Tag: education

  • Political Games

    น่าเล่นไหม ? 🙂 ไพ่การเมือง เกมวงเวียนประชาธิปไตย เกมเลือกตั้ง สื่อการศึกษา โดย สถาบันนโยบายศึกษา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ technorati tags: games, politics, education

  • Thailand: Vote for school

    การศึกษาไทย : 2. ถูกใช้เป็นฐานการเมือง หาเสียงให้แก่รัฐบาล ลูกสาวกลับมาจากไปค่ายพัฒนาโรงเรียนที่เชียงใหม่และไปแจกทุนแก่นักเรียนภาคอีสาน บอกว่าปีนี้ทุนในโครงการของรัฐไปถึงโรงเรียนก่อนฤดูกาล เห็นได้ชัดว่าเป็นการหาเสียงเลือกตั้งและการ “ออกผิดฤดู” นี้ ไม่เป็นคุณแก่โรงเรียนหรือแก่นักเรียนเลย — วิจารณ์ พานิช รออ่านรายละเอียดใน พูนพลังรายวัน บล็อกโดยเลขามูลนิธิพูนพลัง ห้ามเด็กห่อข้าวไปโรงเรียน? | 2 มูลนิธิพูนพลัง | Foundation for Regional Empowerment Education (F.R.E.E.) tags: education, school, politics, Thailand, Poonpalang, มูลนิธิพูนพลัง

  • Tangnamo.com / Utopia Thai

    ตั้งนะโม.คอม เว็บเพื่อการร่วมเรียนรู้ “เศรษฐศาสตร์สำหรับประชาชน” เว็บ ยูโทเพียไทย โดย สุธน หิญ สังคมอุดมคติ (Utopia) – สังคมที่เป็นธรรม คนส่วนใหญ่เป็นสุข หางานทำง่าย ค่าแรงกายแรงสมองสูงโดยไม่ต้องมีกฎค่าจ้างขั้นต่ำ มนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันในสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ รับรู้สิทธิเท่าเทียมกันของผู้อื่น มีการชดเชยการดูดทรัพยากรธรรมชาติมาใช้สิ้นเปลืองไป มีการจ่ายค่าถ่ายเทของเสียออกสู่โลกทั้งในดิน น้ำ และอากาศตามควร ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ การนำกลับมาใช้ใหม่ และเกิดระบบกำจัดของเสียที่มีประสิทธิภาพสูง อันจะทำให้โลกเป็นที่อยู่ที่ทำกินได้ยั่งยืนต่อไป มีหนังสือ/บทความให้อ่าน เช่น: ความก้าวหน้ากับความยากจน (แปลจาก Progress And Poverty โดย Henry George) เศรษฐศาสตร์ 6 นาที (แปลจากบทบรรณาธิการเรื่อง Economics in Six Minutes โดย Fred E. Foldvary) และบทความอื่น ๆ ที่คุณสุธนเขียนเอง (บางอันก็เป็นการตอบคำถามในเว็บบอร์ด) และยินดีให้เผยแพร่ต่อได้ (ยังไม่ได้อ่านเองหรอกนะ ไว้ตามเก็บ) via…

  • SIIT Annual Report + Q1 Newsletter

    ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมมันถึงออกช้าจัง รายงานประจำปีการศึกษา 2004 มาออกเอาเดือน 4 ปี 2006 … เท่ากับใช้เวลาเกือบ 1 ปีการศึกษาเลยนะเนี่ย ในการจัดทำ (รายงานประจำปีการศึกษา 2004/2005 ส่วนเปิดเทอมที่กำลังจะถึงนี้ เป็นปีการศึกษา 2006/2007 .. แบบนี้เรียกช้าป่าวอ่ะ ?) SIIT reports: 2004 Annual Report 2005 Graduate Catalog + 2004 Annual R&D Report 2005 Undergraduate Catalog 2006 Q1 Newsletter tags: SIIT

  • liberal arts education .. for liberal society ?

