-
[31 ก.ค.] การประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมือง ประจำปี 2555 @ ไทยพีบีเอส
การประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองครั้งที่ 1: “อินเทอร์เน็ตกับการจัดทำนโยบายสาธารณะ” อังคาร 31 ก.ค. 2555 9:00-17:00 ณ หอประชุม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เลขที่ 145 ถนนวิภาวดี-รังสิต ดำเนินเป็นภาษาไทย และมีหูฟังแปลภาษาอังกฤษตลอดการประชุม ไม่มีค่าใช้จ่าย
-
ทฤษฎีเก่า "Old Theory" – Thailand Bill of Rights
(น่าจะเก่าอยู่ล่ะ ตั้ง 76 ปี แล้ว วันนี้วันที่ 24 มิ.ย. ครบรอบการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง) “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา” — หลัก 6 ประการของคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 สิ่งที่ “ทฤษฎีใหม่” และลูก ๆ พอเพียงต่าง ๆ เสนอ คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อาจจะโยงไปได้ถึงเอกราช แต่ขาดเรื่อง เสมอภาค และ เสรีภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่มีใน “ทฤษฎีเก่า” เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา 76 ปีแล้ว ดูเหมือนเราจะยังไปไม่ถึงหลักหกประการนั้นสักที โดยเฉพาะประการที่ 4 และ 5 หลัก 6 ประการของคณะราษฎร จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น…
-
standing-o-nation
มันไม่ใช่เรื่อง จะ xxx หรือไม่ xxx มันคือเรื่อง ถ้ามีคน xxx หรือไม่ xxx ท่าทีของคุณต่อเขาจะเป็นยังไง ? คุณจะปกป้องสิทธิของคนที่ คิดเห็นไม่เหมือนคุณหรือกระทั่งขัดแย้งกับคุณ รึเปล่า ? หนังเรื่อง “แสงศตวรรษ” (และหนังอื่น ๆ จาก Kick The Machine) ที่ฉายในโรง ก่อนฉาย มีหนังสั้น ๆ เรื่องหนึ่งนำ … เปิดฉากสั้น ๆ ด้วยสาว ๆ กำลังจิบน้ำชาคุยกันที่ศาลาริมน้ำ เพื่อนคนหนึ่งชวนให้ฟังซีดีเพลงสรรเสริญ ที่เพลงไปเจิมปลุกเสกมา พร้อมอวดว่าจะเอาไปเปิดที่โรงหนัง ความศักดิ์สิทธิ์จะกระจายแผ่ออกไปทั่วโรงหนัง นั่นประไร ดังไปถึงอีกฝั่งคลองโน่น และที่เหลือของหนัง ก็บรรเลงเพลงสรรเสริญที่ว่า เป็นฉากในโรงยิม มุมมองของภาพหวุนวนไปรอบ ๆ โรงยิม เผยให้เห็นกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในโรงยิม คนตีแบตกัน ที่กลางคอร์ทสาว ๆ ที่ศาลาริมน้ำตะกี้นี้ มานั่งร้อยมาลัยกัน…
-
Open Document Standard, e-Government, and Universal Information Access
ต่อเรื่อง open document standard มาตรฐานเอกสารแบบเปิด ที่ใน duocore ตอนที่ 66 ลืมพูด/เวลาไม่พอเลยข้ามไป open standard นี่ ทั้งตัว format และ protocol ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเลยนะ มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เช่นเรื่อง backoffice ระบบบริหารจัดการข้อมูลของระบบราชการ หน่วยงานรัฐ ที่ต้องประมวลผลเอกสารมาก ๆ ทั้งภายในหน่วยงานเอง ระหว่างหน่วยงานรัฐ และกับภาคเอกชน ประชาชน ถ้าไม่ใช่ฟอร์แมตเปิด การสร้างซอฟต์แวร์ระบบที่จะอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้อย่างอัตโนมัติ ก็ลำบาก (ต้อง reverse engineering แกะสเปกกันวุ่นวาย) แถมยังไม่สามารถมั่นใจเต็ม 100% ได้ว่าจะอ่าน/เขียนได้ตรงเป๊ะ ซึ่งก็อาจทำให้ข้อมูลบางอย่างตกหล่นสูญหายได้ ยิ่งคิดว่าในกระบวนการทำงานจะต้องมีการส่งเอกสารกันหลายทอด อ่าน/เขียนกันหลายรอบ ก็เป็นไปได้ที่การสูญหายดังกล่าวจะสะสมเยอะขึ้นได้ด้วย มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถ้วนหน้า (universal information access) นอกจากนี้ กรณีที่สเปกรูปแบบเอกสารที่มันปิด ไม่ได้เป็นมาตรฐานเปิด ก็ทำให้มีโอกาสอยู่มาก ที่จำนวนโปรแกรมที่จะมาอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้…
