได้ว่าผมรู้อะไรเพิ่มขึ้นในสิ่งเหล่านั้น ผมรู้ก็แค่ว่า พวกเราทั้งหมดเหมือนกัน คนเหมือนกัน มันส์เหมือนกัน ไม่ขายเหมือนกัน ถ่ายเหมือนกัน ตีพิมพ์ครั้งแรกใน Facebook: ถ่ายตัวเราเอง มุมมองจากชาวต่างชาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับ ‘เสื้อแดง’…

  • ทฤษฎีเก่า "Old Theory" – Thailand Bill of Rights

    (น่าจะเก่าอยู่ล่ะ ตั้ง 76 ปี แล้ว วันนี้วันที่ 24 มิ.ย. ครบรอบการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง) “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา” — หลัก 6 ประการของคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 สิ่งที่ “ทฤษฎีใหม่” และลูก ๆ พอเพียงต่าง ๆ เสนอ คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อาจจะโยงไปได้ถึงเอกราช แต่ขาดเรื่อง เสมอภาค และ เสรีภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่มีใน “ทฤษฎีเก่า” เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา 76 ปีแล้ว ดูเหมือนเราจะยังไปไม่ถึงหลักหกประการนั้นสักที โดยเฉพาะประการที่ 4 และ 5 หลัก 6 ประการของคณะราษฎร จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น…

  • beyond policy

    [ คำเตือนก่อนอ่าน: ในขณะที่เขียนบทความนี้ ในใจผมอยู่ระหว่างตัดสินใจว่า จะ “กาช่องไม่เลือกใคร” หรือ “เลือกพรรคพลังประชาชน” (แต่ไม่ว่าจะเลือกอะไร ก็เพื่อส่งสัญญาณเดียวกัน คือ “ไม่เอารัฐประหาร” ทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต) — ดังนั้นข้อเขียนชิ้นนี้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องได้รับอิทธิพลจากสิ่งนี้ไม่มากก็น้อย กรุณาใช้ความระมัดระวังในการอ่าน — ติชมใด ๆ ผมถือเป็นกำนัล ขอน้อมรับด้วยความขอบคุณยิ่ง ] บางที การเลือกตั้งครั้งนี้ อาจไม่ใช่การเลือกพรรคการเมือง อย่างที่แล้ว ๆ มา ที่ผ่านมา เราบอกว่า สังคมประชาธิปไตยไทย(ไทย) ได้ก้าวพ้นการเลือกตัวบุคคล มาเป็นการเลือกพรรคแล้ว โดยชัยชนะของไทยรักไทยอาจเป็นตัวอย่าง (โดยกลไก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่เพิ่งมีใหม่ในตอนนั้น เป็นตัวอำนวยให้เกิดได้) เลือกบุคคล ก็คือเลือกจากความชอบพอในตัวบุคคล คนนี้เป็นคนดี เลือกพรรค ก็คือเลือกจากนโยบายของพรรค แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ พูดตรง ๆ ผมไม่ได้ตัดสินใจจากทั้งสองอย่าง หลายคนคงคิดเหมือนกัน ตัวบุคคล ? เรารู้จักใครบ้าง ? ถ้าจะคุ้น ๆ…

  • The Rise of a New Power

    ศรศิลป์, “อำนาจใหม่” ลุกขึ้นสู้แล้ว!, แด่ มาตุภูมิ, อารยชน, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550 “วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จะถูกจารจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ว่า เป็นวันที่ ‘อำนาจใหม่’ ก่อการลุกขึ้นสู้ทางการเมือง ภายใต้ธงการเมืองของตนเอง ด้วยกำลังของตนเอง แต่เพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย ขบวนกองหน้าของภาคประชาสังคมในปีกอำนาจใหม่นี้ได้ทำการชุมนุม ปิดล้อม และบุกเข้าขัดขวางการปฏิบัติงานอันมิชอบของสนช. ซึ่งกำลังเร่งผ่านกฏหมายจำนวนมากที่คุกคามสิทธิเสรีภาพของปวงชน โดยไม่มีความชอบธรรม เพราะไม่มีที่มาจากปวงชน อีกทั้งร่างกฏหมายทั้งหลายที่กำลังเร่งรัดส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นไปเพื่อการฟื้น ระบอบจารีตนิยมและอำมาตยา และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของพวกกาฝากอภิชนส่วนข้างน้อย” [petition] ร่วมลงชื่อ ปิดสภานิติบัญญัติรักษาการ หยุดกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชน technorati tags: NLA, petition, Thailand

  • discourse/information/communication people

    จดกันลืม บุคคลน่าสนใจ สาวิตรี คทวณิช คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ discourse analysis; critical discourse analysis; language and politics นคร เสรีรักษ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) Freedom of Information and Privacy Protection in Thailand วราภรณ์ วนาพิทักษ์ มาตรการการจัดการการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ cultural studies technorati tags: people, freedom of information, discourse analysis