    การศึกษาแนวเสรี: เป้าหมายในอุดมคติของการศึกษาไทย? โดย สฤณี อาชวานันทกุล (คนชายขอบ) วันนี้ open online ตีพิมพ์ open feature เรื่องใหม่ของเธอ … ‘การศึกษาแนวเสรี: เป้าหมายในอุดมคติของการศึกษาไทย?’ เป็นการตีพิมพ์ในวันที่ เธอกำลังเดินทางข้ามขุนเขาอันคดเคี้ยวอยู่ที่ภูฐาน ซึ่งเธอประกาศกร้าวผ่านเว็บไซต์คนชายขอบของเธอก่อนออกเดินทางแล้วว่า “จะกลับมาเล่าเรื่องเป็นหนังสือให้ได้!” เป็นการตีพิมพ์บทความวิพากษ์วิจารณ์ ยกประสบการณ์ และเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ภายใต้ทิศทางการศึกษาเสรี (Liberal Arts Education) โดยผู้เขียนซึ่งมีประสบการณ์ตรงจากการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อันมีหลักสูตรการศึกษาเสรียอดเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เป็นการตีพิมพ์บทความเรียกน้ำย่อย เสียก่อนที่บทความพิเศษชุด ‘การศึกษา’ ชิ้นอื่นๆ ของเธอจะตามมาให้อ่านกันเป็นระลอก โปรดอย่ารอช้า รีบคลิกอ่านโดยพลัน ! – มิเช่นนั้น อาจอ่านงานสฤณีไม่ทัน! (ฮา) อ่านไม่ทันจริง ๆ แหละ – – ค้างอยู่เพียบเลย แล้วยังมีที่ OPEN ที่ นอกกรอบ ที่มติชน ฯลฯ อีก –…

  • Educated for ?

    คุณค่าที่แท้จริงของการศึกษา สุนทรพจน์ของ เดวิด ฟอสเตอร์ วอลเลซ นักเขียน กล่าวในวันรับปริญญา มหาวิทยาลัยเคนยอน วันที่ 21 พฤษภาคม 2548 แปลโดย คนชายขอบ “ สุนทรพจน์วันรับปริญญาที่ “เจ๋ง” ที่สุดที่ข้าพเจ้ารู้จัก ” “ เมื่ออ่านสุนทรพจน์นี้จบลง ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนกับได้อ่านบทความที่ดีมากๆ เรื่องหนึ่ง ที่ “เข้าถึง” สัจธรรมทางพุทธ โดยเฉพาะเรื่องของสติ อคติ และอวิชชา ได้ดีกว่าข้อเขียนของพระแท้ๆ บางรูปเสียอีก 🙂 ” ว่าที่บัณฑิตทั้งหลาย จะไม่ลองอ่านหรือ ? 🙂

  • History for what ?

    ตอนเรียนประวัติศาสตร์สมัยเด็ก ๆ (ประถม-มัธยม) นี่ เราเรียนอะไรกันมั่ง มีใครพอจำได้มั๊ย ถ้าประวัติศาสตร์ตะวันตก ก็คงมีพวกอารายธรรมเก่าแก่ทั้งหลาย พวกลุ่มแม่น้ำไนล์, ไทกรีซ-ยูเฟตรีส (สะกดถูกป่ะ ??) มาถึงกรีก โรมัน … น่าจะหมดแล้ว เราเรียนกันแค่โรมันเดียวด้วยล่ะมั้ง คือพอย้ายเมืองหลวงไปที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลปุ๊บ ก็เหมือนเราจะหยุด ๆ ไปแล้วล่ะ (ส่วนไอ้ อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ซึ่งอยู่บริเวณประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) นั้น เพิ่งจะได้มารู้จักเมื่อไม่นานมานี้เอง) แล้วเราก็ข้ามมาที่ยุคเรอเนซองค์ ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมเลย ทำไมทำมา สิ่งเดียวที่จำได้จากตอนมัธยมในเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็คือ “เพราะมีคนคิดเครื่องจักรไอน้ำได้” (ส่วนเรื่องสภาพสังคม เศรษฐกิจ การปกครองในสมัยนั้น อะไรถึงทำให้เกิด หรือเกิดแล้วมีผลอะไรตามมามั่ง เหมือนจะไม่มีสอน ..หรือครูเค้าอาจจะสอน แต่มันคงไม่เข้าหัวโง่ ๆ ของเราเอง) ส่วนประวัติศาสตร์ตะวันออก ถ้าไม่นับพม่าที่ทะเลาะกับเราอยู่เรื่อย หรืออย่างลาว กัมพูชา มาเลเซีย ไรงี้ ที่เราเสียดินแดนไปในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ไกลสุดที่พอนึกออกก็คงเป็นญี่ปุ่น ในฐานะประเทศต้นกำเนิดโกโบริ และระเบิดปรมาณูสองดอกที่พี่กันเอาไปบึ้มบึ้ม จำได้แค่นั้นล่ะมั้ง (โรคมินามาตะ กะ อิไตอิไต…

