-
Open Document Standard, e-Government, and Universal Information Access
ต่อเรื่อง open document standard มาตรฐานเอกสารแบบเปิด ที่ใน duocore ตอนที่ 66 ลืมพูด/เวลาไม่พอเลยข้ามไป open standard นี่ ทั้งตัว format และ protocol ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเลยนะ มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เช่นเรื่อง backoffice ระบบบริหารจัดการข้อมูลของระบบราชการ หน่วยงานรัฐ ที่ต้องประมวลผลเอกสารมาก ๆ ทั้งภายในหน่วยงานเอง ระหว่างหน่วยงานรัฐ และกับภาคเอกชน ประชาชน ถ้าไม่ใช่ฟอร์แมตเปิด การสร้างซอฟต์แวร์ระบบที่จะอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้อย่างอัตโนมัติ ก็ลำบาก (ต้อง reverse engineering แกะสเปกกันวุ่นวาย) แถมยังไม่สามารถมั่นใจเต็ม 100% ได้ว่าจะอ่าน/เขียนได้ตรงเป๊ะ ซึ่งก็อาจทำให้ข้อมูลบางอย่างตกหล่นสูญหายได้ ยิ่งคิดว่าในกระบวนการทำงานจะต้องมีการส่งเอกสารกันหลายทอด อ่าน/เขียนกันหลายรอบ ก็เป็นไปได้ที่การสูญหายดังกล่าวจะสะสมเยอะขึ้นได้ด้วย มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถ้วนหน้า (universal information access) นอกจากนี้ กรณีที่สเปกรูปแบบเอกสารที่มันปิด ไม่ได้เป็นมาตรฐานเปิด ก็ทำให้มีโอกาสอยู่มาก ที่จำนวนโปรแกรมที่จะมาอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้…
-
New German Data Retention Act
เชกูวาราเขียน เยอรมันสอดแนม ที่ BioLawCom.de เป็นเรื่อง กฎหมายใหม่ของเยอรมนี ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องเก็บข้อมูลจราจรของผู้ใช้บริการ เป็นเวลา 6 เดือน (คุ้น ๆ เหมือนพ.ร.บ.คอมฯ ของบ้านเรามั๊ยครับ ?) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2007 รัฐสภาเยอรมันผ่านกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่าง ๆ เพื่อควบคุมตรวจสอบการติดต่อสื่อสาร และเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนความผิด มาฉบับหนึ่งครับ ท่ามกลางเสียงประท้วงจากคนเยอรมันนับพันนับหมื่นคน เพราะในกฎหมายฉบับดังกล่าว มีบทบัญญัติใหม่ ที่กระทบสิทธิพวกเขาอย่างมากบรรจุอยู่ด้วย “Vorratsdatenspeicherung” (Data-Retention) เป็นคำเรียกรวม ๆ ที่หมายถึง การกำหนดหน้าที่ให้ผู้ให้บริการการโทรคมนาคม ต้องเก็บสำรอง “ข้อมูลจราจรทางการติดต่อสื่อสาร” (Traffic Data) ของประชาชนผู้ใช้บริการทุกคนเอาไว้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนการกระทำความผิด …ก็คือข้อกำหนดเจ้าปัญหาที่ว่า ข่าวจาก European Digital Rights และ Deutsche Welle: German Parliament adopted the data…
-
Thailand competitiveness after Computer-related Crime Act (and after 19 Sep coup)
ปตท.เขาถามเราบ่อย ๆ (ในโฆษณา) ว่า ประเทศเราจะอยู่ตรงไหนในแผนที่โลก ? สงสัยต้องถามปตท.กลับ ว่า แผนที่โลกยุคไหนล่ะพี่ ? ด้วยกฎหมายต่าง ๆ ของเมืองไทยในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต และผู้จะต้องร่วมรับผิดชอบ หากพบว่ามีเนื้อหาใด ๆ ผิดกฎหมาย (แม้จะไม่ใช่ของตัวก็ตาม) ผมไม่แน่ใจว่า นี่จะทำให้โอกาสของประเทศไทย ที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ สื่อดิจิทัล และ ดาต้าเซนเตอร์ ในระดับภูมิภาค กระทบหรือไม่ ทั้งนี้รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ ศูนย์ข่าว (อย่างพวกรอยเตอร์ เอพี บลูมเบิร์ก) ศูนย์กระจายข้อมูล และ โครงข่ายสื่อสาร ด้วย ผมไม่แน่ใจนัก แต่คิดว่า ที่ผ่านมา ที่สำนักข่าวบางแห่ง เลือกที่จะตั้งศูนย์ภูมิภาคที่กรุงเทพ และไม่ใช่สิงคโปร์ เพราะที่ผ่านมา ชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพสื่อของเมืองไทยดีมาก ดีกว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน — แต่ปัจจุบันนี้คงไม่ใช่แล้ว คือโดยสาธารณูปโภค โครงข่ายสื่อสาร เราคงไปสู้มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ไม่ได้อยู่แล้ว…
-
10th Anniversary – Right to Know
หนึ่งทศวรรษ สิทธิที่จะรู้ คอลัมน์ “ข้าราษฎร” โดย “สายสะพาย” หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10861 (หน้า 26) ดร.นคร เสรีรักษ์ เขียนบทความ ในโอกาสที่ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มีอายุครบ 1 ทศวรรษ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2540 จึงมีอายุครบ 10 ปี ในวันที่ 10 ธันวาคม 2550 กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ “หน่วยงานของรัฐ” มีหน้าที่ “เปิดเผย” ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน ข้าราชการจึงต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบและโปร่งใสมากขึ้น เพราะเอกสารต่าง ๆ อาจถูกตรวจสอบได้ตลอดเวลา แม้จะเป็นกฎหมายที่มีอายุเพียง 10 ปี แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชน และส่งผลให้สะเทือนอย่างมากในกระบวนการพัฒนาธรรมาภิบาล ในฐานะกลไกขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ แม้หน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยข้อมูล…
-
STOP NLA – enough is enough
กป.อพช. ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน และ องค์กรภาคประชาชนทุกเครือข่าย รวมพลังกัน ปิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากสนช.กำลังเร่งรีบออกกฎหมายหลายฉบับที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เช่น พรบ.ความมั่นคงฯ โดยขาดความชอบธรรมอย่างยิ่งที่จะพิจารณาในช่วงการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร แสดงถึงการทิ้งทวนของอำนาจเผด็จการต่อประชาชนทั้งประเทศ 7:00 น. พุธที่ 12 ธ.ค. พบกันหน้ารัฐสภา เพื่อปิดสภาโดยสันติวิธี เข้าชื่อให้สนช.หยุดออกกฎหมาย [pdf – petition] technorati tags: Thailand, NLA, CNS
-
ThaiJustice.com closed down
เว็บกฎหมาย ThaiJustice.com ประกาศปิดตัว หลังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากล่าวหาว่า “หมิ่นศาล” ThaiJustice.com เว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทย ปิดตัวลงถาวรแล้ว โดยขึ้นข้อความว่า: กราบเรียนท่านอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ข้าพเจ้านายอุดม แซ่อึ้ง เป็นผู้ดูแลเว็บ www.thaijustice.com ได้รับหนังสือที่ท่านได้ทำการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับข้าพเจ้าในความผิดฐานดูหมิ่นศาลแล้วนั้น ข้าพเจ้าขอเรียนชี้แจงว่า ข้าพเจ้ามิได้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้น จึงขอประกาศปิดเว็บเป็นการถาวร หมิ่นโน่นหมิ่นนี่ อะไรอะไรก็หมิ่น ต่อไปใครจะพูดอะไรก็คงจะพูดไม่ได้ เดี๋ยวถูกฟ้องไม่รู้เรื่อง ศาลเป็นใคร ทำไมถึงจะวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้? ถ้าศาลเป็นผู้ใช้อำนาจเป็นคุณเป็นโทษให้กับคนอื่นได้ ศาลก็ควรจะต้องถูกตรวจสอบได้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ ถ้าไม่งั้น ก็ไม่ควรจะมายุ่งเกี่ยวกับอำนาจเลย … หนังสือเล่มแรกของไทยที่ถูกแบนคือ “หนังสือกฎหมาย” !! [ ลิงก์ ThaiJustice.com | ผ่าน ประชาไท ] technorati tags: justice, Thailand, Internet
