-
ลิขสิทธิ์และ generative AI ในร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์ของสหภาพยุโรป: สถานะปัจจุบัน
ว่าด้วย generative AI และประเด็นลิขสิทธิ์ ในร่างกฎหมาย AI Act ของสหภาพยุโรปทั้ง 3 ร่างจาก Commission, Council, และ Parliament
-
รายงานศึกษาและบทความกฎหมายอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ จากคณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯ
รายงานศึกษาและบทความกฎหมายมาจากเว็บไซต์ คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ครับ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสหราชอาณาจักร ผลกระทบของโครงการห้องสมุดดิจิทัล (Google Library Project) : “ละเมิดลิขสิทธิ์” หรือ “ประโยชน์สาธารณะ” การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในชื่อของงาน: ก้าวใหม่และความท้าทายในกฎหมายลิขสิทธิ์ ความเป็นกลางในการให้บริการอินเทอร์เน็ต (Net Neutrality) คณะกรรมการมีเฟซบุ๊กด้วย อยู่ที่ Thai Law Reform Commission (TLRC)
-
Francis Ford Coppola: "Who Says Artists Have to Make Money?"
ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา ผู้กำกับ Godfather ให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ 99%, ถาม ใครบอกว่าศิลปินต้องทำงานเพื่อเงิน? (สัมภาษณ์โดย @Aristonian) คุณต้องจำไว้ว่ามันแค่ไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง, ถ้ามันมากขนาดนั้น, ที่ศิลปินทำงานด้วยเงิน. ศิลปินไม่เคยได้เงิน. ศิลปินมีผู้อุปถัมภ์, ไม่เจ้าเมือง ก็ดยุคแห่งไวมาร์ หรือที่ไหนสักแห่ง, หรือศาสนจักร, หรือโป๊ป. หรือไม่เขาก็มีงานอีกงานหนึ่ง. ผมมีงานอีกงาน. ผมทำหนัง. ไม่มีใครบอกผมให้ทำอะไร. แต่ผมทำเงินจากอุตสาหกรรมไวน์. คุณทำงานอีกงาน แล้วตื่นตีห้าเพื่อเขียนบทของคุณ. ความคิดที่ว่าเมทัลลิกาหรือนักร้องวงร็อคแอนด์โรลอะไรก็ตามจะรวย, มันไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว. เพราะ, ในขณะที่เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่, ศิลปะอาจจะเป็นของฟรี. นักเรียนพวกนั้นอาจจะถูกต้องก็ได้. พวกเขาควรจะโหลดเพลงและหนังได้. ผมจะถูกยิงที่พูดแบบนี้. แต่ใครบอกว่าเราต้องจ่ายเงินเพื่อศิลปะ? และดังนั้น, ใครบอกว่าศิลปินต้องหาเงิน? ในสมัยก่อน, 200 ปีที่แล้ว, ถ้าคุณเป็นนักแต่งเพลง, ทางเดียวที่คุณจะทำเงินได้คือเดินทางกับคณะออเคสตรา และเป็นผู้ควบคุมวง, เพราะนั่นจะทำให้คุณได้รับเงินในฐานะนักดนตรี. มันไม่มีการบันทึกเสียง. มันไม่มีค่าลิขสิทธิ์. ดังนั้นผมจะพูดว่า พยายามแยกความคิดเรื่องภาพยนตร์ออกจากความคิดเรื่องการหาเงินและหาเลี้ยงชีพ. เพราะมันมีทางอื่นอยู่. จาก 99% Francis Ford…
-
Dear the "University of Moral and Political Sciences"’s library,
ถึง หอสมุด, เรื่องหนังสือหายาก เนื้อหาไหนที่เป็นสมบัติของสาธารณะ (public domain) แล้ว และหอสมุดได้ตัดสินใจจะเผยแพร่เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ก็ไม่ควรจะอาลัยอาวรณ์กับมัน ว่าใครจะนำไปเผยแพร่ต่อและคิดค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่นั้น วิตกเสียจนต้องพยายามหาทางป้องกัน ด้วยเจตนาดี หอสมุดอาจกลัวว่าสาธารณะจะเสียหาย เพราะมีผู้นำไปค้ากำไรเกินควร เช่นนั้นหอสมุดก็ยิ่งควรจะเปิดให้สาธารณะสามารถเข้าถึงเนื้อหาเหล่านั้นได้มาก ๆ ให้สะดวกมาก ให้ถูกมาก มากเสียจนคนอื่นไม่สามารถทำกำไรเกินควรได้ ด้วยความเคารพนะ …มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา… The Public Domain Manifesto technorati tags: public domain, Thammasat University, education
-
ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์: พิทักษ์สิทธิตัว มั่วสิทธิคนอื่น?