  • Thai Education System on the Cross-road

    อุดมศึกษาไทย บนทางแพร่ง — วิวัฒน์ชัย อัตถากร สมมุติหากหลายมหาวิทยาลัยพัฒนาถึงขั้น “ระดับโลก” ในอนาคตแบบมหาวิทยาลัย Harvard, MIT, Oxford, Cambridge ฯลฯ ได้จริง ถามอีกว่าแล้วคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศได้อะไร แล้วใครได้บ้าง คนจนยังต้องเป็นแรงงานรับจ้างราคาถูกเช่นเดิมไหม? การพัฒนาสู่ “ความเป็นเลิศ” จะมีความหมายในบริบททางสังคมไทยจริงก็ต่อเมื่อ “รับใช้” อย่างกระจายตัวควบคู่ไปด้วยเสมอๆ ทิศทางการผลิตความรู้ควรแก้ปัญหาพื้นฐานของชาติให้ตรงจุด สามารถ “ชี้นำทางสังคม” ไม่ใช่เพียงแค่ “ความเป็นเลิศแบบลอยๆ” แต่ “ขาดความเป็นธรรม” ควรตั้งโจทย์จากความเป็นจริงจากชุมชนด้วย การตั้งโจทย์ได้ถูกต้องจึงมิใช่การขานรับตามๆ กัน เห็น “ช้างขี้ก็ขี้ตามช้าง” หรือ “ตามดูแห่” การเดินตามกระแสโลกอย่างขาดจังหวะก้าว อาจสร้างความเสี่ยงภัยโดยไม่รู้ตัวอย่างไม่จำเป็น ควรเดินเข้าหาโลกาภิวัตน์ด้วยปัญญาอย่างมิสติและศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ ผู้เขียนไม่คิดค้านเปิดเสรี หากแต่ไทยจะเปิดเสรีในวิถีทางใดมากกว่าจึงจะยั่งยืน เรา “เปิดเสรีการค้า” เราก็ขาดดุลการค้า เรา “เปิดเสรีการลงทุน” เราก็เป็นหนี้ล้นพ้นตัวจากซื้อเทคโนโลยีเขา เรา “เปิดเสรีการเงิน” เราก็พ่ายแพ้ในสงครามการเงิน ในช่วงห้าสิบปีมานี้เกิดวิกฤตชาติมาสองครั้งสองคราแล้ว พอจะเป็น “อุทาหรณ์” สอนใจได้บ้างหรือไม่นั้น ก็น่าลองฉุกคิดหรือพิจารณาใคร่ครวญดูบ้าง…

  • ระเบิดกันอีกแล้ว

    ลอนดอน เอ๋ย ลอนดอน เทรนด์ปีหน้า .. เด็ก ๆ ไทยคงจะไปเรียนนอกลอนดอนกันเยอะขึ้นครับ 😛 ออสเตรเลีย กะ นิวซีแลนด์ รับไปเต็ม ๆ (หรือจะมีใครไป แอฟริกาใต้?) แคนาดาก็ดูดีนะ นี่พูดถึงประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ในยุโรปนี่ จะมีที่ไหนปลอดภัยมั่งนะ ฝรั่งเศสกะเยอรมนี ไม่ได้ส่งทหารไปรบกะเค้าด้วย .. แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันอยู่ดีล่ะ หรือจะหนีไปโน่นเลย นอร์ดิก สแกนดิเนเวีย ถ้าทนหนาวไหว ครอบครัวที่ห่วงมาก ๆ หน่อย คงบอกลูก เอาแค่ใกล้ ๆ ก็พอ เดี๋ยวพ่อแม่ใจไม่อยู่กะเนื้อกะตัว เรียนเมืองไทยก็ได้ ไม่งั้นก็เอาแค่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เมืองจีนก็ได้ อย่าไกลมาก .. ได้ภาษาจีนอีกตะหาก อือ เนอะ เดี๋ยวนี้พวกมหาลัยฝรั่งก็ไปเปิดประเทศพวกนี้เยอะ เอาแหวกแนว ก็ส่งลูกไปเรียนประเทศอิสลามไปเลย ปลอดภัยแน่. ไม่ต้องห่วงเรื่องคุณภาพ สุดยอดอยู่แล้ว เป็นเล่นไป ดูอย่างดูไบสิ…

  • Thailand National Journals Impact Factor 2004

    National Journals Impact Factor 2004, compiled by Thai Citation Index Centre ค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสารวิชาการภายในประเทศ ปี พ.ศ. 2547, โดย ศูนย์พัฒนาฐานข้อมูลวารสารวิชาการภายในประเทศ (ได้รับการสนับสนุนจาก สกว.)