-
Prison Survival Guide
ทำอะไรบ้านนี้เมืองนี้เวลานี้ วันดีคืนดีอาจจะโชคดี มีคนขับรถพาไปนอนเล่นในคุกก็เป็นได้ เผื่อเหลือเผื่อขาด อ่าน “คู่มือติดคุก” เอาไว้ก่อน จะได้ชิลชิล เวลาต้องไปนอนจริง ๆ 😛 คู่มือนี้ มีแนะนำตั้งแต่ “อยู่คุกไหนดี ?” “เช็คอิน-เข้าคุกวันแรก” “วิธีนอนให้สบายในคุก” ไปจนถึง “10 วิธีคลายเครียดในคุก” มีสองอันที่น่าศึกษาเอาไว้ เพราะเป็นสิทธิของเราที่ควรรู้ จะได้ไม่ถูกละเมิด/เรียกร้องได้ ในหัวข้อ “สิทธิของผู้ต้องขัง” และ “ติดคุกฟรี ใครรับผิดชอบ” ขอยกมาเลยละกัน เขาเขียนไว้อ่านง่ายดี ตัวอย่างของการติดคุกฟรี ถูกจับเข้ามาอยู่ในเรือนจำ แล้วต่อมา มีหลักฐานชัดเจนว่าไม่ได้ทำผิด จนมีการถอนฟ้อง ศาลพิพากษาว่าจำเลยไม่ได้ทำผิด ให้ปล่อยตัวไป เมื่อติดคุกฟรี และถูกปล่อยตัวแล้ว สิ่งที่มักจะตามมา (ตามประสาคนไทย) ก็คือ ไปหาหลวงพ่อ รดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ส่วนการที่ต้องเสียเวลาเข้ามาอยู่ในคุก ถูกไล่ออกจากงาน จนป่านนี้ก็ยังหางานทำไม่ได้ ก็ถือว่าฟาดเคราะห์ไป…..เวรกรรม….. ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง พาไปเลี้ยงฉลองที่ไม่ต้องติดคุก…ไชโย ๆ ๆ…ส่วนที่ต้องหลง เข้ามาอยู่ในคุกเป็นเดือนหรือเป็นปี ก็ถือว่าแล้วกันไป…ขอกันกินมากกว่านี้ ถ้าท่านพอใจอยู่แค่นี้…
-
On National Security Act (1)
“ ถ้ากฎหมายนี้ผ่านจะมีรัฐซ้อนรัฐในประเทศ รัฐธรรมนูญก็หมดความหมาย ” — นายพิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย “ ขณะนี้รัฐบาลมีกฎหมายความมั่นคงอยู่แล้ว 2 ฉบับ คือ กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ที่แก้ไขเมื่อปี 2546 เพิ่มเติมเรื่องภัยคุกคาม และพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้าพูดตรงไปตรงมาคือการเปิดบทบาทให้กองทัพเข้ามาจัดการบ้านเมืองได้หลายเรื่อง เช่น มาตรา 9 ให้จัดตั้งกอ.รมน. มาตรา 10 ให้กอ.รมน.จัดการเรื่องความมั่นคงทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติอย่างเต็มที่ ทั้งที่มีกฎหมายที่จะประกาศใช้ตรงไหนก็ได้ ห้ามการชุมนุมได้อยู่แล้ว ขอบเขตความมั่นคงในราชอาณาจักรหรือภัยคุกคามกว้างมาก เป็นความมั่นคงในทรรศนะที่แปลก ให้มีอำนาจจัดการทั้งในยามปกติและไม่ปกติ ซึ่งพ.ร.บ.นี้สร้างบทบาทให้กองทัพมีอำนาจล้น และตรวจสอบไม่ได้ ถือว่าท้าทายหลักนิติธรรมของประเทศอย่างมาก ขัดต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน หากโครงการของรัฐที่ประชาชนได้รับความเสียหายมาเรียกร้องจะถือว่ากระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ พ.ร.บ.นี้ยังขัดกับการกระจายอำนาจ เป็นสิ่งย้อนยุค ผบ.ทบ.เป็นผู้มีอำนาจและใช้ดุลยพินิจสูงมาก แม้นายกฯจะเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน แต่ไม่มีอำนาจ จึงไม่ควรออกกฎหมายในยุคนี้ ควรประเมินการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่าใช้ได้หรือไม่ ไม่ใช่รวบอำนาจให้กอ.รมน. กองทัพบก เพราะเป็นการสร้างอำนาจซ้อนรัฐ ยิ่งรัฐบาลชุดใหม่อ่อนแอเพราะเป็นรัฐบาลผสม กอ.รมน.จะมีบทบาทสูงเรื่องความมั่นคง ผมไม่เห็นด้วยที่จะออกกฎหมายนี้ ” — นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์…