เพิ่มเติม: 2009.10.12 – เสียงในอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับเรื่องนี้ จากพันทิป.คอม และ ทวิตภพ (ล่างสุด) หลังจากสื่อหลักรวมตัวจัดตั้ง ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กันไป (ข่าว: ประชาไท ไทยโพสต์ ไทยรัฐออนไลน์) เนื่องจากต้องการรวมตัวกันรักษาสิทธิของตัว ในเรื่องการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะจากเว็บท่า (portal site) ทั้งหลาย ที่คัดลอกเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้ฟรี ๆ แถมตัดราคาโฆษณาแข่งกับเว็บไซต์หนังสือพิมพ์อีก ผมสนับสนุนการปกป้องสิทธิของตัวเอง ของบรรดาสมาชิกชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานควรมีสิทธิในงานของตัว ในส่วนที่เขาได้สร้างสรรค์เพิ่มเติมขึ้นมา อันที่จริง บล็อกเกอร์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ก็ถูกทั้งเว็บท่าและเว็บไซต์ของสื่อเอง ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เรื่อย ๆ มาโดยตลอดเช่นกัน (ตัวอย่างเว็บท่า1, ตัวอย่างเว็บท่า2, ตัวอย่างสื่อ1, ตัวอย่างสื่อ2) เพียงแต่ส่วนใหญ่ไม่มีกำลังจะไปเรียกร้องอะไรได้มากนัก โดยไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันเขาพวกเขา นาน ๆ จะมีฮึดอย่าง @iannnn บ้าง (ภาคแรก, สอง, สาม) แต่ก็เห็นได้ว่า มันเหนื่อย ใช้เวลา และความพยายามมากมายแค่ไหน…
-
ReadCamp logo and Free Culture movement
ในที่สุดก็มีคนวงกว้างออกไปทักเรื่องโลโก้รี้ดแคมป์ ในประเด็นลิขสิทธิ์ ที่เชื่อมถึงเรื่องคอมมอนส์ .. เย่ 🙂 ตอบในฐานะผู้ออกแบบโลโก้นะครับ เรื่องลิขสิทธิ์นี้มีคนถามกันมาตลอด ตั้งแต่โลโก้ยังเห็นกันอยู่แค่สองคน ระหว่างการออกแบบ พอเมลไปขอความเห็นคนอื่น ๆ ว่าพอใช้ได้ไหม ก็มีทักเรื่องลิขสิทธิ์เช่นกัน แต่ผมก็ยังยืนจะเอาอันนี้แหละ จะมีปรับก็แค่เรื่องช่องไฟนิด ๆ หน่อย ๆ แต่แนวคิดหลักคงเดิม ไม่ได้เปลี่ยน พอเผยแพร่ออกไป ก็มีคนทักอีกเหมือนเคย จนในวันงานก็มีพี่คนนึงจากกองทุนไทยมาทัก และชวนคุยเรื่องนี้กัน ก็คุยกันอยู่ได้น่าจะครึ่งชั่วโมง ซึ่งที่คุยไปก็คล้าย ๆ กับที่เขียนลงในบล็อกนี้ครับ เดี๋ยวอ่านกันด้านล่าง พี่เขาเสนอให้เปิดเซสชันเรื่องนี้ด้วย (เอาป้ายบอกทางที่มีโลโก้รี้ดแคมป์ มาวงที่โลโก้ เขียนว่า “Is this freeware?” แปะที่ผนังเสนอหัวข้อ) แต่สุดท้ายได้คะแนนโหวตไม่ถึง เลยไม่ได้ถูกจัดลงตาราง ผมเองก็อยากจะคุยเหมือนกัน ตอนหลังเลยเอาไปแปะไว้ห้องสองต่อจากหัวข้อสุดท้ายในตาราง แต่ก็วิ่งไปวิ่งมา จนงานเลิกพอดี เป็นอันว่าไม่ได้คุย วันอาทิตย์วันรุ่งขึ้น ตื่นมา ก็เลยจะเขียนบล็อกแทน เปิดคอนโทรลพาเนลของเวิร์ดเพรส ก็เห็นลิงก์เข้ามาจากบล็อกคุณ mnop พอดี ในเมลกลุ่มรี้ดแคมป์ Ford ก็แจ้งมาว่ามีคนทักนะ…
-
download culture
โหลดกระหน่ำเมือง – เนื้อหาดิจิทัลออนไลน์ เมื่อผู้ผลิตวิ่งตามไม่ทันผู้บริโภค “มันเลี่ยงไม่ได้หรอกที่ไลฟ์สไตล์คนไทยจะเปลี่ยนมาเป็นแบบนี้ เพราะมาจากทั้งตัวเทคโนโลยีและวัฒนธรรมพื้นฐานของเรา…” พัฒนพงศ์ แสงธรรม อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอดีตนักจัดรายการวิทยุ – อดีตผู้บริหารค่ายเพลงสากลในประเทศไทยหลายแห่ง ตั้งแต่ โพลีแกรม จนถึง วอร์นเนอร์ มิวสิค ตั้งข้อสังเกต เมื่อพูดถึงพฤติกรรมดาวน์โหลดคอนเทนท์ด้านบันเทิงทั้งหนังและเพลงอย่างผิดกฎหมายในวันนี้ “เยาวชนไทยเราโหลดกระหน่ำ พวกเขามีความเข้าใจเทคโนโลยีมากกว่าคนในอุตสาหกรรมบันเทิงด้วยซ้ำ รู้ตั้งแต่วิธีการดาวน์โหลด ทั้งเอ็มพี 3 เอ็มพี 4 เรื่อยไปจนถึงชุมชนบิททอร์เรนท์ ซึ่งมีการแบ่งปันความรู้ พอเจอไวรัสต้องทำยังไง พอมีโทรจันตัวใหม่มาต้องจัดการอย่างไร พวกเขาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างเสร็จสรรพภายในชุมชนตัวเอง นี่คือปัญหาสำหรับ business operator ทั้งหลายที่ยังไม่ปรับตัวว่าควรจะวางโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมต่อไป อย่างไร” technorati tags: file sharing, digital content, copyright
-
Can HeroMaster defeated the piracy crowd ?