-
New German Data Retention Act
เชกูวาราเขียน เยอรมันสอดแนม ที่ BioLawCom.de เป็นเรื่อง กฎหมายใหม่ของเยอรมนี ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องเก็บข้อมูลจราจรของผู้ใช้บริการ เป็นเวลา 6 เดือน (คุ้น ๆ เหมือนพ.ร.บ.คอมฯ ของบ้านเรามั๊ยครับ ?) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2007 รัฐสภาเยอรมันผ่านกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่าง ๆ เพื่อควบคุมตรวจสอบการติดต่อสื่อสาร และเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนความผิด มาฉบับหนึ่งครับ ท่ามกลางเสียงประท้วงจากคนเยอรมันนับพันนับหมื่นคน เพราะในกฎหมายฉบับดังกล่าว มีบทบัญญัติใหม่ ที่กระทบสิทธิพวกเขาอย่างมากบรรจุอยู่ด้วย “Vorratsdatenspeicherung” (Data-Retention) เป็นคำเรียกรวม ๆ ที่หมายถึง การกำหนดหน้าที่ให้ผู้ให้บริการการโทรคมนาคม ต้องเก็บสำรอง “ข้อมูลจราจรทางการติดต่อสื่อสาร” (Traffic Data) ของประชาชนผู้ใช้บริการทุกคนเอาไว้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนการกระทำความผิด …ก็คือข้อกำหนดเจ้าปัญหาที่ว่า ข่าวจาก European Digital Rights และ Deutsche Welle: German Parliament adopted the data…
-
คปส. สัมภาษณ์เรื่อง FACT อินเทอร์เน็ต และการปฏิรูปสื่อ
“ที่เอาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะไม่อยากเอาพ.ร.บ.ใหญ่กว่านี้” — พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม (DSI), 8 พ.ย. 2550 พี่ที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ส่งอีเมลมาสัมภาษณ์ตั้งแต่สองอาทิตย์ที่แล้ว เพิ่งมีเวลาตอบกลับไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา วันศุกร์เขาโทรมาอีกที บอกว่าขออนุญาตรีไรท์ใหม่ เพราะจดหมายข่าวที่เขาจะเอาไปลง มันบางนิดเดียว ลงให้ได้สามหน้า แต่ที่ผมส่งไปมันเก้าหน้ากว่า ๆ ได้ 😛 เขาจะแบ่งลงเป็นสองฉบับแล้วกัน สัมภาษณ์ลงฉบับนี้ และเลือกประเด็นบางอย่างไปลงฉบับหน้า ผมบอกไปว่ารีไรท์ตามสบายเลยพี่ เพราะพี่รู้จักกลุ่มผู้อ่านดีกว่าผม จะได้เขียนให้เป็นภาษาที่กลุ่มผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ๆ เลยขอเอาฉบับเต็ม ๆ ที่ส่งไปให้เขาทีแรก (แก้ไขนิดหน่อย) มาลงในบล็อกนี้ (ในนี้ผมใช้ “บล็อก” สำหรับ “blog” และ “บล็อค” สำหรับ “block”) เพื่อให้รับกับงานสัมมนา “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่และการคัดค้านของโลกไซเบอร์ : จากตำราสู่การปฏิบัติจริง” เมื่อ 8 พ.ย. ที่พึ่งผ่านมา (ดูความเห็นคนอื่น ๆ: wonam, คนชายขอบ (พร้อมแผ่นนำเสนอ), วิดีโอสัมภาษณ์วิทยากร (ดาวน์โหลด [wmv]))…
-
Sombat of NoCoup.org imprisoned
“หากพูดแบบตัดทอนเงื่อนไขความเป็นจริงออกไป ให้เหลือแค่สิ่งที่ควรจะเป็นเท่านั้นละก็ ขณะที่การปาเป้า คือการหมิ่นประมาท ไม่สุภาพ และอาจจะผิดกฎหมายได้ การเอารถถังของประชาชนออกมายึดอำนาจจากประชาชนกลับได้รับการปรบมือและถูกกฎหมาย นี่มันคือความยุติธรรมชนิดไหนกัน” — ใต้เท้าขอรับ – หัวใจนายพล 31 ส.ค. 2550 – ศาลอาญาอนุมัติฝากขัง นายสมบัติ บุญงามอนงค์ (หนูหริ่ง บก.