  • Celebrating the Life of Poonsuk Banomyong

    ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยารัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมแล้วโดยสงบ เมื่อเวลา 2:00 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 สิริอายุ 95 ปี 4 เดือน 9 วัน ทายาทของท่านผู้หญิงได้ส่งเอกสารเผยแพร่ “คำสั่งถึงลูก” ที่ท่านผู้หญิงได้เขียนไว้ด้วยลายมือ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 มีใจความดังนี้ “เมื่อแม่สิ้นชีวิต จะไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น ให้ประกาศทางวิทยุและหนังสือพิมพ์เพื่อให้ญาติมิตรรับทราบ ไม่มีการสวดอภิธรรม และ มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี โดยนิมนต์พระที่นับถือมาแสดงธรรมกถา ไม่รบกวนญาติมิตรไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือเงินช่วยทำบุญ หลังฌาปนกิจศพ ให้นำอัฐิไปลอยอังคารที่ปากน้ำเจ้าพระยา ซึ่งสถานที่ที่แม่เกิด หากมีเงินบ้างให้ทำบุญแก่มูลนิธิต่างๆ เพื่อสาธารณกุศล สุดท้ายขอให้ลูกทุกคน ทำตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นของผู้หวังดีทั้งหลาย” ทาง สถาบันปรีดี พนมยงค์ จะมีพิธีไว้อาลัยท่านผู้หญิงพูนศุข ในวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคมนี้…

  • Pridi Phanomyong

    เมื่อวาน เป็นวันอสัญกรรมของ อ.ปรีดี – “คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ” ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) หรือ หลวงประดิษฐมนูธรรม อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย 3 สมัย รวมทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้นำสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย เพื่อต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ท่านเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นผู้ประศาสน์การ (อธิการบดี) คนแรกของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ รัฐบุรุษอาวุโสด้วย ในปี พ.ศ. 2543 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศบรรจุชื่อของท่านไว้ใน ปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก ปี ค.ศ. 2000-2001 technorati tags: Thai

  • เวที ประชาธิปไตย ประชาชน

    ไทยพูด – เวทีประชาธิปไตยประชาชน (วปช.) เวทีประชาธิปไตยประชาชน (วปช.) เป็น​เวที​ที่​รวบรวม​และ​เชื่อมโยง​ประเด็น​การปฏิรูปสังคม​และ​การเมือง​จาก​เครือข่ายภาคประชาชน​ทุกส่วน รวมทั้งเป็น​เวทีร่างรัฐธรรมนูญภาคประชาชน เพื่อเสริมพลังในการขับเคลื่อนผลักดันประเด็นเหล่านี้สู่หลักการของ​รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ นโยบาย​และ​การปฏิบัติ ทั้งนี้โดย​การสร้างกระแสทางสังคม​ผ่านกิจกรรมและสื่อต่างๆ เวที​ประชาธิปไตย​ประชาชน จะไม่เข้าไป​ก้าวก่าย​กิจกรรม​ของ​เครือข่าย​องค์กรภาคประชาชน​ต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว แต่จะเป็น​เวทีภาคประชาชน​อีกเวทีหนึ่งที่พร้อมที่จะ​ร่วมมือ​และ​ประสานงาน​กับ​เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน​ทุกส่วนอย่าง​เสมอภาค thaipood.com อัปเดต: 2011.01.11 โครงการไทยพูดได้ยุติลงไปแล้ว และ เกิดใหม่ ในชื่อ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw (อ่านว่า ไอ – ลอ)

  • I travel to people, not places.

    ไป “เดินเล่น” เชียงใหม่ เชียงราย มา จะให้เรียกว่า “เที่ยว” ก็ไม่ถนัดปาก เพราะทำตัวไม่ค่อยเที่ยวเท่าไหร่เลย ทั้ง ๆ ที่เพื่อน และแม่ของเพื่อนของเพื่อน (อยู่ที่เชียงราย) เขาอุตส่าห์อำนวยความสะดวกทุกอย่าง ขับรถพาไปโน่นมานี่ เป็นห่วงเราทุกอย่าง กลัวจะไม่สะดวก ไม่สนุก (ขอบคุณมาก ๆ) คือยังไม่ได้เตรียมใจไปเที่ยวน่ะ ใจมันอยู่กับอย่างอื่นซะมากกว่า กับเรื่องงานก็ด้วยนิดนึง กับเรื่องคนก็ใช่ คือแค่อยากขึ้นไปน่ะ ไม่ต้องไปไหนก็ได้ ไปคราวนี้อารมณ์เหมือนไปพบผู้คนมากกว่า เจอเพื่อนที่รู้จักกันที่เบอร์ลิน ไม่ได้เจอกันนาน ได้เจอพ่อแม่น้าพี่น้องของเพื่อน ไปเจอเจ้าหน้าที่ที่ CAMT มช. ที่เคยส่งใบสมัครงานไว้ ได้เจอ อ.Michel ที่เชียงใหม่ คุยกันอยู่ประมาณชั่วโมง ก็ดี พอขึ้นไปเชียงราย ก็ได้เจอเพื่อนของเพื่อน กับแม่ของเค้า แล้วก็ได้ขึ้นไปเจอ อ.Paola อ.บรรพจณ์ ที่ม.แม่ฟ้าหลวง เชียงราย (สองคนนี้ กับ อ.Michel เคยแต่คุยกันในเนต) แล้วก็มีโอกาสได้เจอรุ่นพี่ที่ SIIT ที่สอนอยู่ที่มฟล.ด้วย…