ได้ข่าวร้ายจาก duocore.tv ทีมงาน BigBug Studio ผู้ผลิต Heromaster เกม RPG สัญชาติไทย ตั้งกระทู้เปิดอก เล่าถึงกรณีที่ยอดขายตกต่ำ จนอาจจะต้องปิด กิจการ แม้เพิ่งวางแผงเกมตัวแรกได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น… ไม่ใช่ไม่มีคนเล่นนะ ปัญหาใหญ่อันหนึ่ง นอกเหนือจากเรื่องช่องทางการจำหน่าย (ซึ่งอันนี้สำคัญมาก ๆ) ตามเนื้อหาในกระทู้ก็คือ การละเมิดลิขสิทธิ์ … ประมาณ 10% ของคนเล่นเท่านั้น ที่ใช้แผ่นลิขสิทธิ์ อืม นี่อาจจะเป็นจุดที่ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ในเมืองไทยคิดแตกแล้วก็ได้ สำหรับพฤติกรรมคนเล่นเกมในเมืองไทย ขายแผ่นเกม ก็โดนก๊อป แจกเกมฟรี แต่ให้จ่ายค่าชั่วโมงเข้าไปเล่น คนก็หนี ต้องแจกด้วย ให้เล่นฟรีด้วย แต่ไปขายไอเท็มในเกมแทน — นี่คือโมเดลในปัจจุบันที่เวิร์ก ไอเท็มบนเกมก็มีตั้งแต่ อาวุธพิเศษในเกมพวก RPG ไปจนถึง เสื้อผ้าสวย ๆ หมวกแปลก ๆ ในเกมแดนซ์แฟชั่น ทีมงาน HeroMaster คงมีงานต้องทำเพิ่มขึ้นซะแล้ว โปรแกรมมิ่งจบแล้ว แต่ยังต้องทำมาร์เกตติ้งต่อ technorati…
-
Creative Commons Thailand port – 1st Public Discussion
ร่างสัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบยอมรับสิทธิ ไม่ใช้เพื่อการค้าและอนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 สำหรับประเทศไทย ซึ่งจัดทำร่างโดยสำนักกฎหมายธรรมนิติ ได้รับความเห็นชอบจาก ครีเอทีฟคอมมอนส์อินเตอร์เนชัลแนลแล้ว และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนประชาพิจารณ์ โดยจะเปิดรับความคิดเห็นจากสาธารณชนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ดาวน์โหลดร่างสัญญาอนุญาต และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ technorati tags: Creative Commons, Thailand
-
Non-DRM music download in Thailand
ไอ-โมบายปฏิวัติปลดล็อคดีอาร์เอ็มเพลงดิจิทัล, กรุงเทพธุรกิจ, 9 สิงหาคม 2549 สามารถไอ-โมบาย จับมือ 3 ค่ายเพลง อาร์เอส เรดบีท และ สมอลล์รูม เตรียมเปิดบริการดาวน์โหลดเพลงแบบเต็มเพลง ไม่มีล็อกดีอาร์เอ็ม กลางเดือนกันยายนนี้ เชื่อค่ายเพลงอื่นจะเข้าร่วมโมเดลนี้ ซึ่งเป็นทิศทางอุตสาหกรรมเพลงในอนาคต โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา โซนี่บีเอ็มจี และ ยาฮู ได้ร่วมมือกันจำหน่ายเพลงที่ไม่มีดีอาร์เอ็มแล้วในสหรัฐอเมริกา สำหรับการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ผ่านมา บริษัทเจ้าของคอนเทนท์ได้ลงทุนระบบดีอาร์เอ็มเป็นหลักร้อยล้านบาท แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีเครื่องเล่นเอ็มพี 3 ประมาณ 7 ล้านเครื่อง และโทรศัพท์มือถือที่เล่นเพลงได้อีกประมาณ 7 ล้านเครื่อง แต่มีการใช้คอนเทนท์เพลงที่รองรับระบบดีอาร์เอ็มเพียง 1% เท่านั้น ซึ่งการลงทุนระบบเป็นการตอบสนองลูกค้าในส่วนน้อย อีกทั้งซีดีที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ก็สามารถคัดลอกได้อยู่แล้ว ส่วนการล็อกดีอาร์เอ็มเป็นประโยชน์กับผู้ขายคอนเทนท์เท่านั้น tags: DRM, Thailand, music, digital rights, copyright