ลายจุด) แกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ 12 วัน ตามคำขอของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำตัวนายสมบัติไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในช่วงค่ำ นายสมบัติกล่าวถึง สาเหตุที่ไม่ยอมประกันตัว เพราะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ โดยในทัศนะของคนที่ฟ้อง (พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร) เห็นว่าความผิดของเขาต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพทางกายภาพ ในขณะที่บ้านเมืองก็มีการจำกัดสิทธิทางการเมือง ดังนั้นอยู่ที่ไหนก็ไม่มีเสรีภาพ นายสมบัติกล่าวด้วยว่า การที่ผู้ฟ้องแจ้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาท ก็เพื่อเรียกร้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้แจ้งข้อกล่าวหา แต่ประชาชน 35 จังหวัดถูกปกครองด้วยกฎอัยการศึก พวกเขาก็ถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน นายสมบัติกล่าวต่อไปว่า หลังจากต่อสู้มาตลอด 11 เดือน เขาได้ทำดีที่สุดแล้ว และคิดว่านี่คือวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่เหลืออยู่ นายสมบัติยังกล่าวกับประชาชนที่มาให้กำลังใจที่ศาลอาญาว่า ขอให้คนที่สนับสนุนเขาใส่เสื้อแดงในวันอาทิตย์ เพื่อรณรงค์ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก จนกว่าจะถึงวันเลือกตั้งต่อไป ด้านล่างนี้ คือจดหมายเปิดผนึกจากนายสมบัติ…
-
National Security Act in Southeast Asia
“ถ้าคุณไม่กล้าพูดต่อต้าน พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ คุณกำลังให้อำนาจทุกอย่างกับรัฐบาล คุณกำลังให้อำนาจรัฐบาลในการมาเคาะประตูบ้านคุณและนำตัวคุณไป คุณกำลังยอมสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไป และ…คุณกำลังยอมสูญเสียสิทธิของคุณไป” — ไมเคิล แชง จากสิงคโปร์ ประเทศที่มี พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ บังคับใช้ “ผมไม่สามารถจิตนาการได้ในเวลานั้นว่า อำนาจในการคุมขังนี้…จะถูกใช้ต่อกลุ่มฝ่ายค้านทางการเมือง แรงงานที่เรียกร้องสวัสดิการ และประชาชนทั่วไปที่ดำเนินกิจกรรมเรียกร้องสิทธิอย่างสันติ” — เรจีโนล ฮุจ ฮิคลิง ทนายอังกฤษที่เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน เขียนใน ค.ศ. 1989 “กฎหมายความมั่นคงในมาเลเซียได้ถูกคงไว้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเพราะมันเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้อย่างง่ายดายโดยรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นเครืองมือในการสร้างความกลัวโดยรัฐ และใช้อย่างต่อเนื่องกับนักกิจกรรมที่ต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของประชาชนมาเลเซีย” — ดร. คัว เคีย ซูง นักสังคมศาสตร์และคณะกรรมการบริหารขององค์กรเสียงของประชาชนมาเลเซีย (SUARAM) ประชาไท, การเคาะประตูที่ตัดสินอนาคต : พ.ร.บ. ความมั่นคงฯกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ technorati tags: national security, Southeast Asia, law
-
Jacks the Giant Killer – Prachatai Night
ประชาไทไนท์ ตอน แจ็คผู้ฆ่ายักษ์(เขียวตาเดียว) พฤหัส 2 สิงหา 17:30 @ โรงละครมะขามป้อม BTS สะพานควาย ขอเชิญเหล่า “แจ็ค” ตัวเล็ก ๆ ร่วมปันไอเดียมัน ๆ ในสไตล์ 20×20 จะทำยังไงกับ “เจ้ายักษ์” ดี จะอยู่ร่วมกัน จะสนุกกับมัน จะหลบหลีกมัน จะจัดการมันเสีย หรือจะอะไรยังไงดี ? ในปาร์ตี้สบาย ๆ สไตล์ชาวบ้าน ๆ แสนเอกขเนก คงมีแต่ “ชาวบ้าน” อย่างแจ็คเท่านั้นที่จะช่วยเหล่าชาวบ้านด้วยกันเองได้ … ก็ “ยักษ์” อื่น ๆ ที่ไหนจะมาสนใจ ? [ ลิงก์ ประชาไท ] technorati tags: events, Bangkok, censorship
-
Freedom (as defined by somebody else…)
ข่าวดี รัฐธรรมนูญปี 50 ให้ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ เต็มที่ แล้วข่าวร้ายล่ะ ? ทั้งนี้ ตามแต่ ผอ.กอ.รมน. จะกำหนด … [ ลิงก์ ประชาไท ] technorati tags: freedom