-
National Security Act in Southeast Asia
“ถ้าคุณไม่กล้าพูดต่อต้าน พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ คุณกำลังให้อำนาจทุกอย่างกับรัฐบาล คุณกำลังให้อำนาจรัฐบาลในการมาเคาะประตูบ้านคุณและนำตัวคุณไป คุณกำลังยอมสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไป และ…คุณกำลังยอมสูญเสียสิทธิของคุณไป” — ไมเคิล แชง จากสิงคโปร์ ประเทศที่มี พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ บังคับใช้ “ผมไม่สามารถจิตนาการได้ในเวลานั้นว่า อำนาจในการคุมขังนี้…จะถูกใช้ต่อกลุ่มฝ่ายค้านทางการเมือง แรงงานที่เรียกร้องสวัสดิการ และประชาชนทั่วไปที่ดำเนินกิจกรรมเรียกร้องสิทธิอย่างสันติ” — เรจีโนล ฮุจ ฮิคลิง ทนายอังกฤษที่เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน เขียนใน ค.ศ. 1989 “กฎหมายความมั่นคงในมาเลเซียได้ถูกคงไว้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเพราะมันเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้อย่างง่ายดายโดยรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นเครืองมือในการสร้างความกลัวโดยรัฐ และใช้อย่างต่อเนื่องกับนักกิจกรรมที่ต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของประชาชนมาเลเซีย” — ดร. คัว เคีย ซูง นักสังคมศาสตร์และคณะกรรมการบริหารขององค์กรเสียงของประชาชนมาเลเซีย (SUARAM) ประชาไท, การเคาะประตูที่ตัดสินอนาคต : พ.ร.บ. ความมั่นคงฯกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ technorati tags: national security, Southeast Asia, law
-
National Security – Nation of Who ?
พ.ร.บ. ความมั่นคง (ยังเป็นร่างอยู่ กำลังจะผ่าน) จะสร้าง ‘ความถูกต้องและชอบธรรมทางกฎหมาย’ ให้กับกองทัพ ในการใช้อำนาจกดขี่ประชาชน ซึ่งรวมถึง: อำนาจในการโยกย้ายข้าราชการ อำนาจในการจับใครคุมขังก็ได้โดยไม่ต้องพึ่งหมายศาล — โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน รวมถึงขยายเวลาควบคุมต่อได้อย่างไม่สิ้นสุด อำนาจในการห้ามมิให้มีการชุมนุม อำนาจในการกักกันบริเวณ “ สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นฝันที่เป็นจริง หากประชาชนไม่สามารถต้านทานพลังทหารและพวกเชลียร์ทหารได้ในอนาคตอันใกล้ ใครก็ตามหากถูกทหารจับไปซ้อมสักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็อาจสามารถพูดอะไรก็ตาม ที่ทหารอยากให้ ‘สารภาพ’ ก็ได้ ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องแปลกและคาดไม่ถึง และคงจะเกิดขึ้นหาก พ.ร.บ. นี้ประกาศใช้ ” — ประวิตร โรจนพฤกษ์ กลุ่มผู้ที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. นี้ อ้างว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ก็มีกฎหมายลักษณะนี้ และประเทศทั้งสองก็ดู ‘สงบเรียบร้อย’ ดี (หากรู้ไหมว่า ความสงบเรียบร้อย(ราบคาบ) ของสองประเทศนี้ อยู่บนพื้นฐานของการกดขี่ ละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง) และข้อแตกต่างสำคัญ ระหว่างร่างของเรา กับกฎหมายของเขาที่อ้างมานั้น ก็คือ อำนาจตามกฎหมายของเขานั้น อยู่กับ นายกรัฐมนตรี (พลเรือน,…